รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

คำแนะนำการเดินทาง ประเทศลาว

1 คำแนะนำการเดินทาง ลาว

ธงชาติ ลาว

คำแนะนำการเดินทาง ประเทศลาว

การไปประเทศลาวถ้าไม่มี Passport ก็ต้องไปขอใบอนุญาตผ่านแดน (border pass) หรือไม่ก็จะมีบริษัทรับทำอยู่ ไม่ยาก แต่ว่าใบอนุญาตนี้ใช้ได้แค่ภายในตัวเมืองเวียงจันทน์ (หรือแค่ภายในรัศมี 20 กิโลเมตรนับจากด่าน) และอนุญาตให้อยู่เวียงจันทน์แค่ 3 วัน 2 คืน ราคาค่าทำก็ประมาณว่าไม่เกิน 50 บาท แต่ถ้ามี passport อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องทำวีซ่าเลย

การเตรียมตัวไปลาวระเบียบการเข้าประเทศ
บุคคลที่ถือสัญชาติไทย สามารถเดินทางเข้าสู่ สปป.ลาว โดย

1. ใช้หนังสือเดินทาง (Passport) ที่ยังมีอายุใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยบุคคลสัญชาติไทยสามารถเดินทางเข้าลาวได้โดยไม่ต้องเสียค่าวีซ่านับตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2547 โดยสามารถอยู่ใน สปป.ลาวได้ 30 วัน

2. ใช้บัตรผ่านแดน (Border Pass)  หรือ ค่าเหยียบแผ่นดิน หรือ บัตรปี ค่าธรรมเนียมเล่มละ 200 บาท ใช้เฉพาะประชาชนไทยและลาว ที่มีภูมิลำเนาอยู่พื้นที่ชายแดนที่ระบุไว้ในความตกลงเท่านั่น มีอายุ 1 ปี สำหรับบุคคลมีสัญชาติไทยที่จะเดินทางเข้าไปใน สปป.ลาว  เฉพาะในเขตกำแพงนครเวียงจันทน์เท่านั้น โดยสามารถเดินทางเข้า-ออก ได้ครั้งละ 3 วัน 2 คืน โดยจะต้องอยู่ในพื้นที่ชายแดนที่กำหนดไว้ในความตกลงเท่านั้น และต้องเดินทางกลับออก ณ ช่องทางที่ผ่านเข้ามา

3. บัตรผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass) ค่าธรรมเนียมเล่มละ 30 บาท ใช้สำหรับประชาชนไทย และลาวที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกพื้นที่ชายแดนที่ระบุไว้ในความตกลง สำหรับบุคคลผู้มีสัญชาติไทยที่จะเดินทางเข้าไปใน สปป.ลาว เฉพาะในเขตกำแพงพระนครเวียงจันทน์เท่านั้น โดยสามารถเดินทางเช้าออกได้ครั้งละ 3 วัน 2 คืน บัตรผ่านแดนชั่วคราว อยู่นครเวียงจันทร์ได้ในรัศมีไม่เกิน 25 กิโลเมตรเท่านั้น หากมีความประสงค์จะเดินทางไปยังแขวงต่างๆนอกรัศมี 25 กิโลเมตร จากนครเวียงจันทร์จะต้องใช้หนังสือเดินทางพร้อมวีซ่า ใช้ได้แค่ครั้งเดียว ระยะเวลาพำนักไม่เกิน 3 วัน 2 คืน ใช้หลักปฏิบัติเหมือนข้อ 2

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยคือ ค่าภาษีเข้าเมืองคนละ 50 บาท หากยื่นเรื่องนอกเวลาราชการ (หลัง 16.00 น.) หรือวันเสาร์ – อาทิตย์ ต้องเสียเงินค่าล่วงเวลาเพิ่มอีกคนละ 30 บาท

หลักฐานที่ใช้ในการทำบัตรผ่านแดน

1.รูปถ่ายขนาด 1-2 นิ้ว จำนวน 2 รูป

2.บัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา) ผู้เยาว์อายุ 12-15 ปี ที่ยังไม่มีบัตรประชาชนให้ใช้ทะเบียนบ้าน(พร้อมสำเนา) และหนังสือยินยอมจากบิดา มารดา ถ้าหากอายุต่ำกว่า 12 ปี ต้องมีสูติบัตร (พร้อมสำเนา) ประกอบด้วย

ติดต่อขอทำบัตรผ่านแดนได้ที่ศาลากลางจังหวัดที่มีด่านผ่านแดนสากล ดังนี้

1. จังหวัดเชียงราย : ด่านเชียงของ-ห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว
2. จังหวัดหนองคาย : สะพานมิตรภาพไทย-ลาว –ออสเตรเลีย-กำแพงนครเวียงจันทน์
3. จังหวัดนครพนม : ด่านท่าเรือ-ท่าแขก แขวงคำม่วน
4. จังหวัดมุกดาหาร : ด่านมุกดาหาร-สะหวันนะเขต
5. จังหวัดอุบลราชธานี : ด่านช่องเม็ก-วังเต่า แขวงจำปาสัก

การนำรถยนต์ข้ามแดน
สปป.ลาวอนุญาตให้นำรถยนต์จากไทยข้ามไปท่องเที่ยวได้ โดยต้องมีบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศลาวรับประกัน รถยนต์ที่จะนำข้ามไปต้องไม่ใช่รถป้ายแดงและไม่ติดไฟแนนซ์ สามารถยื่นเรื่องขออนุญาตได้ที่ด่านศุลกากรและด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ต้องการจะข้ามไป ล่าสุดจากการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย – ลาว เมื่อวันที่ 20 – 21 มีนาคม พ.ศ 2547 มีนโยบายให้รถยนต์ส่วนตัวสามารถเดินเรื่องขออนุญาตข้ามแดนได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด ไม่ต้องเสียเวลาดำเนินการขอล่วงหน้าจาก สปป.ลาว เหมือเมื่อก่อน แต่ก็ควรที่จะ เตรียมการล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน

เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต
โดยต้องมีทั้งตัวจริงและสำเนา ประกอบด้วย
1. คู่มือทะเบียนรถ หากผู้เป็นเจ้าของรถไม่ได้เป็นผู้ขับขี่หรือไม่ได้มาด้วย ต้องมีหนังสือยินยอมให้นำรถออกนอกราชอาณาจักร

2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของรถ

3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขับชี่

4. ใบขับขี่

5. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว

ชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมทั้งการนำยานพาหนะเข้าและทำประกันอุบัติเหตุได้ที่ ด่านศุลกากรของลาว ประมาณคันละ 2,500 บาท
หมายเหตุ : สปป.ลาวใช้พวงมาลัยซ้าย และขับรถทางด้านขวาของถนน


ข้อควรปฏิบัติสำหรับนักท่องเที่ยว
โดยทั่วไปวัฒนธรรมลาวก็คล้ายคลึงกับไทย ซึ่งทำให้ไม่ยากในการปรับตัว
คนลาวชอบคนอ่อนน้อม มีมารยาทไม่ต่างจากไทย ผู้น้อยเคารพผู้อาวุโสกว่า เจอหน้าก็ยกมือไหว้กัน ซึ่งลาวเรียกว่า “นบ” แม้ปัจจุบันผู้ชายลาวจะนิยมใช้วัฒนธรรมตะวันตกด้วยการจับมือกัน แต่การไหว้ก่อนแล้วค่อยจับมือก็ไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย ขอให้รำลึกอยู่เสมอว่ามารยาทไทย มารยาทลาวนั้น มิได้ต่างกันเท่าไร

มารยาทในที่สาธารณะอย่างการจับมือถือแขนอาจไม่หนักหนา แต่หากถึงขั้นโอบคอ โอบไหล่ กอดจูบกันนั้น ฝรั่งไม่ถือ แต่คนลาวถือ เช่นเดียวกับคนไทย ขอให้ใช้ความเป็นไทยเวลาไปเที่ยวเมืองลาว ไม่จำเป็นแสดงความเป็นสากลตามแบบนักท่องเที่ยวตะวันตก

บางคนไปหลวงพระบางแล้วทำตัวตามสบายเหมือนนักท่องเที่ยวฝรั่ง นั่นอาจทำให้เจ้าบ้านรู้สึกอึดอัดใจได้ เพราะคนลาวมักเชื่อเสมอว่าลาวกับไทยนั้นยึดถือมารยาทแบบเดียวกัน พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ผิดมารยาทไปบ้าง คนลาวอาจให้อภัยว่าเป็นเพราะไม่รู้ แต่หากเป็นคนไทยเขาจะรู้สึกว่าเป็นการไม่เคารพ ไม่ให้เกียรติกัน

เมื่อไปหลวงพระบางขอให้นึกว่าที่นี่เหมือนบ้านคุณ เป็นบ้านที่อยู่กันแบบครอบครัวใหญ่ มีญาติผู้ใหญ่อยู่กันครบถ้วน ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ล้วนต้องเคารพเกรงใจผู้อื่นเสมอ โดยเฉพาะญาติผู้ใหญ่

ภายในอุโบสถวัดหลายแห่งจะห้ามถ่ายภาพและวิดีโอ รวมทั้งห้ามการสูบบุหรี่ด้วย โปรดปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

เวลาไปเที่ยวชมวัดวา แม้มิได้ไปทำบุญ แต่ควรระลึกว่ากำลังเข้าไปในเขตพัทธสีมา สตรีห้ามนุ่งสั้น ไม่ว่ากระโปรงหรือกางเกงเพราะหากเป็นสตรีลาวยังต้องนุ่งซิ่นเท่านั้นจึงจะเข้าวัดได้ แต่สำหรับนักท่องเที่ยวอาจอนุโลมให้ใส่กางเกงขายาวแทนได้ เสื้อไม่ควรแขนกุดประเภทสายเดี่ยวเกาะอก ไม่ควรนำไปด้วยเป็นดีที่สุด

สุภาพบุรุษ กางเกงต้องขายาว เสื้อสุภาพ ประเภทเสื้อกล้ามตัวบางอย่างที่นักท่องเที่ยวฝรั่งนิยม ซึ่งลาวเรียกว่า “เสื้อห้อย” นั้น ไม่ควรสวมเข้าวัด

หากอยากไปทำบุญ ไม่ว่าที่วัดหรือการตักบาตรตอนเช้า สตรีควรเตรียมซิ่นหรือผ้าถุงไปด้วย แพรเบี่ยงสำหรับเป็นผ้ากราบผืนหนึ่ง หากไม่มีก็หาซื้อในหลวงพระบางได้ ส่วนผู้ชายไม่ยุ่งยากมากนัก มีเพียงกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ตสีอ่อนหน่อย และผ้าพาดไหล่สักผืน ก็เป็นอันใช้ได้

มารยาทในการถ่ายภาพเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งนักท่องเที่ยวต้องคำนึงถึง การถ่ายภาพอาคารบ้านเมืองหรือทิวทัศน์ไม่นับเป็นปัญหา แต่หากมีบุคคลเป็น “เป้าหมาย”นั้น ต้องคำนึงให้มากว่ากำลังเข้าไปรบกวน วุ่นวายกับชีวิตประจำวันของเขาหรือเปล่า การถ่ายภาพบุคคล ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านหรือพระสงฆ์สามเณร ควรขออนูญาตบุคคลนั้นก่อน การถ่ายภาพงานพิธีกรรมต่างๆ ต้องสอบถามเจ้าของงานหรือผู้อาวุโสในที่นั้นว่า สามารถถ่ายรูปได้ไหม ยิ่งหากเป็นพิธีกรรมที่จริงจังแล้วทางที่ดีไม่ควรใช้ไฟแฟลช เพราะจะเป็นการรบกวนพิธีและสมาธิของผู้ร่วมพิธีภาพการตักบาตรตอนเช้า ควรเตรียมฟิล์มไวแสงสูงๆ ASA ตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป เพราะการเข้าไปถ่ายภาพในระยะใกล้หรือใช้ไฟแฟลชขณะที่พระสงฆ์กำลังรับบิณฑบาตจากคนเฒ่าคนแก่นั้น คือการกระทำที่เสียมารยาทอย่างแรง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวประจำประเทศไทย
520/1-3 ซอยรามคำแหง 39 ถนนประชาอุทิศ
เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2539-7341 ต่อ106, 0-2539-6667-8
เว็บไซต์ www.bkklaoembassy.com

แหล่งที่มา : หนังสือคู่มือนักเดินทางลาว LAOS พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง หน้า 23 – 26

แหล่งที่มา : หนังสือคู่มือนำเที่ยวหลวงพระบาง หน้า 42 – 44

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 2006 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์