2 ช่องทางและวิธีการเดินทาง แผนที่ ภูมิอากาศ ฉะเชิงเทรา
สารบัญ
ภูมิอากาศ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ภูมิอากาศ
จังหวัดราชบุรี ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่าน เนื่องจากมีฝนตกในช่วงเดือนเมษายน ทำให้อากาศในช่วงฤดูร้อนไม่ร้อนมากนัก ปริมาณฝนรวม 1,397.4 ม. ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงสิ้นปี บริเวณความอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีอากาศเย็น ซึ่งปีนี้ อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 9.8 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2542
ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดฉะเชิงเทรามีลักษณะสภาพภูมิอากาศเป็นแบบเขตเมืองร้อน หรืออากาศร้อนชื้นแถบเส้นศูนย์สูตร
อุณหภูมิ จะสูงเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ในเดือนเมษายน จะร้อนที่สุด เดือนที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดคือเดือนธันวาคม
ส่วนฤดูกาลแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม โดยมีลมตะวันออก และลมฝ่ายใต้พัดผ่าน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย35 - 37 'C อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25 - 27 'C ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 200-330มิลลิเมตรซึ่งเป็นฤดูกาลที่เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวในระยะสั้น ๆ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม โดยมีลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้พัดผ่านมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณเทือกเขาด้านอำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31 - 33 'C อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23 - 25 'C ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,000 - 1,200 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นฤดูกาลที่เหมาะแก่การทำนาและปลูกไม้ผล
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน อากาศเย็นและแห้ง อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 30 - 32 'C อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20 - 23 'C ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 50 - 100 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นฤดูกาลที่เหมาะแก่การปลูกผักสวนครัว
ฝนที่ตกในจังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งเป็น 4 ชนิด
ฝนพาร้อน ซึ่งตกอย่างเด่นชัดในช่วงต้นหรือปลายฤดูฝน โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม เมษายนและต้นเดือนพฤษภาคม
ฝนภูเขา ฝนชนิดนี้จะตกในช่วงนี้จะตกในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน คือตั้ง แต่ปลายเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม
ฝนพายุหมุน เป็นฝนที่ตกเป็นครั้งคราวในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อยครั้ง ในช่วงปลายฤดูฝน
ฝนแนวอากาศ เป็นฝนที่ตกในจังหวัดฉะเชิงเทราไม่บ่อยครั้งนัก แต่ปรากฏในช่วงผลัด เปลี่ยนฤดู
ฝนภูเขาเป็นฝนที่ตกลงมาเห็นเด่นชัดมากในช่วงฤดูฝนของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม การกระจายของฝน ปริมาณน้ำฝนที่ตกตลอดปี ในช่วง 8 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 2532 - 2539 ปรากฏว่าเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนกันยายน ซึ่งมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมพายุหมุนพัดผ่าน เดือนที่มีฝนตกน้อย คือ เดือนธันวาคม เนื่องจากท้องที่อำเภอบางปะกง ติดฝั่งทะเลยาวถึง 12 กิโลเมตร จังหวัดฉะเชิงเทราจึงได้รับ อิทธิพลจากลมบก ลมทะเล และประกอบกับตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ด้วย ดังนั้นจึงมีฝนตกปริมาณพอเพียงตามฤดูกาล ความชื้นใกล้เคียงกันกับจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันออกด้วยกัน
ลมที่พัดผ่านอยู่ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดใกล้เคียง จะแตกต่างกันทั้งด้านความเร็ว และทิศทาง ซึ่งสามารถ แบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ ลมประจำฤดู ลมประจำเวลา ลมประจำถิ่น และลมแปรปรวน
ทรัพยากร จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรที่สำคัญ ๆ ดังนี้
ทรัพยากรน้ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีแหล่งน้ำธรรมชาติ 3 ประเภทคือ
แหล่งน้ำจากน้ำฝน ฝนจะตกชุกในเขตภูเขาและที่ราบสูงทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด ในเขตอำเภอสนามชัยเขต ส่วนที่ติดต่อกับจังหวัดชลบุรีและจันทบุรี
แหล่งน้ำจากผิวดินหรือน้ำท่า ที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำบางปะกง ไหลผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์ และไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง นอกจากนี้ยังมีคลอง ได้แก่ คลองท่าลาดในเขตอำเภอพนมสารคาม คลองสียัด และคลองระบมในเขตอำเภอสนามชัยเขต และยังมีคลองซึ่งเชื่อมโยงติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการหลายแห่ง เช่น คลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองท่าไข่ คลองบางขนาก และคลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งเป็นคลองที่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญรองจากแม่น้ำบางปะกง
แหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล พื้นที่มีปริมาณน้ำใต้ดินมากจะอยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำบางปะกง ส่วนทางด้านตะวันออกมีปริมาณน้ำใต้ดินน้อย น้ำใต้ดินส่วนใหญ่มีคุณภาพไม่เหมาะสม ที่จะนำนำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค หรือการเกษตร เนื่องจากน้ำมีความเค็มหรือไม่ก็เป็นน้ำกร่อย พื้นที่ที่พอจะนำน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์ได้บ้าง คือบางส่วนของอำเภอบางคล้า อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขตแต่ปริมาณน้ำมีน้อย
ทรัพยากรดิน ดินในจังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งตามความเหมาะสมในการปลูกพืชได้ดังนี้
เขตทำนา ได้แก่ พื้นที่ราบ ซึ่งลักษณะเป็นดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง - สูงเหมาะในการทำนาและยกร่อง ปลูกพืชผักและไม้ผลต่าง ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอ บางน้ำเปรี้ยว อำเภอบ้านโพธิ์ และบางส่วนของอำเภอบางปะกง อำเภอแปลงยาว อำเภอบางคล้า อำเภอพนมสารคาม อำเภอราชสาส์น และกิ่งอำเภอคลองเขื่อน
เขตปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ได้แก่ พื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งแม่น้ำบางปะกง เหมาะสมในการ ปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ลักษณะเป็นชุดดินตะกอน มีการทับถมของอินทรีย์วัตถุค่อนข้างสูง อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า และกิ่งอำเภอคลองเขื่อน
เขตปลูกพืชไร เป็นพื้นที่ค่อนข้างสูง บริเวณเนินเขา เนื่องจากเป็นเขตป่าไม้ เดิม ลักษณะเป็นดินเหนียวปนลูกรัง ดินทราย หรือดินร่วมปนทราย สามารถปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นและพืชไร่ต่างๆ ไว้ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ
ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ป่า 1,193 ตารางกิโลเมตร หรือ 745,625 ไร่ คิดเป็น 22.29 % ของพื้นที่จังหวัด โดยมีป่าชายเลน 4.83 ตารางกิโลเมตร หรือ 0.09 % ของพื้นที่จังหวัด และมีป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 แห่ง คือ ป่าแควระบมและป่าสียัด มีเนื้อที่ 1,753,125 ไร่ หรือ 2,805 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าสงวน 1,517,106.30 ไร่ หรือประมาณ 2,427.30 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ ต่อมาได้มีการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ของป่าแควระบมและป่าสียัด เป็นเขตพื้นที่ป่าที่เหมาะสมต่อการเกษตร เขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ และเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรแร่ธาตุ จังหวัดฉะเชิงเทรา แร่ธาตุที่สำรวจพบ คือ แร่เหล็ก ทองคำ ศิลาแลง ทองแดง ซึ่งพบในปริมาณ ที่น้อย และยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์มากนัก
คำยืนยันลูกค้า
คำยืนยัน ในคุณภาพและผลงานการจัดทัวร์จากลูกค้าบางส่วนของ นิววิวทัวร์
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - กรุ๊ปคุณบาส (บจก.สหคุณอินเตอร์เทรด) กิจกรรมไหว้พระ 9 วัด ปทุมธานี 70 ท่าน
18211 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - เอ้าท์ติ้ง ระยอง 2 วัน (ซาโต-โชจิ) 60 ท่าน Part 2
7895 Views
คำยืนยันแด่นิววิวทัวร์ - ทีมบิ้วดิ้ง กาญจนบุรี (ไทยพลาสติกรีไซเคิล) 50 ท่าน Part 2
8813 Views