รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สุโขทัย

sri sad cha na lai historical park sukhothai sri sad cha na lai historical park sukhothai 1

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอศรีสัชนาลัย บนฝั่งขวาของแม่น้ำยม เดิมชื่อว่า "เมืองเชลียง" เปลี่ยนชื่อ เป็น "ศรีสัชนาลัย" ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเชลียง ในบริเวณ อุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน ก่อนช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัยนั้น มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึก ตำนาน และพงศาวดาร ยืนยัน ถึงการมีเมืองโบราณ 2 เมืองในลุ่มน้ำยมอยู่ก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย กับเมืองเชลียงหรือเมืองศรีสัชนาลัย ผู้ปกครองเขตแคว้นแถบนี้ของชุมชนชาวไทย ปรากฏนามว่า พ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นเจ้าเมืองสองเมือง(ครองสองนคร) คือ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เมื่อพ่อขุนศรีนาวถุมสิ้นพระชนม์ ขอมสบาดโขลญลำพงใช้กำลังยึดเมืองสุโขทัย ต่อมาพ่อขุนบางกลางหาว ผู้นำทัพชนชาวไทยกับ พ่อขุนผาเมือง โอรสองค์หนึ่งของพ่อขุนศรีนาวนำถุม และเป็นเจ้าเมืองราด ร่วมกันยึดที่มั่นที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองบางขลัง แล้วนำทัพกลับลงมายึดเมืองสุโขทัยกลับมาได้ พ่อขุนผาเมือง แม้จะเข้ายึดเมืองสุโขทัยได้ก่อน แต่ได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย โดยมีพระนามว่า ศรีอินทรปตินทราทิตย์ เรียกกันต่อมาในภายหลังว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ครองสุโขทัยแล้ว พระองค์พัฒนาฟื้นฟูบูรณะเมืองศรีสัชนาลัยในทุกๆด้าน โดยเฉพาะการทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เป็นสินค้าหลัก ส่วนด้านศาสนาพระองค์ได้ก่อสร้างเจดีย์พระบรมธาตุขึ้นพร้อมทั้งก่อกำแพงล้อม รอบกลางเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่า พระธาตุกลางเมืองที่พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้างนี้ น่าจะเป็นเจดีย์วัดช้างล้อมซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองศรีสัชนาลัย เมืองศรีสัชนาลัยมีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัยมาหลายชั่วกษัตริย์ แม้เมื่อสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในช่วงต้น ๆ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์พระร่วงก็คงได้รับเกียรติให้ปกครองดูแลเมืองศรีสัช นาลัยอยู่ตามเดิม และโบราณวัตถุอยู่มากมาย สำรวจค้นพบแล้ว 134 แห่ง ที่สำคัญๆ ก็ได้แก่

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง หรือวัดพระปรางค์
ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าศรีสัชนาลัย ลงไปทางด้านใต้ประมาณ 3 กม. สิ่งสำคัญภายในวัด มีพระปรางค์องค์ใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้าง 22.50 เมตร ด้านหน้าพระปรางค์มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้มประตูเข้าองค์ปรางค์ ซึ่งมีพระปรางค์องค์เล็กตั้งอยู่กลางห้อง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

วัดเจดีย์เจ็ดแถว
วัดเจดีย์เจ็ดแถวนี้ นับว่ามีความสวยงามมากกว่าวัดอื่นในเมืองสุโขทัย เพราะมีเจดีย์แบบต่างๆ กันมากมายเป็นศิลปะสุโขทัยแท้ก็มี เป็นศิลปะแบบศรีวิชัยผสมสุโขทัยก็มี นอกจากนี้ภายในเจดีย์บางองค์ยังมีภาพเขียนผนังอีกด้วย แต่ในปัจจุบันลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว

วัดช้างล้อม
อยู่ในเขตตัวเมืองศรีสัชนาลัย เป็นวัดสำคัญของเมือง มีเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่เป็นหลักของวัด ที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นยืนหันหลังชนผนังเจดีย์อยู่โดยรอบ จำนวน 39 เชือก และช้างที่อยู่ตาม มุมเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ ตกแต่งเป็นช้างทรงเครื่องตัวใหญ่สวยงามกว่าช้างเชือกอื่นๆ โดยรอบเหนือฐาน เจดีย์จะมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทุกซุ้ม

วัดนางพญา
เป็นวัดที่มีลวดลายปูนปั้นงดงามมาก ปรากฏอยู่บนซากผนังวิหารด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็น วิหารขนาดเจ็ดห้อง ภายในวิหารตามเสาทุกด้านมีเทพนมและลวดลายต่างๆ ทำด้วยสังคโลกไม่เคลือบ เจดีย์ของวัดก่อด้วยศิลาแลงสูงใหญ่ และมีสภาพสมบูรณ์รอบฐานเจดีย์ มีเสาโคมไฟโดยตลอด มีบันไดขึ้นไปบนเจดีย์

วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่
อยู่ไม่ห่างจากวัดเจดีย์เจ็ดแถวนัก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ สิ่งสำคัญของวัดนี้ก็คือ เจดีย์ทรงลังกา ที่ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ทำให้ดูแปลกตากว่าเจดีย์ทรงลังกาวัดอื่นๆ

วัดสวนแก้วอุทยานน้อย
หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า วัดสระแก้ว มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นหลักของวัด ด้านหน้าของซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูป ทางด้านทิศตะวันตกมีสระน้ำอยู่สระหนึ่งทำให้สันนิษฐานว่าวัดนี้คือ วัดแก้วราชประดิษฐานที่มีกล่าวถึงในพงศาวดารเหนือนั่นเอง

วัดเขาพนมเพลิง
ตั้งอยู่บนยอดเขาลูกเตี้ยๆ ของเมืองเก่าศรีสัชนาลัย สิ่งที่สำคัญของวัดนี้อยู่ที่ตัวพระเจดีย์ศิลาแลง และวิหารใหญ่ด้านหน้า ด้านหลังของเจดีย์มีมณฑปเล็กๆ หลังหนึ่งตั้งอยู่ ที่วิหารมีเสาศิลาแลงและ พระพุทธรูปซึ่งตั้งเป็นประธานแต่ได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พระประธานในวิหารประทับ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยศิลาแลงเป็นชั้นๆ นำมา ต่อกัน และตกแต่งพอกปูนภายนอกอีกทีหนึ่ง

วัดเขาสุวรรณคีรี
อยู่ทางทิศตะวันตก ห่างจากยอดเขาพนมเพลิง 200 เมตร และมีความสูงกว่ายอดเขาพนมเพลิง เล็กน้อย เป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ที่มีรูปเป็นองค์ระฆังคว่ำใหญ่โตและสูงมาก ฐานของเจดีย์ทำสูงขึ้น ไปถึง 5 ชั้น มีบันไดศิลาแลงเตี้ยๆ สำหรับเดินขึ้นไปบริเวณฐานของเจดีย์ ที่ด้านหลังของเจดีย์ใหญ่มีวิหารน้อยและเจดีย์ขนาดเล็กๆ และตรงกำแพงแก้วชั้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีรูปยักษ์ปูนปั้น ขนาดใหญ่ และรูปสิงห์ รูปปูนปั้นเหล่านี้ชำรุดและล้มอยู่กับพื้นดิน ลักษณะของรูปยักษ์คล้ายรูปยักษ์ วัดช้างล้อมมาก สันนิษฐานว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างวัดนี้

วัดป่ากระสา
ไม่ปรากษประวัติความเป็นมา ชื่อปัจจุบันเป็นชื่อที่คนรุ่นหลังเรียก เนื่องจากเคยมีบ่อกระสาขึ้นอยู่จำนวนมาก ภายนวัดประกอบด้วยเจดีย์ทรงระฆังตั้งอยู่บนฐานสูง ด้านหน้ามีวิหารก่อด้วยศิลาแลง มีผนังเจาะช่องแสงเป็นซี่ลูกกรง เจดีย์รายจำนวน 8 องค์ก่อด้วยศิลาแลง และตั้งเรียงรายล้อมรอบด้วยแท่นศิลาแลงสี่เหลี่ยมผืนผ้าปักเรียงชิดติดกันเป็นรั้วหรือกำแพงวัด มีประตูเข้าออกวัดทั้งสี่ด้าน

วัดหลักเมือง
ปรากฏในหนังสือพระราชนิพนธ์ "เที่ยวเมืองพระร่วง" ของสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ข้าพเจ้าเชื่อว่าไม่ใช่เป็นวัดในพุทธศาสนาเป็นแน่ และมิใช่โบสถ์พราหมณ์ แต่จะเกี่ยวกับศาลผีหรือเทวดาอันใดอันหนึ่ง จึงได้เล่าต่อไปว่าบางทีจะเป็นหลักเมือง" ภายหลังได้มีการขุดแต่งและบูระณะโบราณสถานแห่งนี้ พบหลักฐานว่า น่าจะเป็นวัดในพุทธศาสนาเช่นเดียวกับโบราณสถานอื่นๆ

วัดอุดมป่าสัก
โบราณสถานส่วนใหญ่สร้างด้วยอิฐ มีศิลาแลงปนแต่จำนวนน้อย หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับวัดที่อยู่ในแนวแกนหลักของเมืองประกอบด้วยวิหารโถง 7 ห้อง หลังคาทรงมะนิลา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย อาสนสงฆ์อยู่ทางด้านขวาของพระประธาน ด้านหลังวิหารมีกลุ่มเจดีย์ประธานและเจดีย์รายมีกำแพงล้อมรอบ เจดีย์ประธานมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ รอบเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายประจำมุมและประจำทิศ ขนาดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาว 3 เมตร รวม 8 องค์ นอกจากนี้ยังมีฐานเจดีย์ขนาดเล็กอยู่โดยรอบประมาณ 29 องค์ มีฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1 เมตร เท่ากันทุกองค์ โบราณสถานแห่งนี้ดำเนินการขุดแต่บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2830

ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์เตาสังคโลก (เตาทุเรียง)
ตั้งอยู่ที่บ้านเกาะน้อย อยู่เหนือเมืองศรีสัชนาลัยไปอีกประมาณ 4 กม. มีเตาเผาที่ขุดพบแล้วกว่า 500 เตา ในบริเวณยาวประมาณ 1 กม. ถือได้ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรมของเมืองศรีสัชนาลัยมีการขุดพบเครื่องสังคโลกทั้งในสภาพสมบูรณ์และแตกหักเป็นจำนวนมาก ลักษณะเตาเผาจะเป็น รูปยาวรีคล้ายประทุนเรือจ้างยาวประมาณ 7-8 เมตร

ศูนย์ศึกษาฯ ดังกล่าว ปัจจุบันมีอยู่ 2 อาคาร ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเตาที่ใช้เป็นที่ศึกษา มีหมายเลขเตา ที่ใช้เรียกในการศึกษา คือ เตาที่ 42 และเตาที่ 61 ภายในตัวอาคารจะมีการตั้งแสดงโบราณวัตถุ เอกสารทางวิชาการ ตลอดจนวิวัฒนาการเครื่องถ้วยสมัยโบราณให้นักท่องเที่ยวชมอีกด้วย โดยศูนย์ฯ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. และเวลา 13.00-16.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม คนไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 20 บาท

การเดินทาง
จากบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยไปทางทิศเหนือ ทางประตูหม้อไปถึง บ้านเกาะน้อยราว 5 กม. จะเห็นซากเตาเผาโบราณเรียงรายอยู่โดยทั่วไป หรือจากตัวอำเภอ ศรีสัชนาลัย ใช้เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1201 ลงมาที่บ้านเกาะน้อย ประมาณ 7 กม. จะเห็นอาคารศูนย์ฯ อยู่ทางซ้ายมือ

ทัวร์แนะนำ

  1. เหมากรุ๊ป Team Building
  2. เหมากรุ๊ป CSR
  3. เหมากรุ๊ป Team Building และ CSR
  4. เหมากรุ๊ปทัวร์ในประเทศ
  5. เหมากรุ๊ปทัวร์เอเชีย

ศูนย์รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน สำหรับในประเทศและโซนเอเชีย

นิววิวทัวร์ รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง

เชื่อถือได้

เราเป็นบริษัทที่ทำด้านการท่องเที่ยวมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี มีลูกค้าต่างๆมากมาย ซึ่งเชื่อมั่นในคุณภาพของการดำเนินงานของเรา

ราคาคุ้มค่า

ทุกแพ็คเก็จทัวร์มีรายละเอียดและแผนงาน ที่ทำให้คุ้มค่ากับทุกบาทที่ลูกค้าเลือกเรา

บริการต่อเนื่อง

 เมื่อมีโปรโมชั่นใหม่ๆ หรือ ทัวร์น่าเทียว เราจะแจ้งให้ทราบตามส่วนติดต่อที่ระบุไว้ให้กับเรา 

ข้อมูลเพิ่มเติม

เราทีทีมงานที่พร้อมให้ข้อมูลกับลูกค้าทุกท่าน เพียงแค่โทรหาเรา

นิววิวทัวร์พาเที่ยว

กับผลงานการจัดทัวร์บางส่วนของความมุ่งมั่นในการให้บริการจากเราและการอุปการะคุณที่ดีของลูกค้าที่ผ่านมาโดยตลอด

คำยืนยันลูกค้า

คำยืนยัน ในคุณภาพและผลงานการจัดทัวร์จากลูกค้าบางส่วนของ นิววิวทัวร์