รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

ศาลหลักเมือง อุบลราชธานี

tour-city-pillar-shrine-ubon-ratchathani

ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี
ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี ตั้งอยู่ บนถนนศรีณรงค์ ทางทิศใต้ของทุ่งศรีเมือง และอยู่ทางทิศเหนือของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เริ่มการก่อสร้างเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2515 และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2519

แต่เดิมนับตั้งแต่สร้างเมืองอุบลราชธานีมา ยังไม่มีการตั้งศาลหลักเมือง จนมาถึงสมัยพลตำรวจตรีวิเชียร ศรีมันตร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีในสมัยนั้น ได้มีโอกาสกราบนมัสการเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร ในฐานะที่สมเด็จท่านเป็นพระสงฆ์ผู้ใหญ่ชาวอุบล ซึ่งเป็นที่เคารพโดยทั่วไป เพื่อปรึกษาหารือว่า "จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดใหญ่หัวเมืองเอกมาตั้งแต่อดีตกาล มีชื่อ "ราชธานี" เพียงแห่งเดียว มีความเจริญรุ่งเรืองมานาน แต่ยังไม่มีการยกเสาหลักเมืองให้เป็นมิ่งขวัญแก่ประชาราษฎร สำหรับยึดถือเป็นหลักชัยทางจิตใจ ให้มีความมั่นคง เชื่อในหลักบ้านหลักเมือง เป็นการผดุงกำลังใจให้แน่วแน่ในการดำรงชีพ โดยอานุภาพของหลักเมือง จะเป็นหลักชัยให้ประชาราษฎรในบ้านเมืองอุบลฯ อยู่เย็นเป็นสุข รุ่งเรืองสถาพรตลอดกาล จึงเห็นสมควรสร้างศาลหลักเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ณ ที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ กลางเมืองอุบลราชธานี"

tour-city-pillar-shrine-ubon-ratchathani tour-city-pillar-shrine-ubon-ratchathani tour-city-pillar-shrine-ubon-ratchathani

เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ พิจารณาแล้วก็ไม่ขัดข้อง แต่อยากให้สอบถามชาวอุบลส่วนใหญ่ก่อน เนื่องจากไม่อยากให้เกิดความขัดแย้งกันในภายหลัง

ต่อมาเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ พร้อมแล้ว จึงเลือกตำแหน่งที่ตั้งเสาหลักเมือง อยู่ที่ด้านทิศใต้ของทุ่งศรีเมือง และด้านทิศเหนือของศาลากลางจังหวัด (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี) กำหนดวันวางศิลาฤกษ์ศาลหลักเมือง วันที่ 27 สิงหาคม 2515 โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็นผู้ให้ฤกษ์และเป็นเดินทางมาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ด้วย ส่วนเสาหลักเมืองนั้น กรมศิลปากร ได้ออกแบบเป็นยอดบัวตูม โดยใช้ไม้ราชพฤกษ์

tour-city-pillar-shrine-ubon-ratchathani tour-city-pillar-shrine-ubon-ratchathani tour-city-pillar-shrine-ubon-ratchathani

เมื่อการก่อสร้างศาลหลักเมืองอุบลราชธานีเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว นายเดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยนั้น ได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินมา ทรงประกอบพิธีเปิด ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2519

เนื่องจากเป็นการตั้งเสาหลักเมืองสมัยใหม่ จึงไม่มีการเอาใครใส่ลงไปในหลุมเฝ้าเมือง แต่มีการอัญเชิญวิญญาณ "เสด็จเจ้าหอคำ" ซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ชั้นสูง หรือตาทวดของเจ้าคำผง เข้าสิงสถิตย์หลักเมืองอุบล แต่พิธีนี้ก็พึ่งจะทำเมื่อปี 2531 สมัยเรือตรีดนัย เกตุสิริ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

tour-city-pillar-shrine-ubon-ratchathani tour-city-pillar-shrine-ubon-ratchathani

ต่อจากนั้น ทุกวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 7 ของทุกปี (เดือน 7 เป็นเดือนทำบุญซำฮะ หรือบุญบูชาบรรพบุรุษในฮีตสิบสอง) เทศบาลเมืองอุบลราชธานีร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดพิธีบวงสรวงศาลหลักเมืองเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ทุกวันนี้ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี เป็นที่สักการบูชาเป็นมิ่งขวัญของชาวอุบลราชธานี และผู้มาเยี่ยมเยือนเมืองอุบลเสมอมา

tour-city-pillar-shrine-ubon-ratchathani

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1922 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์