รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เชียงใหม่

tour pra tam nag phu ping chiang mai

พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง ใช้เส้นทางเดียวกันกับพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักฯอยู่เลยจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร พระตำหนักภูพิงค์ฯ เป็นพระตำหนักประทับในวโรกาสที่เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรมที่จังหวัด เชียงใหม่ เพื่อทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตภาคเหนือ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะที่เสด็จฯเยือนประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมจะประทับรับรองแต่ในพระนครหลวงเท่านั้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2504 ในครั้งแรกได้ก่อสร้างเฉพาะองค์พระตำหนักที่ประทับและเรือนรับรองเท่านั้น ส่วนอาคารอื่นๆได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมต่อมาในภายหลัง ภายในพระตำหนักฯ มีสถานที่น่าชม ดังนี้ เรือนปีกไม้ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เรือนรับรอง พลับพลาผาหมอนและสวนเฟิร์น อ่างเก็บน้ำ พระตำหนักต่างๆ และหอพระ โดยระหว่างเส้นทางเยี่ยมชมจะผ่านสวนกุหลาบเป็นระยะ

โดยปกติแล้วจะเปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน แต่ทั้งนี้จะงดการเข้าชมพระตำหนักฯ ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐาน (ประมาณเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคม) นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อสอบถามที่ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ โทร. 053-223065 หรือ website: www.bhubingpalace.org จำหน่ายบัตรทุกวัน เวลา 8.30-11.30 และ 13.00-15.30 น. ค่าเข้าชม คนไทย : ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท (กรุณาแต่งกายสุภาพ) และมีบริการรถไฟฟ้านำชม ค่าบริการ 300 บาท/คัน(ไม่เกิน 3 ท่าน)

tour pra tam nag phu ping chiang mai 2

พระตำหนักดาราภิรมย์ เชียงใหม่

tour dara pirom museum chiang mai

พระตำหนักดาราภิรมย์
ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายดารารัศมี อ.แม่ริม รูปแบบตัวอาคารได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมตะวันตก ซึ่งเดิมพระตำหนักดาราภิรมย์เป็นที่ประทับของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 7 ซึ่งปกครองระหว่าง พ.ศ. 2413-2440 เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายที่มีอำนาจปกครองบ้านเมืองตามแบบ เดิม ก่อนเมืองเชียงใหม่จะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของไทย

ภายในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาฯ โดยให้มีสภาพใกล้เคียงกับอดีตมากที่สุด อาทิเช่น ห้องพักผ่อนพระอิริยาบถ จัดแสดงจานชาม เครื่องเสวย ของใช้ส่วนพระองค์ และเครื่องดนตรี เป็นต้น เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก/นักศึกษาในเครื่องแบบ 10 บาท พระสงฆ์และนักเรียนในเครื่องแบบเข้าชมฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 5329 9175

การเดินทาง ห่างไปจากเมืองเชียงใหม่ตามเส้นทาง 107 ติดกับที่ว่าการอำเภอแม่ริมจะมีทางแยกซ้ายเข้าไปยังค่ายดารารัศมี

พระตำหนักดาราภิรมย์

สร้างขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชา นุญาตให้พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงย้ายกลับมาประทับที่เชียงใหม่หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าดารารัศมีทรงใช้พระตำหนักหลังนี้ปฏิบัติพระกรณียกิจอันเป็นคุณูปการทั้ง ทางด้านเกษตร และศิลปะวัฒนธรรม อาทิ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมล้านนาให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวเหนือ ทรงสร้างสวนทดลองการเกษตรชื่อ “สวนเจ้าสบาย” เนื่องจากทรงสนพระทัยในการเกษตรและทรงหวังที่จะช่วยการกสิกรรมของภาคเหนือ ทรงทดลองปลูกดอกกุหลาบพันธุ์ใหม่ๆ ที่ทรงได้จากสมาคมกุหลาบแห่งอังกฤษที่ทรงเป็นสมาชิกและพันธุ์ที่โปรดที่สุด เป็นกุหลาบดอกใหญ่สีชมพู กลิ่นหอมเย็น จึงทรงตั้งชื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แต่พระบรมราชสวามีว่า “จุฬาลงกรณ์” และก่อนสินพระชนม์ เจ้าดารารัศมีได้ทรงทำพินัยกรรมประทานที่ดินนี้เป็นมรดกแก่ทายาท ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ซื้อที่ดินต่อจากทายาท โดยมีการมอบโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้องในเวลาต่อมา เจ้าดารารัศมีเป็นเจ้าจอมที่เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวมากองค์หนึ่ง เพราะนอกจากเจ้าดารารัศมีมีพระอัธยาศัยอันงดงามแล้ว ยังทรงเป็นผู้เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าพระบรมราชวงศ์จักรีกับดิน แดนล้านนา ซึ่งทำให้สถานการณ์ทางการเมืองแปรเปลี่ยนไปในทางที่ดียังประโยชน์แก่ อาณาจักรสยามเป็นอย่างยิ่ง

โป่งน้ำร้อนฝาง เชียงใหม่

tour pong nam ron fang chiang mai

โป่งน้ำร้อนฝาง
โป่งน้ำร้อนฝาง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติแม่ฝ่าง ตั้งอยู่กลางลานทุ่งหญ้าภายในเขตที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง น้ำพุร้อนเกิดจากพลังงานความร้อนใต้ผิวโลก น้ำมีอุณหภูมิสูงถึง 90-130 องศาเซลเซียส และมีแรงดันสูงมากจนสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเมือง ฝางได้ ปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเข้ามาดูแลเรื่องการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพของ บ่อน้ำพุร้อนฝางในการผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนอุทยานแห่งชาติแม่ฝางเป็นเจ้าของพื้นที่ดูแลในเรื่องการท่องเที่ยวและ กิจกรรมการท่องเที่ยวภายในอุทยาน บริเวณบ่อน้ำพุร้อนมีห้องอาบน้ำแร่แช่น้ำพุร้อนไว้บริการ มีทั้งห้องอาบน้ำกลางแจ้งแต่ตอนนี้เสียอยู่ ห้องอาบน้ำแบบรวม และห้องอบซาวน่า เสียค่าบริการท่านละ 30 บาท ผ้าสำหรับใส่อาบน้ำมีใช้เช่าชุดละ 10 บาท นอกจากนี้ยังมีบริการนวดแผนโบราณด้วย เป็นการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น นับว่าเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่น่าสนใจ หากไปเที่ยวที่นี่และไม่รีบเร่งนักน่าจะอาบน้ำแร่แล้วจะสบายตัว ดีกว่าไปเดินถ่ายรูปแล้วกลับ นอกจากห้องอาบน้ำแล้วบริเวณกลางแจ้งยังมีน้ำพุร้อนให้ต้มไข่ด้วย

โป่งเดือดป่าแป๋ เชียงใหม่

tour pong dueat pa pae chiang mai

โป่งเดือดป่าแป๋
ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง ห่างจากเชียงใหม่ประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นน้ำร้อนที่พุ่งขึ้นมาจากพื้นดินในอดีตน้ำพุแห่งนี้สูงถึง 5 เมตร ปัจจุบันสูงเพียง 1 เมตร รอบ ๆ บริเวณซึ่งเป็นป่าทึบจะอบอวลไปด้วยกลิ่นกำมะถัน บริเวณโดยรอบสะอาด และจัดนิทรรศการได้น่าสนใจ

น้ำพุเกิดจากปริมาณน้ำใต้ดินที่ส่วนใหญ่ได้จากน้ำฝนที่ซับสู่ใต้ดิน หากดินมีความพรุนมาก ความพรุนของดินนี้เกิดจากต้นไม้ น้ำพุร้อนที่นี่คาดว่ามีการเกิดแบบน้ำพุร้อนกีเซอร์ (Geyser type) ลักษณะของน้ำพุ่งขึ้นจากระดับผิวดินเป็นครั้งคราวตลอดเวลา และคุณสมบัติของน้ำพุร้อนอย่างหนึ่งคือ ช่วยรักษาโรคปวดตามข้อ

การเดินทาง ใช้ถนนสายแม่มาลัย-ปาย ไปประมาณ 35 กิโลเมตร ประมาณกิโลเมตรที่ 42 แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ 6.5 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางสีส้ม สายเชียงใหม่-ปาย ซึ่งจะวิ่งผ่านปากทางเข้า จากลานจอดรถจะต้องเดินทางไปประมาณ 500 เมตร

มีบริการบ้านพัก 8 หลังๆละ 3,000 บาท มีเต้นท์ให้เช่า และมีบริการอาบน้ำแร่ ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ติดต่อ โทร. 0 5322 7954 หรือ สำนักอุทยานแห่งชาติ กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่

tour pong dueat pa pae chiang mai 2

ป่าสนบ้านวัดจันทร์ เชียงใหม่

tour ban wat chan forest chiang mai

ป่าสนบ้านวัดจันทร์
ผืนดินแห่งนี้ชาวกะเหรี่ยง มูเส่คี (หมายถึง ต้นน้ำแม่แจ่ม) ได้พึ่งพาอาศัยดำรงชีวิตมานับร้อยปี พวกเขาช่วยกันดูแลรักษาผืนดินผืนป่าแห่งนี้อย่างดี เหมือนเป็นสามชิกครอบครัวเลยก็ว่าได้ ตามธรรมเนียมกะเหรี่ยง เมื่อมีเด็กเกิดใหม่จะนำสายสะดือของเด็กไปผูกไว้กับต้นไม้ กำหนดว่าเป็นต้นไม้ของครอบครัวใครจะมาตัดไม่ได้ สนที่ขึ้นที่นี่เป็นสนเขาทั้ง สนสองใบและสามใบที่จะขึ้นเฉพาะในที่สูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ยางสนนำไปใช้ประโยช์ได้หลายอย่าง เช่น เป็นตัวช่วยให้ฝืดโดยนำไปใช้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายได้ หรือนำไปสกัดเป็นน้ำมันสนที่ใช้ผสมกับสีน้ำมันช่วยให้สีแห้งเร็ว แต่เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของป่าที่นี่จึงไม่มีการทำยางสน ชาวบ้านได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงให้เลี้ยงไก่เบสซึ่งเป็นไก่เนื้อ พันธุ์ดีกิโลกรัมละหลายร้อยบาท ผู้สนใจมาหาประสบการณ์ชีวิตจาก ที่นี่นำจักรยานมาปั่นได้จะดีมากเพราะอากาศที่นี่เย็นสบายตลอดปี ทิวทัศน์เป็นป่าสนสวยงาม หรือจะนำเรือยางมาพายในทะเลสาบที่นี่ก็ได้ กิจกรรมแบบนี้นอกจากไม่ก่อมลพิษแล้วเรายังได้อยู่กับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ด้วย บ้านพักติดต่อที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) บ้านวัดจันทร์ โทร.(053) 249349 การเดินทาง มีหลายเส้นทางให้เลือกแต่ไม่ว่าจะเลือใช้ทางใดก็ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ เท่านั้น เส้นทางที่สะดวกที่สุดคือ สายแม่มาลัย-ปาย ประมาณ 80 กิโลเมตร และเลี้ยวซ้ายเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 40 กิโลเมตร สายสะเมิง-วัดจันทร์ เป็นทางลูกรังเช่นกันระยะทาง 80 กิโลเมตร อีกสองเส้นทางที่ลำบากกว่าสองทางแรกคือ อำเภอแม่แจ่ม-บ้านวัดจันทร์ และ อำเถเมืองแม่ฮ่องสอน-บ้านวัดจันทร์ เส้นทางหลังจะมีความงามมาก

พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ อยู่ที่บ้านเมืองงาย ประชาชนได้ร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่า พระองค์เคยเสด็จมาประทับแแรมที่เมืองงายแห่งนี้ ก่อนที่จะกรีฑาทัพต่อไปยังเมืองอังวะของพม่า เป็นเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยม ที่ฐานด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ละด้านของฐานเป็นแผ่นศิลาสลัก เรื่องพระราชกรณียกิจของพระองค์ สลับกับแผ่นหินอ่อนที่เล่าพระราชประวัติ ประวัติการสร้างพระสถูป ด้านหลังเป็นค่ายหลวงจำลอง ที่ภายในประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และสมเด็จพระสุพรรณกัลยา

ปางช้างแม่สา เชียงใหม่

tour mae sa elephant camp chiang mai

ปางช้างแม่สา
ปางช้างแม่สา อยู่ตรงประมาณหลักกิโลเมตรที่ 10 ูในแต่ละวันจะมีการแสดงช้าง วันละ 2 รอบ รอบเช้าเวลา 09.30 น. และรอบบ่าย 14.30 น. การแสดงจะมีตั้งแต่การเต้นรำของช้าง การแสดงความสามารถต่างๆ การเตะฟุตบอล การลากและเรียงขอนไม้ และปิดท้ายด้วยการวาดภาพ รวมถึงการให้นักท่องเที่ยวขี่หลังเที่ยวชมทิวทัศน์นรอบๆปางช้างด้วย กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจเป็นพิเศษคือชมช้างน้อยวาดรูป ระยะเวลาที่ผ่านมามีบุคคลสำคัญของโลกเดินทางไปเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันปางช้างแม่สา มีศิลปินช้างวาดรูปจำนวน 7 เชือก และช้างอื่นๆ รวม 75 เชื่อก ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ ปางช้างแม่สา โทร. 0-5329-7060

ป่าเกี๊ยะ เชียงใหม่

tour pa kia chiang mai

ป่าเกี๊ยะหรือแม่ตะมาน
(เกี๊ยะ เป็นคำเมืองแปลว่า ต้นสน) ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอเชียงดาว ขึ้นอยู่กับส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากหน่วยงานมองเห็นยอดดอยเชียงดาวและทะเลหมอกยามเช้า มีแปลงดอกไม้ และแปลงทดลองปลูกกาแฟ การเดินทาง ใช้เส้นทางเชียงใหม่-ฝาง ประมาณ 67 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าหน่วยงานฯ อีกประมาณ 21 กิโลเมตรสภาพทางช่วงนี้ลำบากมากเป็นทางลูกรังและเป็นหลุมเป็นบ่อต้องใช้รถ ขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น

ควรติดต่อขอใช้ที่พักล่วงหน้าที่ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ โทร. 0 2579 7587

บ้านไร่ไผ่งาม เชียงใหม่

tour ban rai phai ngam chiang mai

บ้านไร่ไผ่งาม
เป็นหมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายทอมือแบบโบราณที่มีคุณภาพและมีชื่อเสียงของจังหวัด เชียงใหม่ ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 69-70 ตามเส้นทางเชียงใหม่-ฮอด และเลี้ยวซ้ายเข้าไปหมู่บ้านอีกประมาณ 1 กม. ทางเข้าหมู่บ้านร่มรื่นด้วยเงาไม้ไผ่สองข้างทาง ปัจจุบันกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดการผลิตผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ จากคุณป้าแสงดา บันสิทธิ์ ศิลปินแห่งชาติ รวมกลุ่มกันผลิตที่บ้านป้าแสงดา ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำปิง ปัจจุบันได้จัดทำเป็น “พิพิธภัณฑ์ผ้าป้าดา” เพื่อรำลึกถึงผลงานของท่าน และยังแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านในสมัยก่อนด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม โทร. (053) 361231 โทรสาร (053) 361230 สถานที่ติดต่อในเมืองเชียงใหม่ โทร. (053) 273625

บ้านเปียงหลวง เชียงใหม่

tour ban piang luang chiang mai

บ้านเปียงหลวง
อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า มีด่าน “ช่องหลักแต่ง” เป็นด่านชั่วคราว ที่เปิดการค้าขายชายแดนในระดับท้องถิ่น ในยามเหตุการณ์สงบ ด่านจะเปิดให้ชาวบ้านในละแวกข้ามมาค้าขายกันได้ ชาวบ้านในตำบลนี้เป็นจีนฮ่อและไทยใหญ่ โดยชาวจีนฮ่อนั้นอพยพเข้ามาในสมัยเจียงไคเช็คเป็นประธานประเทศ แต่ก็ยังไม่ละทิ้งวัฒนธรรมเดิม ทุกคนจะเรียนภาษาจีนเพิ่มเติมตอนเย็นโดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน การเดินทาง หากจะเดินทางมาที่อำเภอนี้โดยรถยนตร์ส่วนตัวใช้ทางหลวง 107 และแยกซ้ายที่เมืองงายเข้าทางหลวง 1322 ระยะทาง 72 กิโลเมตร แต่หากมาโดยรถประจำทางขึ้นรถที่ท่ารถถนนช้างเผือก สายดาวทอง (เวียงแหง-เปียงหลวง) เป็นรถสองแถวสีขาว 6 ล้อ รถออก เวลา 8.00, 12.00 และ 15.00 น. จากเวียงแหงรถออกตรงหน้าตลาด เวลา 7.00, 8.00 และ 15.00 น. ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง ค่ารถ 70 บาท

บ้านถวาย เชียงใหม่

tour ban tawai chiang mai

บ้านถวาย
อยู่ถัดจากเหมืองกุงไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 15 ถึงห้องสมุดประชาชนอำเภอหางดง จึงแยกซ้ายเข้าหมู่บ้าน มีโรงงานผลิตไม้แกะสลักเพื่อจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง มีชื่อเสียงในการทำผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถชมการผลิตและซื้อเป็นสินค้าที่ระลึกได้

บ้านถวาย ศูนย์หัตถกรรมแกะสลัก

อยู่ถัดจากเหมืองกุงไปตามเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณหลักกม.ที่ 15 ถึงห้องสมุดประชาชนอำเภอหางดง มีทางแยกซ้ายเข้าหมู่บ้าน มีโรงงานผลิตไม้แกะสลักเพื่อจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง มีชื่อเสียงในการทำผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่า ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถชมการผลิต และซื้อเป็นสินค้าที่ระลึกได้

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 904 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์