รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ลาว

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์

ตั้งอยู่ห่างจากวัดชัยสมบูรณ์ 500 เมตร เวลาเปิด 08.00- 12.00 น. และ 13.00-16.00 น. พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในสะหวันนะเขต แสดงร่องรอยการปรากฏของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และความสามรถของนักโบราณคดีชาวลาวที่ร่วมกับนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสขุดหาร่องรอยและหลักฐานไว้ได้มากมาย

จุดเด่นที่น่าชมคือ การค้นพบกระดูกและรอยเท้าไดโนเสาร์ 2 ประเภท 4 สายพันธุ์ คือประเภทกินเนื้อ 1 สายพันธุ์ ประเภทกินพืช 3 สายพันธุ์ โดยร่องรอยกระดูกไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดที่ถูกค้นพบที่สะหวันนะเขตนั้นเป็นส่วนหางของไดโนเสาร์พันธุ์ Saltasaurus ค้นพบกระดูกสมบูรณ์ครบทั้งหางและมีตู้กระดูกอีกกว่า 10 ตู้เก็บชิ้นส่วนกระดูกไดโนเสาร์ ซากก้อนหินทองคำ ทองแดง หินกล้า ที่ถูกค้นพบที่บ่อขุดหินแขวงสะหวันนะเขต ฟอสซิลหินรูปหอย ปลา และเต่าโบราณ ที่น่าสนใจมาก

นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนศีรษะและฟันของสัตว์ดึกดำบรรพ์ลักษณะคล้ายกิ้งก่ายักษ์เป็ฯสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เกิดก่อนยุคสมัยของไดโนเสาร์จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ด้วย

พิพิธภัณฑ์แขวงสะหวันนะเขต ลาว

พิพิธภัณฑ์แขวงสะหวันนะเขต (Savannakhet Provincial Museum)

เป็นพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในตึกสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส อยู่ห่างจากด่านศุลกากรสะหวันนะเขตไปทางทิศใต้ 3 กิโลเมตร อยู่ใกล้กับโรงพยาบาลประจำแขวง เวลาเปิด วันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 08.00-12.00 น. และ 14.00-16.00 น. พิพิธภัณฑ์แขวงสะหวันนะเขตนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในตัวตึกสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส ภายในอาคารมีเรื่องราวและเหตุการณ์เกี่ยวกับสงครามปลดปล่อยและสงครามอินโดจีน

จัดแสดงเรื่องราวและเหตุการณ์เกี่ยวกับสงครามปลดปล่อยและสงครามอินโดจีน บอกเล่าเรื่องราวอดีตแห่งการต่อสู้ของวีรชนลาวที่ร่วมกันต่อสู้ขับไล่ญี่ปุ่น ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังมีกระทะและโอ่งทองคำ ที่ถูกค้นพบในสมัยอดีตมาตั้งโชว์ในตู้กระจก รวมไปถึงเส้นทางโฮจิมินห์แสดงความเป็นพี่น้องกันระหว่างลาวกับเวียดนามที่ร่วมกันต่อสู้สงคราม ตลอดจนตัวอย่างอาวุธยุทธโธปกรณ์ให้ชมอีกด้วย ถัดมาภายนอกมีซากปืนโบราณใหญ่ 4 อัน และซากเครื่องบินรบลำเล็ก 1 ลำ หันหน้าออกสู่แม่น้ำโขงคล้ายกับป้อมปืนต่อสู้สมัยสงครามอินโดจีนและสงครามปลดปล่อยประเทศจากฝรั่งเศส

พระธาตุศรีโคตรบอง ลาว

พะทาดสีโคดตะบอง หรือพระธาตุศรีโคตรบอง (Pha That Sikhottabong)

หรือที่รู้จักในชื่อว่า พะทาดเมืองคา เป็นพระธาตุสำคัญแห่งหนึ่งของลาวว ตั้งอยู่ทางใต้ของเมืองท่าแขก 8 กิโลเมตร มองเห็นได้จากฝั่งไทย ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านองค์พระธาตุสร้างโดยพระเจ้านันทเสนแห่งเมืองสีโคตะบูน ได้รับการบูรณะครั้งแรกในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในวิหารมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งเจ้าอนุวงศ์โปรดให้สร้างไว้เทือกเขาหินปูนริมแม่นํ้าเซบางไฟใกล้เมืองมหาไซ มีถํ้าสวยงามหลายถํ้า ทางเข้าอยู่บนทางหลวงหมายเลข 12 จากท่าแขก - มหาไซ ระหว่างกิโลเมตรที่ 8 - 16

พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ลาว

พระราชานุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช

ในท่าประทับนั่ง ประดิษฐานอยู่ตรงข้ามพระธาตุหลวง
อนุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงเป็นมหาราชผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ลาว ทรงครองราชย์ร่วมสมัยกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยาและพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า มีพระราชมารดาคือพระนางยอดคำทิพย์ ราชธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่

ระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๙๐-๒๐๙๔ พระองค์ทรงครองบัลลังก์ทั้งล้านนาและล้านช้าง เป็นยุคที่ศิลปวัฒนธรรมระหว่างล้านนาและล้านช้างเกิดการผสมผสานแลกเปลี่ยนกันอย่างมาก ในยุคของพระองค์ล้านช้างและกรุงศรีอยุธยาเป็นพันธมิตรกันอย่างแนบแน่น มีการสร้างพระธาตุศรีสองรักขึ้น ณ เขตแดนระหว่างสองอาณาจักร ปัจจุบันอยู่ในอำิเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

พระธาตุเซียงตึง ลาว

พระธาตุเซียงตึง (That Xieng Tung)

พระธาตุเชียงตึง ตั้งอยู่บนภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมือง เป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมสูง 10 เมตร ตั้งอยู่บนเนินเขาศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา-ล้านช้าง ทุกปีในวันเพ็ญเดือน 12 จันทรคติ ชาวเมืองจะจัดงานฉลองบุญขึ้นธาตุ จัดเป็นงานใหญ่ประจำปี เหมือนกับงานฉลองพระธาตุหลวงนครเวียงจันทน์ที่จัดในเวลาเดียวกัน

ผาทอ ลาว

ผาทอ

บนเนินเขาสูง 200 เมตร ห่างจากท่าเรือท่าด่านประมาณ 3 กิโลเมตร ทางขึ้นวัดอยู่ห่างจากท่าเรือเร็วของลาวประมาณ 100 เมตร ภายในบริเวณวัดมีพระอุโบสถขนาดกลาง เป็นศิลปกรรมแบบลาว ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ ใกล้กับพระอุโบสถมีพระธาตุตั้งอยู่หันหน้ามาทางฝั่งไทย ชาวลาวเล่าว่าทุกๆวันขึ้น 15 ค่ำ จะมีแสงสีต่างๆพวยพุ่งขึ้นมาจากองค์พระธาตุ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากฝั่งไทย

ป่าสงวนภูช้างแห ลาว

ป่าสะหงวนพูซ้างแฮ หรือป่าสงวนภูช้างแห

รัฐบาลสวีเดนร่วมกับกรมป่าไม้ลาวเป็นผู้จัดนำเที่ยวบริเวณนี้เพียงรายเดียว ด้วยรูปแบบผสมระหว่างการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้แก่ การเดินป่า ปีนเขา และโฮมสเตย์เข้าพักในบ้านของชนกลุ่มน้อยท้องถิ่นเพื่อสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาอย่างใกล้ชิด

ติดต่อสอบถามรายละเอียดและจองได้ที่ห้องอาหารลาว - ปารีส

ปากลาย ลาว

ปากลาย (Pak Lai)

ชุมชนเล็กๆ ริมฝั่งแม่นํ้าที่สงบเงียบน่าอยู่ มีอาคารเก่าแบบอาณานิคมฝรั่งเศสปะปนอยู่กับบ้านเรือนไม้ของชาวบ้าน ปากลายเป็นเมืองท่าแวะพักเรือโดยสารที่สำคัญระหว่างเส้นทางเดินเรือห้วยซาย - เวียงจันทน์ มีที่พักแบบเกสต์เฮาส์และร้านอาหารหลายแห่ง

ปากแม่นํ้าอู ลาว

ปากแม่นํ้าอู

จากหลวงพระบางไปตามแม่นํ้าโขงประมาณ 40 กิโลเมตร มีถํ้าบนหน้าผาหินปูน 2 ถํ้า เรียกว่า ถํ้าติ่ง ตามประวัติว่าเมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับจากเชียงใหม่ โปรดให้ก่อสร้างตกแต่งถํ้าและนำพระพุทธรูปมาประดิษฐานเป็นอนุสรณ์แห่งสัมพันธไมตรีระหว่างล้านช้างหลวงพระบางกับล้านช้างเชียงใหม่ ต่อมาทุกๆ วันปีใหม่ลาว ชาวหลวงพระบางจะนำพระพุทธรูปมาไว้ในถํ้า ถือว่าเป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้ถํ้าทั้ง 2 มีพระพุทธรูป หลากขนาดและชนิด ทั้งพระพุทธรูปไม้ ปูนปั้น และสำริด แออัดเต็มไปหมด ระหว่างทาง ไปยังถํ้าติ่งมีจุดท่องเที่ยวที่น่าแวะ คือ บ้านซ่างไห(บ้านช่างไห) อยู่ริมแม่นํ้าโขง ชาวบ้านที่นี่ต้มเหล้าจากข้าวเหนียวขาวและแดง กลิ่นหอม รสออกหวาน และดีกรีสูง ราคาขวดละประมาณ 100 บาท บ้านถิ่นโฮง จากการสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ได้พบถํ้าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปเกือบ 8,000 ปี เช่น เครื่องมือทำด้วยหิน สำริด และโลหะ เครื่องปั้นดินเผา เศษผ้า และกะโหลกมนุษย์

การเดินทาง : มีเรือเช่าเหมาลำที่ท่าเรือหลังพิพิธภัณฑ์พระราชวัง เรือเร็ว (สปีดโบต) จากท่าเรือบ้านดอน หรือจะนั่งรถมาลงที่บ้านซ่างไห บ้านปากอู และนั่งเรือข้ามฟากไปยังถํ้า

ปากแบ่ง ลาว

ปากแบ่ง (Pakbeng)

หมู่บ้านขนาดใหญ่ ชุมทางทางนํ้าที่สำคัญของแม่นํ้าโขง อยู่กึ่งกลางระหว่างเส้นทางเรือหลวงพระบาง - ห้วยซาย แขวงบ่อแก้ว และเส้นทางเรือไปยังแขวงอุดมไซและหลวงนํ้าทาบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นไม้ปลูกอยู่ตามชายเขาที่ลาดลงสู่แม่นํ้าโขง ใกล้ท่าเรือเป็นแหล่งรวมร้านค้าและห้องอาหาร ในหมู่บ้านมีวัดเก่าสร้างตั้งแต่ยุคอาณนิคมคือ วัดสินจองแจ้งที่มีพระพุทธรูปหลากสมัยและรูปปั้นผู้ชายจมูกโตไว้หนวด เข้าใจว่าเป็นคนฝรั่งเศสไม่ก็ฮอลันดาที่เข้ามาในลาวรุ่นแรกๆ

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 918 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์