ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com
วัดสีสะเกด ลาว
วัดสีสะเกด (Wat Sisaket) หรือวัดสะตะสะหัสสาราม (วัดแสน)
ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ ติดกับหอคำ พระราชวังหลวงของกษัตริย์ลาวสมัยก่อนสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2094 โดยพระเจ้าโพธิสารราช พระบิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในศตวรรษที่ 16 เป็นวัดที่สร้างขึ้นแห่งแรกในนครเวียงจันทน์ สตสหัสส แปลว่า 100,000, อาราม แปลว่า วัด, วัดสตสหัสสาราม จึงแปลว่า วัดแสน ในอดีตเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ลาว) ศักดิ์ของวัดนี้เทียบเท่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน ของไทย)
สร้างโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ หรือพระเจ้าอนุวงศ์ในปี พ.ศ.๒๓๖๑ ถือเป็นวัดประจำรัชกาล วัดนี้มีชื่อเต็มว่า “วัดศีรษะเกศสตสหัสสาราม” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดศีรษะเกศ เพราะเล่ากันว่ายามพระเจ้าอนุวงศ์บรรทมอยู่ในพระราชวังจะต้องหันพระเศียรมายังทิศที่ตั้งของวัดนี้เสมอ
เหตุที่ชื่อวัดแสนก็เพราะว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชและพุทธศาสนิกชนชาวลาวในอดีต ทรงสร้างพระพุทธรูปทั้งองค์เล็กและองค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ทั่ววัด 100,000 องค์ ดังนั้นจึงมีชื่อเล่นว่าวัดแสน แต่ปัจจุบันมีเหลืออยู่ประมาณ 10,000 กว่าองค์เท่านั้น ไกด์บางคนบอกว่ามี 6,000 กว่าองค์ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม วัดนี้ก็มียังมีพระพุทธรูปมากที่สุดในนครเวียงจันทน์
เจ้าอนุวงศ์โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ 2316 ในบริเวณวัดเก่าที่อยู่ติดกับพระราชวัง ที่มาของชื่อวัดเนื่องจากที่ตั้งอยู่ทาง ทิศหัวนอน เหตุที่วัดนี้หันหน้าเข้าหาพระราชวัง หรือทิศหัวนอนของเจ้าอนุวงศ์ ก็เพื่อว่าเมื่อทรงบรรทมตื่นหรือว่าเข้าบรรทมจะสามารถไหว้พระในวัดได้เลย ภายในวัดมีพระพุทธรูปมากมายเรียงรายอยู่ช่องกุดเล็กๆ ที่มีซุ้มโค้งแหลมจำนวนมาก ภายในช่องกุดบรรจุพระพุทธรูปเล็กๆ หรือพระพิมพ์ช่องละ 2 องค์ในบริเวณพระอุโบสถ (ลาวเรียกว่า สิม) และระเบียงคดทั้งสี่ด้าน หอไตรที่งามแปลกตา รวมทั้งชมความงามของฮูปแต้มหรือจิตรกรรมฝาผนังอันอ่อนช้อยตั้งอยู่ที่หัวมุมถนนเสดถาทิราดตัดกับถนนล้านช้าง
ใน พ.ศ. 2321 เจ้าพระยาจักรี (ร.๑) ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้ยกทัพไปทวงถามเครื่องบรรณาการจากลาว ลาวไม่ให้จึงสู้รบกัน ลาวรบแพ้เพราะไม่เจนศึกเท่าทหารสยาม ในฐานะที่เจ้าพระยาจักรีเป็นนักรบผู้ทรงธรรมและเคยบวชเรียนหลายพรรษา เมื่อชนะศึกแล้วจึงนำพาทหารสยามบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ก่อนเดินทางกลับประเทศใน พ.ศ.2322 เพื่อเป็นพุทธบูชาอุทิศส่วนกุศลให้ทหารทั้ง 2 ประเทศที่เสียชีวิต เนื่องจากรบกันโดยไม่มีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน สถาปัตยกรรมวัดนี้เกือบทั้งหมดจึงเป็นสถาปัตยกรรมไทย
เมื่อเจ้าอนุวงศ์ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ลาวเมื่อ พ.ศ. 2348 ก่อนหน้านั้นพระองค์เคยเสด็จมาช่วยไทยรบกับพม่า 2 ครั้ง ก็ได้โปรดให้บูรณะและสร้างวัดนี้ต่อด้วยสถาปัตยกรรมไทย วัดนี้จึงเป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของทหารและชาวพุทธสองประเทศมาแต่โบราณ เพราะเป็นวัดที่ทหารของทั้งสองประเทศช่วยกันสร้าง
พ.ศ. 2369 เกิดกรณีพิพาทสยาม – ลาว (ไทยเรียกเหตุการณ์นี้ว่ากบถเจ้าอนุวงศ์) ศึกครั้งนั้นไทยแทนแค้นลาวมาก จึงทำลายเมืองเวียงจันทน์โดยการเผาเกือบหมด ยกเว้นวัดนี้กับวัดพระแก้ว เพราะเป็นวัดที่ตนสร้างมากับมือ
พ.ศ. 2370 ก่อนกองทัพสยามเดินทางกลับประเทศ ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและฌาปนกิจศพทหารที่เสียชีวิตที่วัดแห่งนี้
จากเหตุการณ์เผาเวียงจันทน์นี่แหละ ชาวลาวรุ่นใหม่ที่เรียนมาถึงประวัติศาสตร์ตอนนี้จึงแค้นไทยไม่หาย เมื่อไทยพูดว่า “บ้านพี่ – เมืองน้อง” ลาวรุ่นใหม่จึงไม่ยอมรับไทยเป็นญาติ เขามักจะถามกลับว่า “ใครเป็นพี่ – ใครเป็นน้อง” ไทยบางคน เกลียดพม่าไม่หายในเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่สอง อย่างไร ลาวบางคน ก็แค้นไทยไม่เลิกในเหตุการณ์เผาเวียงจันทน์ อย่างนั้น
สิ่งน่าชมในวัด ได้แก่ หอไตร ซึ่งยกคอสองเป็นชั้นคล้ายวัดไทยใหญ่ ส่วนอุโบสถผนังภายในเจาะเป็นซุ้มเล็กๆ สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปถึง ๖,๘๔๐ องค์ และมีวัตถุโบราณสำคัญคือ ราวเทียนไม้ แกะเป็นรูปนาคสองตัวด้วยฝีมือวิจิตรมาก
ศิลปะและสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ของวัดนี้เป็นแบบสมัยต้นรัตนโกสินทร์ กล่าวกันว่าพระเจ้าอนุวงศ์ทรงโปรดปรานศิลปะเช่นนี้ตั้งแต่ครั้งได้มาศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงเทพฯ ภายใต้การอุปถัมภ์ชุบเลี้ยงโดยรัชกาลที่ ๒ จึงเป็นสาเหตุให้วัดศีรษะเกศเป็นวัดเดียวในเมืองเวียงจันทน์ที่ไม่ถูกเผาโดยกองทัพไทยเมื่อครั้งศึกเจ้าอนุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑
ปัจจุบันวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง ไม่มีภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษา ทางการลาวยึดที่ดินวัดไปเป็นสถานที่ราชการหมด เหลือเพียงตรงบริเวณพระอุโบสถนิดหน่อย วิญญาณทหารสยามที่สถิตอยู่ในวัดนี้จึงอาภัพเพราะไม่มีใครไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ชาวลาวก็ไม่ทำบุญกรวดน้ำให้ เพราะยังไม่หายแค้น ทำบุญจากประเทศไทยไปให้ก็ไม่ค่อยจะถึง เพราะอยู่ไกลและวิบากกรรมก็ยังไม่สิ้น (ซวยสองต่อ) หากอยากทำบุญให้ ต้องไปทำที่เวียงจันทน์เท่านั้น
เปิดทุกวัน เวลา 08.00 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น., บัตรเข้าชมราคา ๑๐๐๐๐ กีบ