กุฏิทรงไทย นครศรีธรรมราช
กุฏิทรงไทย
กุฏิทรงไทย กุฏิทรงไทย หรือ กุฎิร้อยปี ตั้งอยู่ในวัดวังตะวันตก ริมถนนราชดำเนิน ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อครั้งเจ้าจอมมารดาปรางประทับอยู่ที่วังตะวันออก โปรดให้ปรับปรุงป่าขี้แรดตรงข้ามกับวังตะวันออกให้เป็นอุทยานวังตะวันตก
ครั้นเจ้าจอมมารดาปรางสิ้นชีพิตักษัยลง เจ้าพระยานคร (น้อย) ผู้บุตรได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ปลงพระศพ และสร้างขึ้นใหม่ให้เป็นวัดวังตะวันตกคู่กับวังตะวันออก ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2431 พระครูกาชาด (ย่อง) พร้อมด้วยสานุศิษย์ได้สร้างกุฎิขึ้นหมู่หนึ่ง ด้วยประสงค์เพื่อ “เปลื้องธุระสงฆ์ที่วังวนด้วยจากฟากฝา แลจะได้อยู่อาไสยเอาเรียนพระธรรม์บำรุงพุทธศาสนาให้จิรัง”
โดยใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 13 ปี เป็นกุฎิไม้ทรงไทยเรือนเครื่องสับ 3 หลัง มีหลังคาจั่ว แต่ละหลังคาคลุมเชื่อมต่อกัน ตัวเรือนฝาปะกน ตามประตู หน้าต่างและช่องลม ประดับด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองนคร ปี พ.ศ. 2535
สมาคมสถาปนิกสยามคัดเลือกกุฏิวัดวังตะวันตกให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทปูชนียสถานและวัดวาอาราม