ทัวร์ใต้
หอพระแก้ว ลาว
หอพระแก้ว
เดิมเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชอัญเชิญมาจากเชียงใหม่ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแม่ทัพไทยในคราวนั้นได้เผาหอพระแก้วและอัญเชิญพระแก้วมรกตมายังกรุงธนบุรี ตั้งอยู่บนถนน เชษฐาธิราช ติดกับทำเนียบประธานประเทศ แต่เดิมเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว พระเชษฐาธิราชมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2108 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา เมื่อต้องเสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์ล้านช้างหลังจากที่พระราชบิดาคือพระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในการทำศึกสงครามกับประเทศสยาม
เมื่อปีพ.ศ.2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก กองทัพสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของนครเวียงจันทน์ไป พร้อมทั้งกวาดต้อนราชวงศ์ชาวลาวกลับไปยังกรุงเทพฯมากมาย สำหรับหอพระแก้วที่นักท่องเที่ยวเห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นของที่ถูกบูรณะขึ้นใหม่เกือบทั้งหมด ในปีพ.ศ.2480-2483 ภายใต้การควบคุมดูแลการก่อสร้างของ เจ้าสุวรรณภูมา ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมายังได้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับเอกราชอีกด้วย แม้หอพระแก้วปัจจุบันจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังนครเวียงจันทน์ก้ยังเดินทางมาสักการะบูชากันเป็นจำนวนมาก สำหรับส่วนในของพิพิธภัณฑ์นั้น จัดแสดง พระแท่นบัลลังก์ปิดทองจารึกพระไตรปิฏก ภาษาขอมและกลองสำริดประจำราชวงศ์ลาว สำหรับประตูใหญ่ทั้งสองเป็นของเก่าที่หลงเหลือมาแต่เดิม บานประตูจำหลักเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บริเวณโดยรอบของหอพระแก้วเงียบสงบ ร่มเย็นมีไหขนาดกลางจากทุ่งไหหิน ในเชียงขวางวางตั้งอยู่ 1 ใบ อาณาบริเวณรอบๆ วัดสีสะเกดและหอพระแก้วเคยถูกใช้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานปกครองของฝรั่งเศสสมัยอาณานิคมมาก่อน
หอพระแก้วถูกกองทัพไทยทำลายในสมัยรัชกาลที่ ๓ และได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ปัจจุบันเป็นที่เก็บวัตถุโบราณ ซึ่งรวบรวมจากหลายแหล่ง มีทั้งโบราณวัตถุศิลปะขอม ศิลปะลาว และศิลปะไทย ศิลาจารึกพระธาตุศรีสองรักของจริงซึ่งสร้างตั้งแต่ครั้งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชก็อยู่ที่นี่ด้วยเช่นกัน
หอพระแก้วที่เห็นอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นหอที่สร้างขึ้นใหม่ ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงของโบราณ เช่น พระพุทธรูป ตู้ใบลาน กลองมโหระทึกสำริด ศิลาจารึก ฯลฯ
ภายในหอพระแก้วห้ามถ่ายภาพ
สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงประเทศลาว
ค่าเข้าชม คนละ 5,000 กีบ
เปิดเวลาเข้าชม เปิดวันอังคารถึงวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 12.00 น., 13.00 น. - 16.00 น.