รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

เทียนพรรษาเมืองอุบลกับจุดเปลี่ยนทางวัฒนธรรมไท-ลาว อุบลราชธานี

สารบัญ


ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าศิลปะงานช่างเทียนพรรษาเมืองอุบลทั้ง ๓ ประเภท ได้แก่ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก มีลักษณะร่วมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน อันมีคุณสมบัติ ดังนี้

tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani tour-krua-suanpla-restaurant-ubon-ratchathani

๑ ทักษะฝีมือ และความละเอียดปราณีต เป็นคุณสมบัติที่มีความโดดเด่น โดย เฉพาะในระดับช่างพื้นถิ่นที่ไม่ใช่ช่างหลวง ช่างพื้นเมืองอุบลถือได้ว่าเป็นแหล่งผลิตช่างฝีมือที่มีคณภาพ โดยเฉพาช่างเทียน เฉกเช่น พระครูวิโรจน์ รัตโนบล ช่างโพธิ์ ส่งศรี ช่างคำหมา แสงงาม ช่างล้วน มุขสมบัติ ช่างสวน คูณผล ช่างประดับ ก้อนเเก้ว ฯลฯ บรมครูช่างเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นแบบแผนต้นฉบับด้านฝีมือในเชิงช่างหลายแขนง ทั้งในงานสถาปัตยกรรม และงานช่างแกะสลักอื่น ๆ แม้จะเป็นกลุ่มช่างพื้นถิ่น แต่ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ได้รับอิทธิพลทางศิลปะงานช่างในแบบฉบับช่างหลวง หรือช่างราชสำนัก ทั้งทางตรง และทางอ้้อม ซึ่งกระบวนลายแม่บทจะมีลักษณะแบบบอย่างศิลปะกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสกุลช่างสายราชสำนักที่พัฒนามาจุากศิลปะสุโขทัย อยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็ใช่ว่าช่างพื้นถิ่นอุบลจะรับเอารูปแบบกระบวนลายจากราชสำนักมาทั้งหมด บางส่วนก็เป็นส่วนผสมระหว่างวัฒนธรรมพื้นถิ่ินกับวัฒนธรรมหลวง

เฉกเช่น ตัวอย่างของ หอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรืเมือง ทั้งนี้ได้มีผู้ให้คำจำกัดความของหอไตรวัดนีว่า วิญญาณคงเป็นอีสาน แต่สังขารยังเป็นบางกอก หรืือจะเป็นงาน ฮูปแต้ม ในหอพระบาทของวัดทุ่งศรีเมืองอีกเช่นกัน ภาพเขียนเหลานั้นล้วนได้รับอิทธิพลจากช่างราชสำนักกรุงเทพฯ อย่างชัดเจน แต่ในเนื้อหาภาพได้บอกเล่าเรื่องราวแห่งวิถพื้นถิ่นอย่างมีเอกลักษณ์ ดังนั้น ในประเด็นเรื่องของทักษะฝีมือช่างพื้นเมืองของอุบล (ช่างในเขตเมือง) ได้พัฒนาตนเองจนก้าวผ่าน ความเป็นช่างพื้นบ้าน (ช่างราษฏร์) สู่ช่างพื้นเมืองที่มีทักษะฝีมือระดับสูง ช่างในกลุ่มนี้ ได้เเก พระครูวิโรจน์ รัตโนบล ,ช่างคำหมา แสงงาม ช่างโพธิ์ ส่งศรี ซึ่งเราสามารถศึกษาไดุ้จากผลงานการออกแบบก่อสร้างที่ท่านได้ฝากผลงานเอาไว้ โดยเฉพาะในส่วนของฉันทลักษณ์ไวยกรณ์ด้านลวดลาย จะพบความจริงได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นลวดลายในสายสกุลราชสำนักของกรงเทพฯ อย่างชัดเจน แต่บางส่วนได้ผสมผสานความเป็น ท้องถิ่นบ้างแล้ว แต่ในภาพรวมยังไม่สามารถแสดงเอกลักษณ์ ความเป็นอีสาน เฉกเช่นในอดีตได้

๒ ความคิดสร้างสรรค์แบบขนบนิยม เป็บคุณสมบัติที่ช่างเมืองอุบลมีความพยายามรักษาเอาไว้เป็นแบบแผน ซึ่งปรากฏอยู่ใบกติกาการประกวดเทียนในทุกประเภทโดยคำว่า ขนบนิยม ตีความได้หลายมิติ ทางมมมอง เช่น รูปแบบลวดลายแกะสลัก หรือลายพิมพ์ อันเป็นแบบฉบับของช่างราชสำนัก ประกอบด้วยประเภทลายช่อ ประเภทดอกลาย ลักษณะลวยบัว ประเภทลายหน้์กระดาน ลายรักร้อย ลายก้านต่อดอก ลายกระจัง ลายกาบ ลายเครือเถา ลายก้านขด ลายเฟืองอุบะ ลายกรวยเชิง แม่บทลวดลายเหล่านี้แม้จะถูกคลี่คลายมาเป็นลวดลายในแบบฉบับพื้นเมืองแล้ว แต่ยังคงเค้าโครงคุณลักษณะที่บ่งบอกถึงรากเหง้าต้นแบบในสกุลช่างสายอยุธยา รัตนโกสินทร์มากกว่าจะเป็นแบบแผนลวดลายในแบบฉบับล้านช้าง ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในอดีตนั้นศิลปะลาวได้เข้ามามีอิทธิพลต่อรูปแบบศิลปะอีสานโดยเฉพาะในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และเริ่มถึีงจุดเปลี่ยนเมื่ออีสานอยู่ภายใต้ระบบการปกครองของราชสำนักกรุงเทพฯ ตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมาและปัจจุบันศิลปะอีสานได้ถูกครอบงำโดยศิลปะจากกรุงเทพฯ อีกทั้งยังแพร่หลายเข้าไปยังฝังลาวอีกด้วย

อนึ่ง หลักการของความคิดสร้างสรรค์แบบขนบนิยม เป็นแนวความคิดที่ต่างกับปรัชญาแนวทางการสร้างสรรค์ของช่างพื้นถิ่ินอีสาน ซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างสรรค์ผลงานด้วยความคิดที่ค่อนข้างจะเป็นอิสระ โดยเฉพาะสกุลช่างพื้นบ้านบริสุทธิ์ ดังเช่นการแกะสลักจะมีการเปลี่ยนแปลงภาพให้ความอ่อนไหวไม่เหมือนกัน อันเนื่องมาจากความเป็นอิสรเสรีขอ’8นอีสานที่มีมาแต่ในโบราณ ฉะนั้น การสร้างกรอบและกฏเกณฑ์ให้ึคนอีสานจึงเป็นไปได้ยาก ตรงกันข้ามกับแนวคิดสร้างสรรค์แบบขนบนิยม (แบบช่างหลวงราชสำนัก) ที่ยึดถือ “คตินิยมแบบแผน” กลุ่มนี้จะมีแนวความคิดหล้กในเรื่องความสมเหตุสมผล (rationality) และความพอดี (moderation) ดังนั้นผลงานการสร้างสรรค์ของเทียนเมืองอุบล จึงจัดอยู่ในกลุ่มนื้ ด้วยปรัชญาแนวทางการสร้างสรรค์ที่ปรากฏอยู่ เป็นรูปธรรมตามกรอบแนวคิดทฤษฏีที่อธิบายความไว้ในเบื้องต้นนี้ แม้จะได้มการผสมผสานกับบริบทของท้องถิ่นแล้วก็ตาม

๓ ความชำนาญด้านเทคนิค เอกลักษณ์รูปแบบเทียนพรรษาของเมืองอุบลหากไม่นำมารวมกับฝีมือในเรื่องของความละเอียดอ่อนปราณีตแล้ว เรื่องของความชำนาญในด้านเทคนิควิธีการถือเป็นจุดเด่น อีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นภูมิปัญญาสร้างสรรค์ของช่างพื้นเมือง ซึ่งคิดค้นเทคนิคการทำจากข้อมูลในบทต้้นๆจะเห็นได้ว่า ช่างพื้นเมืองต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่คิดค้นเทคนิควิธีการอยู่ตลอดเวลา ทั้งในส่วนที่เป็นการคิดประดิษฐ์ต่อยอดจากภูมิปัญญาเดิม หรือค้นพบใหม่ดังตัวอย่างช่างในยุคที่ ๓ (พ ศ ๒๔๘๐ ๒๕๐๑) ได้คิดค้นลวดลายที่มีความซับซ้อน โดยพิมพ์ลายดอกผึ้งบนแบบพิมพ์ที่แกะสลักจากต้นกล้วยหรือผลไม้เนื้อแน่น เช่น ฟักทอง เผือก มะละกอ ให้เป็นลวดลายที่ต้องการและใช้ไม้เสียบ เพื่อเอาไวุ้จับนำไปจุ่มลงในขี่ผึ้งที่ต้มจนหลอมละลาย และขี้ผึ้งนั้นก็จะติดอยู่ที่แบบพิมพ์ แล้วนำแบบพิมพ์นั้นไปจุ่มลงในน้ำเย็น เพื่อให้ขี้ผึ้งที่ติดพิมพ์หลุดออกเป็นนบบพิมพ์ที่ต้องการ จากนั้นนำไปติดประดับกับต้นเทียนในส่วนต่าง ๆ ทั้งนี้ต้องมีการตรีงด้วยไม้กลัดเพื่อไม่ให้ดอกผึ้งหลุด

ซึ่งวิธีการนี้เป็นภูมิปัญญาสร้างสรรค์ที่เป็นต้นแบบของเทียนประเภทติดพิมพ และจากเทคนิควิธีการนี้ได้พัฒนามาเป็นการแกะสลักลายแบบพิมพ์จากต้นฝรั่งโดยช่างผู้ที่มีชื่อเสียงจากเทคนิคนี้คือ ช่างโพธิ์ ส่งศรี และมีการพัฒนาวัสดุเเม่พิมพ์เป็็นหินสบู่ หรือหินลับมีด โดยใช้ขี้ผึ้งที่ตากแดดจนมีความนุ่มอ่อนแล้วจึงนามากดลงบนแม่พิมพ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นอีกเทคนิควิธีการหนึ่งของเทียนประเภทติดพิมพ์ และอีกเทคนิคหนึ่งอััน เป็นพัฒนาการในเวลาต่อมาคือการนำสีต้มผสมกับขี้ผึ้ง เพื่อให้สีของขี้ผึ้งที่นำมาทำดอกผึ้งมีสีสม่ำเสมอกัน โดยช่างที่เป็นผู้ริเริ่ม คือ นายสวน คูณผล ต่อมามีการพัฒนาใช้เทิคนิค โดยนำวััสดุปูนปลาสเตอร์แกะ พิมพ์เป็นลวดลายต่าง ๆ ซึ่งได้้ความหลากหลาย ช่างผู้ริเริ่มเทคนิควิธีการนี้ประกอบด้วย พระมหาบุญจันทร์ กิตติโสต วัดแจ้ง และนายอารี สินสวัสดิ์ โดยมีสานุศิษย์ที่สำคัญท่านต่อมา คือนายประดับ ก้อนแก้ว (นายช่างที่รวบรวมเรียบเรียงกรรมวิธีีการทำเทียนในเชิงวิชาการคนแรกที่นักวิชาการรุ่นต่อมาใช้เป็บหลักฐานข้อมูลอ้างอิงมากที่สุด)

พัฒนาการด้านเทคนิควิธีการทำในยุคที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งคือ ช่วง พ ศ ๒๕๐๒ - ๒๕๑๙ ได้มีเทคนิคใหม่ โดยการสลักเทียน สลักลาย ซึ่งเป็นเทคนิควิธีการใหม่ โดยมีนายคำหมา แสงงาม เป็นผู้บุกเบิกคนสำคัญ ทั้งนี้หากสืบดูประวัติช่างบุกเบิกเหล่านั้นจะได้พบว่าส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นช่างผู้ออกแบบก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมประเภทศาสนาคาร ซึ่งได้้ปรับเปลี่ยน วัสดุเทคนิคให้มีความสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการด้านเทคโนโลยีภายใต้กรอบ แห่งบริบททางสังคม วัฒนธรรมนั้น ๆ เป็นสำคัญมิได้นิ่ง เฉยกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ปัจจุบันช่างุ่รนกลางถึงรุ่นใหม่ก็ยังคงพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านเทคนิคต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นภูมิธรรมความรู้ของช่างเทียนเมืองอุบลอย่างแท้จริง

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 767 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์