รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

2 ช่องทางและวิธีการเดินทาง แผนที่ ภูมิอากาศ ฉะเชิงเทรา

สารบัญ

tour channel transportationช่องทางและวิธีการเดินทาง จังหวัดฉะเชิงเทรา

รถยนต์
เส้นทางที่สะดวกมีสองเส้นทางคือ จากกรุงเทพฯ-มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา ทางหลวงหมายเลข 304 และอีกเส้นทางคือ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายบางนา-ตราด ก่อนข้ามสะพานข้ามแม่น้ำ บางประกงมีทางแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 314 ไปยังฉะเชิงเทรา

จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ 3 เส้นทาง คือ
จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 304(กรุงเทพฯ-มีนบุรี –ฉะเชิงเทรา)ระยะทาง75 กิโลเมตร

จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 34ถนนสายบางนา–ตราดจากนั้นเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 314 (บางปะกง– ฉะเชิงเทรา)ระยะทาง90กิโลเมตร

จากกรุงเทพฯไปตามทางหลวงหมายเลข 3(ผ่านสมุทรปราการ-บางปะกง)จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 314 ระยะทาง 100กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง
มีทั้งรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ออกจากจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) โทร. 936-1888 และจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย)โทร 392-2391

รถโดยสารปรับอากาศออกจากจากสถานีขนส่งหมอชิต (ใช้เส้นทางมอร์เตอร์เวย์) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.20- 18.00 น. รถออกทุกครึ่งชั่วโมงวันธรรมดามีรถออกตั้งแต่เวลา 06.00-17.30 น.เสาร์-อาทิตย์ 06.00-18.00 น. - รถโดยสารปรับอากาศจากสถานีขนส่งหมอชิต ใช้เส้นทางมีนบุรี มีรถออก ทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00 - 21.30 น. หมายเลขรถ 907  ผ่าน ถนนลาดพร้าว-บางกะปิ-มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา หมายเลข รถ 94ผ่าน ถนนพหลโยธิน-ถนนรามอินทรา-มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา สามารถขึ้นรถระหว่างเส้นทางที่รถโดยสารวิ่งผ่าน ได้ไม่จำเป็นต้องมาขึ้นที่สถานนีหมอชิต สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งสายเหนือ(ถนนกำแพงเพชร 2) โทร. 0 2936 2852–66 ต่อ 311, 442

จากสถานีขนส่งสายตะวันออก(เอกมัย) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ บริษัท ฉะเชิงเทรา ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2712 1018, 0 9749 1336 มีรถออกตั้งแต่เวลา 05.00-21.30 น. หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถานีขนส่ง สายตะวันออก (เอกมัย) โทร. 0 2391 2504 หรือ สถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 4482

รถไฟ
มีบริการรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพง ไปฉะเชิงเทราทุกวัน วันละหลายเที่ยว สอบถามรายละเอียดโทร. 223-7010, 223-7020

มีบริการรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงไปฉะเชิงเทราทุกวันวันละ 11ขบวน เที่ยวแรก 05.55น. – เที่ยวสุดท้าย 18.25 น.ค่าโดยสาร 13บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร.1690,02220 4334,022204444 หรือ สถานีรถไฟ ฉะเชิงเทรา โทร.038511007หรือเว็บไซท์ www.railway.co.th

การเดินทางภายในของจังหวัดฉะเชิงเทรา
เมื่อมาถึงท่ารถโดยสารของจังหวัดฉะเชิงเทรานักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถสองแถวที่จอดอยู่ในบริเวณสถานีขนส่ง โดยมีรถโดยสารวิ่งไปตามเส้นทางสำคัญของสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ วัดหลวงพ่อโสธร ตลาดคลองสวน ตลาดดบ้านใหม่ นอกจากนี้ยังมีบริการรถตุ๊กๆซึ่งสามารถเหมาไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ได้

ระยะทางจากจังหวัดฉะเชิงเทราไปยังจังหวัดต่าง ๆ
จากจังหวัดฉะเชิงเทราสามารถเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ได้ คือ จังหวัดชลบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครนายก นอกจากนั้น ยังมีรถประจำทางจากจังหวัดต่าง ๆ ผ่านอีกด้วย คือ จังหวัดเชียงใหม่ แพร่ อุตรดิตย์ พิษณุโลก สระบุรี พะเยา เชียงราย ลพบุรี ระยอง ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย สุรินทร์ และศรีสะเกษ

tour map

แผนที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา

tour map chachoengsao

แผนที่จังหวัด จังหวัดฉะเชิงเทรา นิววิวทัวร์

tour map chachoengsao 2

แผนที่ตังเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา นิววิวทัวร์

tour map chachoengsao 3

แผนที่ท่องเที่ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา นิววิวทัวร์


tour weather

ภูมิอากาศ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ภูมิอากาศ
จังหวัดราชบุรี ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่าน เนื่องจากมีฝนตกในช่วงเดือนเมษายน ทำให้อากาศในช่วงฤดูร้อนไม่ร้อนมากนัก ปริมาณฝนรวม 1,397.4 ม. ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงสิ้นปี บริเวณความอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีอากาศเย็น ซึ่งปีนี้ อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 9.8 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2542

ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดฉะเชิงเทรามีลักษณะสภาพภูมิอากาศเป็นแบบเขตเมืองร้อน หรืออากาศร้อนชื้นแถบเส้นศูนย์สูตร
อุณหภูมิ จะสูงเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ในเดือนเมษายน จะร้อนที่สุด เดือนที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดคือเดือนธันวาคม

ส่วนฤดูกาลแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม โดยมีลมตะวันออก และลมฝ่ายใต้พัดผ่าน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย35 - 37 'C อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25 - 27 'C ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 200-330มิลลิเมตรซึ่งเป็นฤดูกาลที่เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวในระยะสั้น ๆ

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม โดยมีลมมรสุมตะวันตก เฉียงใต้พัดผ่านมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณเทือกเขาด้านอำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31 - 33 'C อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23 - 25 'C ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,000 - 1,200 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นฤดูกาลที่เหมาะแก่การทำนาและปลูกไม้ผล

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน อากาศเย็นและแห้ง อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 30 - 32 'C อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20 - 23 'C ปริมาณฝนตกเฉลี่ย 50 - 100 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นฤดูกาลที่เหมาะแก่การปลูกผักสวนครัว

ฝนที่ตกในจังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งเป็น 4 ชนิด
ฝนพาร้อน ซึ่งตกอย่างเด่นชัดในช่วงต้นหรือปลายฤดูฝน โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม เมษายนและต้นเดือนพฤษภาคม

ฝนภูเขา ฝนชนิดนี้จะตกในช่วงนี้จะตกในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน คือตั้ง แต่ปลายเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม

ฝนพายุหมุน เป็นฝนที่ตกเป็นครั้งคราวในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งปรากฏขึ้นบ่อยครั้ง ในช่วงปลายฤดูฝน

ฝนแนวอากาศ เป็นฝนที่ตกในจังหวัดฉะเชิงเทราไม่บ่อยครั้งนัก แต่ปรากฏในช่วงผลัด เปลี่ยนฤดู

ฝนภูเขาเป็นฝนที่ตกลงมาเห็นเด่นชัดมากในช่วงฤดูฝนของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในท้องที่อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม การกระจายของฝน ปริมาณน้ำฝนที่ตกตลอดปี ในช่วง 8 ปี คือระหว่าง  พ.ศ. 2532 - 2539 ปรากฏว่าเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนกันยายน ซึ่งมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมพายุหมุนพัดผ่าน เดือนที่มีฝนตกน้อย คือ เดือนธันวาคม เนื่องจากท้องที่อำเภอบางปะกง ติดฝั่งทะเลยาวถึง 12 กิโลเมตร จังหวัดฉะเชิงเทราจึงได้รับ อิทธิพลจากลมบก ลมทะเล และประกอบกับตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ด้วย ดังนั้นจึงมีฝนตกปริมาณพอเพียงตามฤดูกาล ความชื้นใกล้เคียงกันกับจังหวัดชายทะเลฝั่งตะวันออกด้วยกัน

ลมที่พัดผ่านอยู่ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดใกล้เคียง จะแตกต่างกันทั้งด้านความเร็ว และทิศทาง ซึ่งสามารถ แบ่งออกได้ 4 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ ลมประจำฤดู ลมประจำเวลา ลมประจำถิ่น และลมแปรปรวน

ทรัพยากร จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรที่สำคัญ ๆ ดังนี้

ทรัพยากรน้ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีแหล่งน้ำธรรมชาติ 3 ประเภทคือ
แหล่งน้ำจากน้ำฝน ฝนจะตกชุกในเขตภูเขาและที่ราบสูงทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด ในเขตอำเภอสนามชัยเขต ส่วนที่ติดต่อกับจังหวัดชลบุรีและจันทบุรี

แหล่งน้ำจากผิวดินหรือน้ำท่า ที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำบางปะกง ไหลผ่านอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์ และไหลลงสู่อ่าวไทยที่อำเภอบางปะกง นอกจากนี้ยังมีคลอง ได้แก่ คลองท่าลาดในเขตอำเภอพนมสารคาม คลองสียัด และคลองระบมในเขตอำเภอสนามชัยเขต และยังมีคลองซึ่งเชื่อมโยงติดต่อกับกรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการหลายแห่ง เช่น  คลองสำโรง คลองแสนแสบ คลองท่าไข่ คลองบางขนาก และคลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งเป็นคลองที่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญรองจากแม่น้ำบางปะกง

แหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล พื้นที่มีปริมาณน้ำใต้ดินมากจะอยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำบางปะกง ส่วนทางด้านตะวันออกมีปริมาณน้ำใต้ดินน้อย น้ำใต้ดินส่วนใหญ่มีคุณภาพไม่เหมาะสม ที่จะนำนำมาใช้ประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค หรือการเกษตร เนื่องจากน้ำมีความเค็มหรือไม่ก็เป็นน้ำกร่อย พื้นที่ที่พอจะนำน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์ได้บ้าง คือบางส่วนของอำเภอบางคล้า อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขตแต่ปริมาณน้ำมีน้อย

ทรัพยากรดิน ดินในจังหวัดฉะเชิงเทรา แบ่งตามความเหมาะสมในการปลูกพืชได้ดังนี้
เขตทำนา ได้แก่ พื้นที่ราบ ซึ่งลักษณะเป็นดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง - สูงเหมาะในการทำนาและยกร่อง ปลูกพืชผักและไม้ผลต่าง ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอ บางน้ำเปรี้ยว อำเภอบ้านโพธิ์ และบางส่วนของอำเภอบางปะกง อำเภอแปลงยาว อำเภอบางคล้า อำเภอพนมสารคาม อำเภอราชสาส์น และกิ่งอำเภอคลองเขื่อน

เขตปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ได้แก่ พื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งแม่น้ำบางปะกง เหมาะสมในการ ปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ลักษณะเป็นชุดดินตะกอน มีการทับถมของอินทรีย์วัตถุค่อนข้างสูง อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า และกิ่งอำเภอคลองเขื่อน

เขตปลูกพืชไร  เป็นพื้นที่ค่อนข้างสูง บริเวณเนินเขา เนื่องจากเป็นเขตป่าไม้ เดิม ลักษณะเป็นดินเหนียวปนลูกรัง ดินทราย หรือดินร่วมปนทราย สามารถปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นและพืชไร่ต่างๆ ไว้ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วต่าง ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ

ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ป่า 1,193 ตารางกิโลเมตร หรือ 745,625 ไร่ คิดเป็น 22.29 % ของพื้นที่จังหวัด โดยมีป่าชายเลน 4.83 ตารางกิโลเมตร หรือ 0.09 % ของพื้นที่จังหวัด และมีป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 1 แห่ง คือ ป่าแควระบมและป่าสียัด มีเนื้อที่ 1,753,125 ไร่ หรือ 2,805 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าสงวน 1,517,106.30 ไร่ หรือประมาณ 2,427.30 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ ต่อมาได้มีการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ของป่าแควระบมและป่าสียัด เป็นเขตพื้นที่ป่าที่เหมาะสมต่อการเกษตร เขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ และเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์

ทรัพยากรแร่ธาตุ จังหวัดฉะเชิงเทรา แร่ธาตุที่สำรวจพบ คือ แร่เหล็ก ทองคำ ศิลาแลง ทองแดง ซึ่งพบในปริมาณ ที่น้อย และยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์มากนัก

ทัวร์แนะนำ

  1. เหมากรุ๊ป Team Building
  2. เหมากรุ๊ป CSR
  3. เหมากรุ๊ป Team Building และ CSR
  4. เหมากรุ๊ปทัวร์ในประเทศ
  5. เหมากรุ๊ปทัวร์เอเชีย

ศูนย์รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน สำหรับในประเทศและโซนเอเชีย

นิววิวทัวร์ รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง

เชื่อถือได้

เราเป็นบริษัทที่ทำด้านการท่องเที่ยวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี มีลูกค้าต่างๆมากมาย ซึ่งเชื่อมั่นในคุณภาพของการดำเนินงานของเรา

ราคาคุ้มค่า

ทุกแพ็คเก็จทัวร์มีรายละเอียดและแผนงาน ที่ทำให้คุ้มค่ากับทุกบาทที่ลูกค้าเลือกเรา

บริการต่อเนื่อง

 เมื่อมีโปรโมชั่นใหม่ๆ หรือ ทัวร์น่าเทียว เราจะแจ้งให้ทราบตามส่วนติดต่อที่ระบุไว้ให้กับเรา 

ข้อมูลเพิ่มเติม

เราทีทีมงานที่พร้อมให้ข้อมูลกับลูกค้าทุกท่าน เพียงแค่โทรหาเรา

นิววิวทัวร์พาเที่ยว

กับผลงานการจัดทัวร์บางส่วนของความมุ่งมั่นในการให้บริการจากเราและการอุปการะคุณที่ดีของลูกค้าที่ผ่านมาโดยตลอด

คำยืนยันลูกค้า

คำยืนยัน ในคุณภาพและผลงานการจัดทัวร์จากลูกค้าบางส่วนของ นิววิวทัวร์