ถ้ำพระ อุบลราชธานี
ถ้ำพระ หรือถ้ำภูหมาใน หรือถ้ำปราสาท
เล่าขานว่า ในถ้ำมีพระพุทธรูปทอง เงิน และไม้ อายุราว 200-300 ปี แต่ในปัจจุบันได้หายไปแล้ว ศิลาจารึกตัวจริง ได้นำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ปัจจุบัน กรมศิลปากรได้ปรับปรุงสถานที่ และจำลองแท่งศิลาจารึกประดิษฐานไว้แทน และบริเวณนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ชมทิวทัศน์เหนือเขื่อนปากมูลอีกด้วย
ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 500 เมตร ทางเดินลาดชัน เป็นชะง่อนผายื่นออกจากฝั่งแม่น้ำมูล ถ้ำกว้าง 4 เมตร ลึก 15 เมตร ภายในถ้ำ พบศิลาจารึกและแท่นศิวลึงค์ (ฐานโยนี) อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 สมัยพระเจ้าศรีมเหนทรวรมัน (เจ้าชายจิตรเสน) เป็นเนินดินก่อหินทรายล้อมรอบ ตรงกลางปักแท่งหินทรายสีเทาแกมชมพู เป็นแท่งสี่เหลี่ยวจัตุรัส กว้าง 0.38 เมตร สูง 1.47 เมตร ส่วนยอดลักษณะคล้ายเสมา มีจารึกด้านเดียว จำนวน 6 บรรทัด ในรูปอักษรปัลลวะภาษาสันสฤต กล่าวถึงเจ้าชายจิตรเสน กษัตริย์เจนละ ผู้มีชัยชนะเหนือดินแดนปากน้ำมูล