รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี

tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani

วัดทุ่งศรีเมือง
มีพระอุโบสถสวยงาม เป็นสถาปัตยกรรมอีสานที่ได้รับอิทธิพล จากกรุงเทพฯ สร้างประมาณต้นสมัยรัชกาลที่ 3 ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่บ่งบอกถึง อารยะธรรมและวัฒนธรรมของคนอุบลในสมัยโบราณเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วนอกจากนี้ยังมีหอไตรกลางน้ำ สร้างด้วยไม้ มีลักษณะผสมระหว่างไทย พม่า และลาว ลักษณะอาคารเป็นแบบไทย เป็นเรือนฝาปะกน ขนาด 4 ห้อง เก็บตู้พระธรรมลงรักปิดทอง หลังคามีลักษณะเป็นศิลปะไทยผสมพม่า มีช่อฟ้าใบระกาแต่ หลังคาซ้อนกันหลายชั้น ส่วนลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้งสองด้าน เป็นลักษณะศิลปะแบบลาว เป็นสถาปัตยกรรมของอีสานที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด

มีเนื้อที่ 19 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา สันนิษฐานสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในยุคสมัยสมเด็จกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ได้ตกลงกับเจ้าของที่ดินหลายคน ยกที่ดิน (ที่ทำนา) ให้กับทางราชการ แรกๆ ชาวเมืองเรียกว่า "ทุ่งศรีเมือง" แต่เนื่องจากทุ่งแห่งนี้ เป็นที่รวมของการจัดงานมหกรรมใหญ่ๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานรัฐธรรมนูญ เป็นต้น และเป็นทุ่งประดับเมือง จึงเรียกว่า "ทุ่งศรีเมือง"

เจ้าคุณพระอริยาวงศาจารย์ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) แห่งวัดป่าแก้วมณีวัน คือวัดมณีวนาราม ในปัจจุบัน ท่านมีอัธยาศัยน้อมไปทางวิปัสสนากรรมมัฎฐาน ซึ่งท่านก็ได้มา เจริญสมณะธรรม อยู่พื้นหญ้า ป่าหว้าชายดงอู่ผึ่ง ชายเมืองอุบลราชธานี เพราะเป็นที่สงบสงัด จึงได้มาเจริญสมณะธรรมอยู่บ่อยๆ ที่นั่นคือ บริเวณวัดทุ่งศรีเมืองในปัจจุบันนั้นเอง ภายหลังลูกศิษย์ของท่าน ก็ได้ตามออกมาเจริญกรรมัฏฐานเป็นจำนวนมาก

ต่อมาภายหลังจึงได้สร้างหอพระพุทธบาทขึ้น ณ ท่ามกลางบริเวณที่เจริญสมณะธรรม โดยมีจุดประสงค์ที่จะจำลองพระพุทธบาท จำลองให้คนได้กราบไหว้ของพุทธบริษัทที่อุบลราชธานี ไม่ต้องเดินทางไปที่สระบุรี โดยให้ครูช่างชาวเวียงจันทน์ เป็นช่างดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งมีความกว้าง 6 เมตร ยาว 13 เมตร หลังคาทรงไทยศิลปะเวียงจันทร์ ต่อมาได้พูนดินบริเวณลานหอพระพุทธบาท เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในฤดูฝน โดยได้สร้างเป็นเขื่อนกำแพงแก้วหอพระพุทธบาท มีสองชั้นรอบๆพระพุทธบาท ขนาดกว้าง 23 เมตร ยาว 32 เมตร พูนให้สูงเหมือนเป็นฐานรองรับหอพระพุทธบาท โดยได้ขุดเอาดินมาจาดสระด้านทิศเหนือ ซึ่งมีขนาดกว้าง 13 เมตร ยาว 24 เมตร ลึก 3 เมตร ซึ่งสระนี้ ต่อมาภายหลังได้สร้างหอไตรไว้กลางน้ำ จึงได้ ซื่อว่า "สระหอไตร"

เมื่อขุดหอไตรแล้ว ปรากฏว่า ดินที่จะนำมาพูนหอพระบาทยังไม่พอ ก็ได้ขุดสระอีก 1 สระทางด้านทิศตะวันตกของวัด สระนี้เรียกว่า "สระหนองหมากแซว" เพราะมีต้นหมากแซวใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ข้างสระ ซึ่งสระนี้ขุดลึกประมาณ 3 เมตร กว้างและยาวพอๆ กับสระหอไตร

tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani

เมื่อนำดินจากทั้ง 2 สระมาพูน จนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปลายสมัยหลวงปู่พระครูวิโรจน์รัตนโนบล เป็นจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง ได้ปูกระเบื้องซีเมนต์ที่ลานหอพระบาทและได้สร้างกำแพงแก้ว ล้อมรอบที่ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ, ใต้และทิศตะวันตก ส่วนทางทิศตะวันออก ได้สร้างภายหลัง และทางด้านทิศตะวันออก พระครูราชโนบล ได้สร้างให้มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะเป็นทางเข้าและอยู่หน้าหอพระบาท ซึ่งหอพระบาทนี้มีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 12 เมตร ซึ่งได้จำลองมาจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

เมื่อสร้างหอพระพุทธบาทสร้างแล้ว ก็ได้สั่งให้ญาคูช่าง สร้างหอไตรที่สระกลางน้ำ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ไม่ให้แห้งและกรอบมากเกินไป เพราะอากาศสดชื่น มีไอน้ำประสม และเพื่อกันปลวก มิให้ทำลายพระไตยปิกฎให้เสียหาย แต่ปัจจุบัน ก่อนที่พระราชรัตนโนบลมาปกครองวัด พระไตรปิฎกได้สูญหายไปแล้ว

เมื่อได้สร้างหอพระพุทธบาทและหอไตรกลางน้ำเสร็จแล้ว เพื่อให้มีคนเฝ้ารักษาวัด คือได้สร้างกุฏิเป็นที่อยู่ของพระภิกษุและสามเณรต่อไป เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ปลายทุ่ง ท่ามกลางเมืองอุบลราชธานี จึงได้ชื่อว่า ทุ่งศรีเมือง เป็นเหตุให้ทุ่งนาท่ามกลางเมืองอุบลราชธานี ได้ชื่อว่าทุ่งศรีเมืองตามไปด้วย

tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani

เมื่อ พ.ศ.2458 พระครูวจีสุนทร เจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นเจ้าอาวาส ได้พาพระเณร ไปทำพลับพลาตัดเสาศาลาการเปรียญที่คำน้ำแซบ วัดวารินทรารามในปัจจุบัน สมัยนั้นมีแต่ป่า ยังไม่มีบ้านเรือนคน และค่ายทหาร แต่เมื่อตัดเสาได้แล้ว ก็สร้างล้อลากลงแม่น้ำมูลข้ามมาสร้างศาลาการเปรียญ โดยในวันไหนมีการล่องมูล จะให้ชาวบ้านที่หาปลา หรือคนที่อยู่แถวนั้นมาช่วย เพราะเสาต้นใหญ่มาก บางวันต้องใช้กลองยาวตีเร้าใจ เพื่อให้จังหวะครั้นลากเสามาถึงวัดแล้ว ก็จัดแจงตกแต่งศาลาการเปรียญ ครั้นเตรียมการเสร็จแล้ว ก็ได้ป่าวประกาศเชิญชวนทำบุญปลูกศาลาการเปรียญ ยกศาลาและสร้างต่อจนเสร็จ

เมื่อสร้างศาลาการเปรียญเสร็จแล้ว วัดเหนือท่าร้าง ทางราชการจะสร้างเป็นสถานีอนามัย พระเจ้าใหญ่ในศาลาการเปรียญวัดเหนือท่า ไม่มีพระสงฆ์อยู่ดูแล พระครูวิโรจน์รัตโนบล จึงได้นำญาติโยมไปอาราธนา มาเป็นพระประธานที่ศาลาการเปรียญวัดทุ่งศรีเมือง

tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani

สิ่งก่อสร้างสำคัญในวัดทุ่งศรีเมือง
พระอุโบสถ หรือหอพระพุทธบาท
มักจะถูกเรียกว่า หอพระพุทธบาท เนื่องจากสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาฏิโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลในขณะนั้น ได้จำลองการสร้างมาจากวัดสระเกศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ โดยมีช่างจากเวียงจันทน์เป็นช่างสำคัญในการสร้าง

ลักษณะของหอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน ระหว่างศาสนาคารอีสานพื้นบ้านกับเมืองหลวง คือโครงสร้างช่วงล่าง เช่น ฐานเอวขัน บันไดจระเข้ เฉลียงด้านหน้าคงเอกลักษณ์ของสิมอีสานไว้แต่โครงสร้างช่วงบน หลังคาทรงจั่วมีชั้นลด 2 ชั้น รวยลำยองมีช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ทวยและซุ้มประตูหน้าต่างแบบเมืองหลวง ส่วนลวดลายหน้าบันสาหร่ายรวงผึ้ง มีลักษณะเป็นแบบอีสานผสมกับเมืองหลวงเหมือนสิมวัดแจ้ง

ในสมัยพระครูวิโรจน์รัตนโนบล เป็นเจ้าอาวาส ได้มีการซ่อมหอพระบาทครั้งหนึ่ง โดยการเอาเสามายันขื่อ ซ่อมคร่าวและวาดลวดลายที่เสา ด้านหลังมีการก่ออิฐเป็นอาคารเสริมออกมายันไว้ เพราะกลัวอาคารจะโย้ออกมา

ต่อมา ปี 2503 มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ภายในผนังมีจิตรกรรมผาผนังที่มีคุณค่า โดยเป็นจิตรกรรมฝาผนัง เขียนเป็นภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร และปรินิพพาน ภาพชาดก ได้แก่ ปาจิตต์กุมารชาดก และมหาเวชสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ ภาพจิตกรรมเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเจริญของบ้านเมือง การประกอบอาชีพ การละเล่น พิธีกรรม การแต่งกาย ทรงผม นอกจากภาพชาวบ้านพื้นถิ่นอีสานและคนลาวแล้ว ยังแสดงภาพชาวตางชาติ ทั้งจีน ฝรั่ง แขก ซึ่งเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยสมัยนี้อีกด้วย

tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani

หอไตรกลางน้ำ วัดทุ่งศรีเมือง
สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าพรหมราชวงศา (กุทองสุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ 3 ตามเอกสารระบุว่า ท่านเจ้าคุณอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) เป็นผู้อำนวยการสร้าง โดยวัตถุประสงค์ในการสร้างคือ เพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฏก ป้องกันไม่ให้ มดปลวกไปทำลาย ซึ่งช่างที่มีชื่อเป็นช่างควบคุมการก่อสร้าง เท่าที่มีชื่อระบุไว้ ได้แก่ ญาครูช่าง ซึ่งเป็นช่างหลวงจากราชสำนักร่วมก่อสร้างด้วย

ลักษณะของหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง เป็นหอน้ำ สร้างอยู่กลางสระน้ำ เป็นอาคารเรือนไม้ขนาดกว้าง 8.20 เมตร ยาว 9.85 เมตร สูงจากระดับพื้นน้ำถึงถึงยอดหลังคาประมาณ 10 เมตร แปลน รูป สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยกพื้นสูงใต้ถุนโปร่ง ผนังเป็นแป้นฝาไม้แบบเรียบ เครื่องสับฝาแบบฝาประกนอย่างเรือนไทยภาคกลาง ลูกฝักรองตีนช้างแกะสลักลายประตูเข้าหอไตร อยู่ทางทิศตะวันออกประตูเดียว มีหน้าต่างโดยรอบทั้งหมด 14 ช่อง หลังคาทรงจั่วมีปั้นกรอบ ปีกนอกกว้าง 2 ชั้น (คล้ายสถาปัตยกรรมเชียงรุ้ง) ส่วนบนหลังคาทรงแบบโบสถ์ไทยมีชั้นลด 2 ชั้น ช่อฟ้ารวยลำยอง ใบระกา นาคสะดุ้งและหางหงส์แบบภาคกลาง หน้าบันไม้จำหลักลายแบบไทย(ลายดอก) พุดตาน,ลายกระจังรวน,ลายประจำยามก้ามปู ฯลฯ เดิมมุงแป้นไม้มีทวยสลักด้วยไม้ค้ำยันชายคาปีกนอกโดยรอบจำนวน 19 ตัว 2 ตัว ด้านด้านหน้าข้างประตูเข้า สลักหัวทวยเป็นเทพพนมอีก 17 ตัวเป็นรูปพญานาค

ภายในตัวเรือนชั้นใน ตรงกลางกั้นผนังเป็นห้องสำหรับเก็บพระไตรปิฎก มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ทำประตูหน้าต่างล้อกับภายนอก ผนังห้องด้านนอกตกแต่งลวดลายไทย ลงรักปิดทองแบบที่เรียกว่า "ปิดทองลายฉลุ"(ลายแบบปิด)โดยทำแบบพิมพ์ลายลุ (Stencil) จากการรุกระดาษสาให้เป็นตัวลายหรือตัวภาพ แล้วนำไปทาบบนผนังที่เตรียมลงพื้นรักชาดไว้เรียบร้อยแล้ว ลงรักเช็ดตามรอยปรุ จากนั้นจึงปิดแผ่นทองคำเปลวตามลายปรุที่ลงรักเช็ดไว้ เมื่อเสร็จแล้วจะปรากฏเป็นลายพลายคำสุกอร่ามบนพื้นแดงชาด ทำคล้ายมีเรือนหลังเล็กๆสร้างประตู 1 บาน และหน้าต่าง 4 กรอบหน้าต่างสลักลวดลาย ผนังและบานประตูหน้าต่างสลักลวดลาย ผนังและบานประตูหน้าต่าง เขียนลายลงรักปิดทอง โดยรอบบานประตูเขียนรูปทวารบาล

tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani

หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง ได้รับการบูรณะครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2508 ในสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล ด้วยการหาเสาไม้เนื้อแข็ง มาค้ำยันช่วยแรงเสาเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมผุกร่อน ต่อมา พ.ศ.2517 กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนเป็นปูนแทน เสริมฐานเสาด้วยปูนให้มั่นคงมากขึ้น เมื่อทำการอนุรักษ์เรียบร้อยแล้ว ในปี พ.ศ.2527 อาคารหลังนี้ ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามมงกุฎราชกุมารี

ปัจจุบันนี้ หอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรีเมืองแห่งนี้ เป็นที่เก็บหนังสือใบลานประเภทต่างๆ ไม่เฉพาะหนังสือธรรมะเท่านั้น หากยังมีหนังสือที่บันทึกประวัติศาสตร์ และตำนานของบ้านเมืองเอาไว้อีกด้วย ซึ่งหนังสือเหล่านี้เป็นแหล่งค้นคว้าสำคัญที่ทำให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในหลายๆ ด้าน เช่น ความสัมพันธ์กับชุมชนอื่นและความเชื่อ

นอกจากนี้ภายในทุ่งศรีเมืองยังมี สถานที่น่าสนใจที่สำคัญ คือ
ศาลหลักเมือง
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทุ่งศรีเมือง เป็นสถานที่สักการะของชาวเมืองและผู้มาเยี่ยมเยือนซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 เปิดระหว่างเวลา 05.00-19.00 น.

อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีปกครองเมืองระหว่าง พ.ศ. 2321-2338

ปฏิมากรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ

อนุสาวรีย์แห่งความดี เป็นอนุสาวรีย์ที่เชลยศึกชาวต่างประเทศในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาปราณี และคุณงามความดีของชาวเมืองอุบลราชธานี

ประติมากรรมร่วมใจก้าวไปข้างหน้า สร้างขึ้นตามโครงการปฏิมากรรมกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเยาวชน ซึ่งแสดงถึงความสมานฉันท์แห่งความเป็นพี่น้องระหว่าง 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว เขมร และเวียดนาม

tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani

ทุ่งศรีเมืองอุบลราชธานีใช้ประโยชน์ส่วนรวมเช่นเดียวกับสนามหลวงในกรุงเทพมหานคร กล่าวคือ สนามหลวงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทุ่งพระเมรุ เพราะเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ชั้นสูง ส่วนทุ่งศรีเมืองอุบลราชธานีก็เป็นที่ประกอบพิธีศพเจ้าเมืองและอาญาสี่ ตามประเพณีการทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ หรือนกหัสไดลิงค์ ตามภาษาถิ่น

tour-wat-thung-si-muang-ubon-ratchathani

ไขข้อพิศวง พระเจ้าใหญ่องค์เงิน วัดทุ่งศรีเมือง
พระเจ้าใหญ่องค์เงิน ที่ประดิษฐานอยู่ที่หอพระบาท วัดทุ่งศรีเมือง ถูกปูดปิดทับและทาทองทั่วทั้งองค์ มานานกว่าสองร้อยปี จนภายหลังพบว่าทั้งองค์เป็นเนื้อเงิน จึงเป็นที่มาของการไขปริศนาว่าแท้จริงแล้ว มีความเป็นมาอย่างไร

ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่บริเวณถนนหลวง ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทางทิศตะวันออกของทุ่งศรีเมือง

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1708 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์