รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

10 ชุมชนอนุรักษ์เทียนพรรษา อุบลราชธานี

สารบัญ

10 ชุมชนอนุรักษ์เทียนพรรษาเมืองอุบล
เยือนชุมชนชมวิธีวัฒนธรรมในการตกแต่งต้นเทียนในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี โดยที่แต่ละชุมชนต่างมีเอกลักษณ์ รูปแบบ วิธีการ และเคล็ดลับภูมิปัญญาในการประดิษฐ์ต้นเทียน

tour-10-candle-conservation-community-ubon-ratchathani

ชุมชนวัดหนองปลาปาก
ตั้งอยู่ที่บ้านหนองปลาปาก ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี การเดินทางจากตัวเมืองตามถนนชยางกูรถึงบ้านดอนกลาง (กม.5) เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กม. และเลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กม. และเลี้ยวขวา 300 เมตร ถึงวัดหนองปลาปาก ภายในวัดจะมีเตาอบสมุนไพรเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้มีโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานหรือโรคอ้วน เป็นศูนย์สมุนไพรเพื่อสุขภาพอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี


ชุมชนวัดหนองปลาปาก มีนายทรงพล สำราญสุข เป็นช่างทำต้นเทียนประจำชุมชน ซึ่งมีประสบการณ์และทำเทียนพรรษามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 โดยชนะเลิศประเภทแกะสลัก 2 ครั้ง รางวัลรองชนะเลิศและชมเชยตามลำดับ โดยเฉพาะชาวบ้านในชุมชนมีพลังศรัทธา มีความรักความสามัคคีถึงแม้จะอยู่ชานเมืองก็ส่งเทียนพรรษาเข้าร่วมงานทุกปี

ชุมชนวัดพระธาตุหนองบัว
ตั้งอยู่ถนนธรรมวิถี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ด้วยศรัทธาแรงกล้าของพุทธศาสนิกชนอุบลราชธานีมีความประสงค์จะสร้างวัดให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ในวาระมงคลกึ่งพุทธกาล พุทธศตวรรษ 2500 (พ.ศ. 2500) และได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2498 ภายในบริเวณวัดมีพระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ เป็นแบบจำลองมาจากพระเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

สำหรับชุมชนวัดพระธาตุหนองบัว มีนายวิเชียร ภาดี เป็นช่างทำต้นเทียน (ประเภทแกะสลัก) ซึ่งเริ่มเรียนรู้การทำต้นเทียนมาตั้งแต่อายุ 15 ปี มีผลงานการทำเทียนพรรษามา 27 ปี ได้รับรางวัลชนะเลิศรวม 8 ครั้ง มีความภูมิใจที่ได้เป็นลูกศิษย์ของครู โดยเฉพาะ (อ.อุตส่าห์ จันทรวิจิตร) ที่สร้างชีวิตให้กับทีมงานจนกลายมาเป็นช่างทำเทียนพรรษา และช่างศิลปะชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี

ชุมชนวัดท่าวังหิน
วัดท่าวังหิน ตั้งอยู่ซอยสรรพสิทธิ์ 9 ถนนสรรรพสิทธิ์ อยู่ใกล้กับโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช เดิมเป็นที่พระสงฆ์ใช้เป็นที่กรรมฐานปักกลด เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งน้ำมูลน้อย
ต่อมาปี พ.ศ. 2471 ญาท่านอาจได้พาญาติโยมสร้างศาลา และตั้งชื่อวัดป่าท่าวังหิน ต่อมาบริเวณดังกล่าวมีความเจริญและได้เกิดเป็นชุมชนใหญ่ ประกอบกับทางวัดได้มีการกันพื้นที่เพื่อก่อสร้างกุฎิและอุโบสถ จึงทำให้มีป่าไม้เบาบาง คณะกรรมการวัดจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดท่าวังหิน โดยตัดคำว่า”ป่า”ออก

วัดท่าวังหิน มีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่พึ่งด้านจิตใจของชุมชนคือ พระเจ้าใหญ่ศรีสรรเพชร เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวชุมชนท่าวังหิน นอกจากนั้นวัดท่าวังหินยังได้ร่วมอนุรักษ์สืบสานตำนานเทียนร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยส่งต้นเทียนประเภทแกะสลักเข้าร่วมกิจกรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานีทุกปี และก็ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศ และชมเชย สลับสับเปลี่ยนกันไปทุกปี โดยมีพระครูวรดิตถ์โสภณ เจ้าอาวาสวัดท่าวังหินเป็นผู้อำนวยการในการทำต้นเทียน

ชุมชนวัดไชยมงคล
วัดไชยมงคล ตั้งอยู่ที่ ถ.พโลชัยด้านทิศเหนือของศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดที่พระพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (เจ้าหน่อคำ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 4 สร้างเมื่อพ.ศ. 2409 ได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และยังได้เป็นตัวแทนจังหวัดอุบลราชธานีในการนำต้นเทียนของวัดร่วมขบวนแห่เทียนในสัปดาห์วันอาสาฬหบูชาที่ กทม.

ชุมชนวัดสุทัศนาราม
วัดสุทัศนาราม ตั้งอยู่ที่ถนนพโลรังฤทธิ์ ติดกับศาลแขวงอุบลราชธานีมีชื่อเดิมว่าวัดสุทัศน์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2396 โดยราชบุตรสุ้ย พร้อมด้วยญาติร่วมกันสร้าง จากนั้นราชบุตสุ้ยได้ไปทำศึกสงครามเมืองญวนที่เขมรโดยเป็นนายกองใหญ่สร้างทาง เมื่อครั้งเสร็จศึกสงครามได้เข้ากรุงเทพฯพร้อมกับท่านพระยาบดินทร์เดชา จากนั้นราชบุตรสุ้ยก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี แต่ยังไม่ได้มานั่งเมืองเพื่อว่าราชการที่เมืองอุบลราชธานี ท่านก็ได้ถึงแก่อสัญกรรมที่กรุงเทพฯ ด้วยโรคอหิวาต์ และได้นำอัฐิของท่านมาบรรจุไว้ที่เจดีย์ ณ วัดสุทัศน์แห่งนี้

นอกจากมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจแล้ว วัดยังมีจุดท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์อีกมากมายเช่น อุโบสถที่มีความสวยงาม มีศิลปะผสมผสานระหว่างไทยกับยุโรป ภายในอุโบสถมีพระประธานพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์คือพระมิ่งเมือง วัดสุทัฯนารามได้ร่วมกิจกรรมส่งต้นเทียนประเภทแกะสลักเพื่ออนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของเมืองอุบลราชธานีทุกปี ซึ่งการประดิษฐ์ต้นเทียนของวัดสุทัศนารามนั้น เจ้าอาวาสวัดสุทัศนาราม (พระครูสุทัศโนบล) เป็นผู้อำนวยการในการสร้างต้นเทียนซึ่งก็ได้รับรางวัลชนะเลิศเมื่อปี พ.ศ. 2537 และรางวัลต่าง ๆมากมาย

ชุมชนวัดมหาวนารม (วัดป่าใหญ่)
พระอารามหลวงตั้งอยู่ถนนหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2350 มีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง “พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” ที่มีประชาชนศรัทธากราบไหว้บูชาจำนวนมาก

สำหรับชุมชนวัดป่าใหญ่มีนายสุคม เชาวฤทธิ์ เป็นช่างทำต้นเทียนโดยใช้ประสบการณ์และผลงานกว่า 22 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้รับรางวัลชนะเลิศ 10 ครั้ง และรองชนะเลิศ 10 ครั้ง ได้รับโล่ศิลปินดีเด่นสาขางานเทียน (ประติมากรรม) ของจังหวัดอุบลราชธานี และโล่รางวัลการทำต้นเทียน (ประเภทติดพิมพ์) ชนะเลิศ 5 ปี (2535-2539) ติดต่อกัน ซึ่งเป็นคนแรกและคนเดียวของจังหวัดอุบลราชธานี

ชุมชนวัดศรีประดู่
ตั้งแต่ที่หมู่ที่ 5 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2518 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2519 และมีศูนย์การเรียนเทียนพรรษาศรีประดู่อยู่ที่บ้านนายสมคิด สอนอาจ ครูภูมิปัญญาไทยรุ่น 3 ซึ่งเป็นช่างทำเทียนพรรษาของวัดศรีประดู่ ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 40 ปี และได้รับรางวัลชนะเลิศการทำต้นเทียนพรรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2550 รวม 11 ครั้ง รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ตั้งแต่ปี 2544-2549 รวม 12 ครั้ง รองชนะเลิศอันดับ 2 อีก 4 ครั้ง และชมเชย 11 ครั้ง รวมถึงรางวัลศิลปินดีเด่นสาขาช่างเทียน จากสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี เป็นครูที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำเทียนให้เยาวชนอย่างต่อเนื่องหลังเกษียณอายุราชการ



 ชุมชนวัดบูรพา
ตั้งอยู่ที่ ถ.พโลรังฤทธิ์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ในอดีตเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมต้นกำเนิดวัดสายวิปัสสนากรรมฐานเป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อเหมือนของพระอาจารย์วิปัสสนา 5 องค์ คือ พระอาจารย์สีเทา ชัยเสโน,พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล, พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระญาณวิศิษย์และพระสิทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากราบไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคล

สำหรับชุมชนวัดบูรพา มีนายแก้ว อาจหาญ เป็นช่างทำต้นเทียน (ประเภทติดพิมพ์) พร้อมด้วยนายยุทธเกียรติ โกศัลวิตร์, นายจันทร ป้องทอง มีผลงานประสบการณ์เริ่มทำต้นเทียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-2550 รวม 15 ครั้ง รางวัลรองชนะเลิศ 5 ครั้ง รวมทั้งต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ขนาดเล็กในนาม อ.ศรีเมืองใหม่ได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกัน 5 ปี (พ.ศ.2545-2549)

ชุมชนวัดทุ่งศรีเมือง
ตั้งอยู่ถนนหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี สร้างสมัยปลายรัชกาลปลายรัชกาลที่ 3 มีพระเจ้าใหญ่ศรีเมือง เป็นพระประธานในวิหารศรีเมือง ภายในวัดยังมีหอไตรกลางน้ำ แหล่งสืบค้นและโบราณสถานที่สำคัญสำหรับชุมชนวัดทุ่งศรีเมือง มีส่วนร่วมในงานประเพณีแห่งเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีอย่างต่อเนื่อง โดยพระครูสมุห์สำลี ทิฎธมโม และคณะทำงานร่วมกับชุมชนออกแบบและจัดทำต้นเทียนเพื่อสืบสานงานบุญประเพณีแห่งเทียนให้มีความยั่งยืน โดยเฉพาะการทำเทียนพรรษาจะมีเยาวชนนักเรียน นักศึกษา และประชาชนสนใจได้ศึกษาและเรียนรู้ร่วมฝึกปฏิบัติการหลอมใจ ทำบุญจากการทำเทียนพรรษา โดยมีความเชื่อว่าการทำบุญ ทำเทียนพรรษาถวายเป็นพุทธบูชา แล้วชีวิตจะมีความรุ่งโรจน์ปัญญาสว่างไสวดุจแสงเทียน

บ้านคำปุน
ตั้งอยู่ถนนวาริน-ศรีสะเกษ ใกล้โรงเรียนวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี มีความโดดเด่นในการผลิตและแหล่งเรียนรู้การทอผ้าไหมของจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนางคำปุน ศรีไส และนายมีชัย แต้สุริยา ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี กำกับดูแลและอำนวยความสะดวกและเป็นการคิดค้นลายกาบบัวมาประยุกต์เป็นลายผ้าพื้นเมืองอุบลจนมีชื่อเสียงระดับประเทศ

สำหรับบ้านคำปุน เป็นอาคารทรงไทยแบบอีสาน รอบๆ อาคารหลังใหญ่จะมีอาคารหลังเล็กๆ สำหรับทอผ้าและผลิตภัณฑ์จากไหม ผู้ที่เข้าเยี่ยมชมประทับใจกับความพยายามของช่างทอผ้าซึ่งทอด้วยฝีมือประณีต ที่สำคัญแหล่งเรียนรู้บ้านคำปุนยังได้สืบสานภูมิปัญญาของท้องถิ่นให้ยั่งยืนตลอดไป

โดยแต่ละชุมชนต่างมีเทคนิค รูปแบบ วิธีการและเคล็ดลับภูมิปัญญาพื้นบ้านในการประดิษฐ์ต้นเทียนและความสมัครสมานสามัคคีของผู้คนในชุมชนที่จะต้องร่วมมือในการตกแต่งต้นเทียนที่เป็นเอกลักษณ์

tour-10-candle-conservation-community-ubon-ratchathani tour-10-candle-conservation-community-ubon-ratchathani

กบนอกกะลา แห่เทียนพรรษา ศิลปะแห่งความศรัทธา
กว่าจะมาเป็นต้นเทียนพรรษาและรถแห่เทียนที่สวยงามตระการตานั้นเขาทำกันอย่างไร ใครเป็นคนทำต้นเทียน ต้นเทียนพรรษามีกี่ชนิดกี่แบบ ทำไมถึงต้องมีประเพณีแห่เทียนพรรษาทั้งที่ปัจจุบันเกือบทุกวัดก็มีไฟฟ้า และความหมายที่แท้จริงของประเพณีแห่เทียนพรรษานั้นคืออะไร

ทุกๆปีในช่วงเข้าพรรษาหรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ณ แดนดินถิ่นอีสานเมืองดอกบัว จังหวัดอุบลราชธานี จะมีงานประเพณีที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ นั่นก็คือ งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานประเพณีที่มีชื่อเสียงและสามารถเรียกผู้ชมทั้งชาวไทยชาวต่างชาติให้ไปชมความสวยงามของต้นเทียนพรรษาและขบวนแห่ต่างๆ แต่กว่าจะมาเป็นต้นเทียนพรรษาและรถแห่เทียนที่สวยงามตระการตานั้นเขาทำกันอย่างไร ใครเป็นคนทำต้นเทียน ต้นเทียนพรรษามีกี่ชนิดกี่แบบ ทำไมถึงต้องมีประเพณีแห่เทียนพรรษาทั้งที่ปัจจุบันเกือบทุกวัดก็มีไฟฟ้า และความหมายที่แท้จริงของประเพณีแห่เทียนพรรษานั้นคืออะไร

กบนอกกะลาเดินทางไปยังจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อตามหาเรื่องราวต้นทางของต้นเทียนพรรษาและได้พบกับปราชญ์เมืองอุบล ทำให้เราได้รู้ว่าประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบล ราชธานีนั้นมีความเป็นมายาวนานกว่าร้อยปี ซึ่งเกิดจากเจ้าเมืองสมัยก่อนนั้นเห็นว่าเมืองอุบลเป็นเมืองพุทธศาสนา มีวัดเยอะและยังมีช่างที่มีฝีมืออยู่มากมาย จึงให้ชาวบ้านแต่ละคุ้มวัดช่วยกันทำเทียนพรรษาแล้วแห่ถวายเข้าวัด ซึ่งต้นเทียนในสมัยก่อน เรียกว่า เทียนโบราณ จะเรียบง่ายทำขึ้นด้วยเทียนแท่งเล็กๆ มามัดรวมกันและตกแต่งด้วยกระดาษสีต่างๆ ยังไม่ได้มีความยิ่งใหญ่อลังการเท่าปัจจุบัน ซึ่งต้นเทียนที่อยู่ในขบวนแห่นั้น นอกจากเทียนโบราณแล้วก็ยังมีเทียนแกะสลักและเทียนติดพิมพ์

ซึ่งการทำเทียนก็จะทำกันที่วัด แต่ด้วยปริมาณต้นเทียนที่เพิ่มขึ้นทุกปีทำให้มีร้านที่รับทำต้นเทียนพรรษาอีกด้วย จากนั้นเราจึงเดินทางแยกย้ายไปตามหาการทำเทียนพรรษาทั้งแบบติดพิมพ์และแกะสลัก ซึ่งเทียนติดพิมพ์เราเดินทางไปที่คุ้มวัดบูรพาและก็ได้พบกับลุงแก้วมัคทายกวัด ซึ่งลุงแก้วบอกว่าการทำเทียนติดพิมพ์นั้นส่วนใหญ่จะต้องทำกันที่วัด เพราะจะต้องใช้คนช่วยทำเยอะ ซึ่งคนที่มาช่วยทำก็จะเป็นชาวบ้านในคุ้มวัดบูรพานั่นเอง เรียกได้ว่า เป็นงานบุญของชุมชนเลยก็ว่าได้ ซึ่งการทำเทียนติดพิมพ์นั้นจะต้องใช้วัตถุดิบในการทำ ก็คือ ขี้ผึ้ง ซึ่งต้องใช้หลายร้อยกิโลกรัมและต้องเอามาจากรังผึ้งร้างเท่านั้น

ส่วนเทียนแกะสลักเราเดินทางไปที่ร้านดาราศิลป์ ซึ่งเป็นร้านที่รับทำเทียนแกะสลักแบบครบวงจรและก็ได้พบกับพี่ตุ้ย ช่างทำเทียนแกะสลัก ซึ่งพี่ตุ้ยบอกว่า ต้นเทียนพรรษาที่รับทำนั้นนอกจากลูกค้าในจังหวัดอุบลแล้วก็ยังมีลูกค้าจากต่างจังหวัดสั่งให้ทำ เรียกได้ว่า ต้นเทียนจากอุบลเดินทางไปทั่วประเทศ ซึ่งการทำเทียนแกะสลักนั้นไม่ต้องใช้คนเยอะ แต่ต้องใช้ฝีมือการแกะสลักและความอดทนในการแกะสลักอย่างมาก ทำให้ในปัจจุบันเหลือช่างที่มีฝีมือในการแกะ สลักเทียนอยู่ไม่กี่ราย

tour-10-candle-conservation-community-ubon-ratchathani tour-10-candle-conservation-community-ubon-ratchathani

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 766 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์