ทัวร์เหนือ
พิพิธภัณฑ์พระราชวัง ลาว
พิพิธภัณฑ์พระราชวังหลวงพระบาง
สร้างขึ้นปี ค.ศ.1904 ก่อนเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ขึ้นครองราชสมบัติ 1 ปี พระราชวังหลวงพระบางเป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์วังเจ้ามหาชีวิตแทน ภายในประกอบด้วยห้องต่างๆ มากมาย เช่น ห้องท้องพระโรงซึ่งตกแต่งประดับประดากระจกบนผนัง และเพดาน สีแดงห้องรับแขกซึ่ง มีรูปของท่าน ในลักษณะ 3 มิติ ห้องบรรทม ฯลฯ ภายนอกนั้น โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสผสมผสานกับ สถาปัตยกรรมลาวอย่างลงตัว ด้านหน้ามีต้นตาล ซึ่งปลูกเป็นแถวนับเป็นมุมที่สวยที่สุดของวังนี้
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง ศิลปกรรมแบบยุโรปผสมล้านช้าง ยกพื้นสูงแบบฝรั่งเศส แต่มีการผสมผสานระหว่างความเป็นฝรั่งเศสและลาว หลังคายอดปราสาทเป็นศิลปะลาวล้านช้าง ที่นี่จึงถูกเปรียบเปรยว่าเป็นลักษณะของ ฝรั่งสวมชฎา เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์วังเจ้ามหาชีวิตแทน ภายในประกอบด้วย ห้องฟังธรรม จัดแสดงธรรมาสน์ไม้แกะสลักสกุลช่างหลวงพระบาง และพระพุทธรูปสำริดสกุลช่างลาวโบราณ ช่วงศตวรรษที่ 17-19 ห้องที่สองด้านขวามือเป็น ห้องพิธี หรือ ห้องรับแขก มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาวโดยช่างฝีมือชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ.1930 ห้องที่สามเป็น ท้องพระโรง ประดับกระจกหลากสีบนพื้นสีทอง เป็นห้องที่เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเตรียมไว้เพื่อทำพิธีราชาภิเษก แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน ปัจจุบันเป็นที่จัดแสดงราชบัลลังก์ไม้แกะสลักหุ้มทองและเครื่องสูงทั้ง 5 ได้แก่ แส้, จามร, รองพระบาท, กระบี่หรือพระขรรค์ และพระแสงของ้าว ส่วนมหามงกุฏได้รับการเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยไม่ได้นำมาแสดงไว้รวมกัน ส่วนด้านหลังเป็น ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต เครื่องใช้ไม้สอยเป็นแบบฝรั่งดูเรียบง่ายไม่หรูหรา เตียงพระบรรทมเป็นไม้สักฝีมือช่างไทยในสยามในสมัยนั้น
พระราชวังหลวงพระบาง ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ลักษณะอาคารเป็นชั้นเดี่ยวยกพื้นสูง สถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส แต่เป็นการผสมผสานระหว่างฝรั่งเศสและลาว
ด้านนอกอาคารเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2518 พระราชวังหลวงพระบางได้ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วยห้องเด่นๆหลายห้องอยู่ฝั่งขวาของอาคาร เช่น ห้องฟังธรรม ภายในมีธรรมมาสน์ ห้องปูพรมและเป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิติศรีสว่างวงศ์ในเวลาฟังธรรม
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองรัฐบาลลาวใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงโบราณวัตถุและของมีค่า อาทิ บัลลังก์ ธรรมาสน์ เครื่องสูงและราชูปโภคของเจ้าชีวิต พระพุทธรูปและวัตถุโบราณ ของขวัญจากประเทศต่างๆ และสำคัญที่สุดคือ พระบาง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานอยู่ใน หอไตรทางปีกขวาของพระราชวังเป็นการชั่วคราวระหว่างบูรณะหอพระบางที่ด้านหน้าของพระราชวัง โดยภายในหอไตรนี้ยังมีพระไตรปิฎกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เคยพระราชทานให้กษัตริย์ลาวด้วย
ห้องรับแขกของพระมเหสี ภายในห้องจัดแสดงของขวัญจากประเทศต่างๆห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต ภายในห้องสวยงามด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาว ภาพวิวทิวทัศน์ ภาพงานประเพณี และยังมีรูปหล่อครึ่งองค์ของเจ้ามหาชีวิตอุ่นคำ เจ้ามหาชีวิตสักรินทร์ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งทั้งหมดนี้หล่อมาจากประเทศฝรั่งเศษ
ห้องท้องพระโรง ห้องนี้ใช้ทำพีธีราชาภิเษก ซึ่งเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเตรียมห้องนี้ไว้ทำพิธีราชาภิเษก แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงปกครองเสียก่อน ภายในห้องติดประดับด้วยกระจกโมเสดสีแดงจากประเทศฝรั่งเศส
นอกจากห้องสำคัญเหล่านี้แล้วด้านหลังของท้องพระโรงยังเป็นที่ตั้งของตำหนักของเจ้ามหาชีวิต อีกจุดที่เด่นของพระราชวังคือ
หอพระบาง ภายในหอพระนี้เองเป็นที่ประดิษฐาน พระบาง ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง พุทธลักษณะของพระบาง เป็นพระพุทธรูปปางประทับยืนปางประทานอภัย ทั้งสองพระหัตถ์ หรือปางห้ามสมุทร เป็นศิลปะสมัยขอมหลังบายน มีน้ำหนักประมาณ 54 กิโลกรัม ประกอบด้วยทองคำ 90 เปอร์เซ็นต์ และในหอพระนี้ยังมีพระพุทธนาคปรก สลักศิลาอีกสี่องค์และยังมีกลองโบราณอยู่ด้วย
ตรงข้ามกับบันไดทางขึ้นพูสีคือ หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง แต่เดิมเคยเป็นพระราชวังหลวงที่พำนักของเจ้ามหาชีวิต เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ในสมัยพระเจ้าสักกะริน และมาแล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๕๒ ภายหลังเปลี่ยนระบบการปกครองในประเทศลาว เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘
รัฐบาลลาวได้ใช้้พระราชวังหลวงนี้เป็นหอพิพิธภัณฑ์ และเปิดทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙
เมื่อผ่านประตูทางเข้าไปแล้ว จุดเด่นที่สุดคือแถวของต้นตาลขนาดใหญ่ที่ขนาบอยู่ทั้งซ้ายและขวา นำสายตาผู้มาเยือนตรงไปสู่อาคารพระราชวังเดิม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตก โดยโครงสร้างด้านล่างของอาคารเป็นการสร้างตามตึกฝรั่ง ส่วนด้านบนเป็นมณฑปตามแบบตะวันออก ทำให้มองดูคล้ายคลึงกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังของไทย
ด้า์นขวามือของประตูทางเข้าหอพิพิธภัณฑ์คือที่ตั้งของ “หอพระบาง” เป็นวิหารขนาดใหญ่ทรงล้านช้าง หลังคาปีกนกสามชั้น แต่ไม่ต่ำแบบสิมล้านช้างแท้ๆ หอนี้เดิมตั้งใจสร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบาง แต่จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
ส่วนทางด้านซ้ายของประตูทางเข้าคือ อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีสว่างวงศ์ พระมหากษัตริย์ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประเทศลาว
เมื่อผ่านประตูหน้าของอาคารพิพิธภัณฑ์แล้ว ห้องประดิษฐานพระบางจะอยู่ปีกด้านขวาสุดของอาคาร ผู้เข้าชมสามารถกราบอยู่ด้านนอกได้ ข้าง ๆ มณฑปพระบางมีงาช้างคู่หนึ่งแกะสลักพระพุทธเจ้าหลายองค์ เป็นของเก่าโบราณที่นำมาจากวัดวิชุนพร้อมกับพระบางเมื่อครั้งย้ายพิพิธภัณฑ์มายังพระราชวังหลวงนี้
ห้องฮับต้อน เป็นห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต สำหรับรับมอบสาสน์ตราตั้งต่าง ๆ มีรูปปั้นบรอนซ์ครึ่งพระองค์ของเจ้ามหาชีวีต มหินทรเทพ (เจ้าอุ่นคำ), เจ้ามหาชีวิตสักกะริน (เจ้าคำสุก), และเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ บนผนังเป็นภาพเขียนบนผ้าไปผืนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวลาว ภาพฮีตประเพณีลาวที่สำคัญ ลักษณะงานศิลปะแบบ impressionism ฝีมือของจิตรกรหญิงชาวฝรั่งเศสชื่อ อลิชเดอ โฟเตอโร (Alix de Fautereau) ซึ่งเขียนในปี พ.ศ.๒๔๗๓ นอกจากภาพฝาผนังรูปมหึมานี้แล้ว ผนังด้านหนึ่งยังมีภาพแกะไม้จากวรรณคดีรามเกียรติ์ฝีมือสกุลช่างหลวงพระบางสายเพี้ยตัน
ทั้งในห้องและตรงระเบียงข้างห้องนีมีกลองมโ่หระทึกสริดตั้งแสดงอยู่หลายใบ กลองแบบนี้ทางไทยเรียกว่า “กลองกบ” เพราะมักทำเป็นตัวกบเล็ก ๆ เกาะอยู่รอบหน้ากลอง ส่วนทางลาวเรียกว่า “ค้องบ้าง” กลองมโนระทึกเช่นนี้พบครั้งแรกที่ดองซอนในเวียดนามตอนเหนือ เรียกว่า “ยุควัฒนธรรมดองซอน” เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความสมบูรณ์ ตามความคิดความเชื่อของกลุ่มชนบนดินแดนอุษาคเนย์มาแต่โบราณ กลองที่แสดงอยู่ในหอพิพิธภัณฑ์นี้มิได้บอกประวัติว่าเจอที่ใด
ท้องพระโรงใหญ่ เป็นสถานที่ออกต้อนรับราชทูตจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้ามาถวายพระราชสาสน์ตราตั้ง ฝาผนังประดับกระจกสีหรืองานประดับดอกดวง แบบเดียวกับที่วัดเชียงทอง เป็นเรื่องนิทานพื้นบ้านของลาว เช่น เรื่องท้าวจันทะพานิด เรื่องขุนบรม เรื่องตำนานการแห่พระบางขึ้นมาจากเขมร รวมทั้งเื่รื่องงานประเพณีในรอบปีฮีตสิบสอง สุดท้องพระโรงเป็นพระราชบัลลังก์ทำด้วยไม้แกะสลักแล้วหุ้มทองคำอีกชั้น (มีเชือกกั้นห้ามนักท่องเที่ยวเข้า) บัลลังก์นี้เตรียมไว้สำหรับพิธีบรมราชาภิเษกเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ แต่ประเทศลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน ตู้กระจกรอบท้องพระโรงนี้ก็จัดแสดงเครื่องราชกกุธภัณฑ์สำหรับใช้ในพิธีนี้เช่นกัน เช่น พระแสงขรรค์ ฉลองพระบาท พระแส้จามรี
ทางปีกซ้ายและขวาของห้องท้องพระโรงเป็นตู้จัดแสดงพระพุทธรูปทั้งทำด้วยทองคำ แก้ว สำริด หรือไม้ตีทองคำหุ้ม ส่วนใหญ่มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ พระพุทธรูปเหล่านี้ส่วนมากพบใต้ฐานของพระธาตุหมากโมเมื่อบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ พ.ศ.๒๔๕๗ ในสมัยพระเจ้าศรีสว่างวงศ์
ทางปีกขวายังมีแหย่งช้างซึ่งพระเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ส่งมาถวายพระเจ้ามันธาตุราชแห่งนครหลวงพระบางใน พ.ศ. ๒๓๗๐ เพื่อผูกสัมพันธ์พร้อมกับชักชวนให้หลวงพระบางร่วมมือกับกรุงเวียงจันทน์กอบกู้เอกราชจากสยาม
ห้องพิธีการ หรือท้องพระโรงหน้า เคยใช้เป็นห้องรับแขกภายในและคณะทูตานุทูตระหว่างเฝ้ารอรับเสด็จ สิ่งของที่จัดแสดงอยู่ในปัจจุบันมี “หอธรรมาสน์” เป็นไม้แกะสลักด้วยฝีมือสกุลช่างหลวงพระบาง “พระพุทธรูปสำริด” ศิลปะลาวโบราณ มีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙ “เศียรพระพุทธรูปมถุรา”ซึ่งได้รับมอบมาจากรัฐบาลอินเดีย
ในบางโอกาสห้องพิธีการยังใช้เป็นที่ฟังธรรมสำหรับเจ้ามหาชีวิตรวมทั้งใช้จัดงานสำคัญ เช่น งานอภิเษกสมรสของราชวงศ์ฝ่ายใน
ห้องรับแขกของมเหสี แบ่งเป็นสองตอน ห้องเล็กด้านในสุดมีรูปเขียนสีน้ำมันขนาดใหญ่ของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา รูปพระมเหสีคำผุย เเละรูปเจ้าชายวงศ์สว่างมกุฎราชกุมาร รูปทั้งหมดนี้วาดขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๑๐ โดย อิลิยา คาซูนอฟ (Iliya Kazunov) จิตรกรชาวรัสเซีย ซึ่งเขียนได้มีชีวิตชีวา โดยเฉพาะรูปเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งไม่ว่าผู้ชมจะเิดินไปทางไหนในห้อง สายตาและปลายรองพระบาทของรูปก็เหมือนจะหันตามผู้ชมได้ ส่วนในห้องใหญ่ซึ่งเคยใช้เป็นห้องรับแขกของพระมเหสีนั้น มีตู้จัดแสดงของขวัญจากประเทศต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ส่งมาถวายเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาในวาระที่จะเข้าพิธีบรมราชาภิเษก
จากพระราชวังส่วนหน้ามีมุขยื่นต่อไปส่วนหลังด้านติดกับแม่น้ำโขง ส่วนนี้เดิมเป็นเขตส่วนพระองค์ ประกอบด้วยห้องต่างๆ ได้แก่ ห้องพักผ่อน ห้องบรรทมสำหรับมเหสี ห้องบรรทมเจ้ามหาชีวิต ห้องบรรทมสำหรับเชื้อพระวงศ์ ปัจจุบันเป็นห้องแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นต่างๆ แล้เครื่องดนตรีของราชสำนัก และห้องเสวย
พระราชวังหลวงหรือหอพิพิธภัณฑ์นี้มีลักษณะเรียบง่าย เหมะสำหรับการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง หากดูองค์รวมตั้งแต่ภายนอกปัตยกรรมไปจนถึงการตกแต่งภายใน สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ จะเห็นว่ามีลักษณะบริสุทธิ์ เรียบง่าย สมถะ และสง่างามประกอบกันอยู่พร้อมมูลอย่างลงตัว
สถานที่ตั้ง อยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง ริมแม่น้ำโขง
ค่าเข้าชม 30,000 กีบ (ประมาณ 120 บาท)
เปิดเวลา 08.00 - 11.30 น. และ 13.30 - 16.30 น.
หมายเหตุ ภายในพระราชวังหลวง ห้ามการถ่ายรูปทุกชนิด
หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง(พระราชวังหลวงเดิม)
- เปิดวันพุธถึงวันจันทร์ เวลา ๐๘.๐๐-๑๐.๐๐ น. และ ๑๓.๓๐-๑๖.๓๐ น.ปิดวันอังคารและวันหยุดรัฐการ (บุญปีใหม่ลาว บุญซ่วงเฮือ วันชาติ ๒ ธันวาคม และวันปีใหม่สากล)
- บัตรเข้าชมราคา ๓๐,๐๐๐ กีบ
- ผู้เข้าชมต้องแต่งกายสุภาพ ไม่อนุญาตสำหรับกางเกงขาสั้น เสื้อยืดคอกลม เสื้อยืดไม่มีแขน
- ห้ามสูบบุหรี่ และห้ามถ่ายรูป/วิดีโอ
สิ่งน่าสนใจ
อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีสว่างวงศ์
เจ้า้มหาชีวิตผู้ครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๘-๒๕๐๒ และเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เขียนขึ้นโดยชาวลาวเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐
แถวต้นตาลหน้าพระราชวัง
จุดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของหอพิพิธภัณฑ์คือ แถวต้นตาลขนาดใหญ่ที่ขนาบสองข้างทางเดินเข้า ตามประวัติเล่ากันว่าพระเจ้าศรีสว่างวงศ์โปรดให้ปลูกขึ้น เพื่อให้สอดรับกับมุมมองจากท้องพระโรงไปยังพูสี
ยอดมณฑปทอง
แต่เดิมพระราชวังนี้ออกแบบโดย M.Servoise สถาปนิกชาวฝรั่งเศส โดยสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง รูปทรงโรปแบบโคโลเนียล ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๓ พระเจ้าศรีสว่างวงศ์โปรดให้สร้างหลังคาแบบมณฑปเพิ่มเติมขึ้น เพื่อให้มีรูปลักษณ์แบบศิลปะตะวันออก รูปช้างสามเศียร อันเป็นสัญลักษณ์ของ“ ราชอาณาจักรลาว” อยู่บนหน้าบันเหนือมุขทวารด้านหน้า
สร้างขึ้นปี ค.ศ.1904 ก่อนเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ขึ้นครองราชสมบัติ 1 ปี พระราชวังหลวงพระบางเป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์วังเจ้ามหาชีวิตแทน ภายในประกอบด้วยห้องต่างๆ มากมาย เช่น ห้องท้องพระโรงซึ่งตกแต่งประดับประดากระจกบนผนัง และเพดาน สีแดงห้องรับแขกซึ่ง มีรูปของท่าน ในลักษณะ 3 มิติ ห้องบรรทม ฯลฯ ภายนอกนั้น โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสผสมผสานกับ สถาปัตยกรรมลาวอย่างลงตัว ด้านหน้ามีต้นตาล ซึ่งปลูกเป็นแถวนับเป็นมุมที่สวยที่สุดของวังนี้
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง ศิลปกรรมแบบยุโรปผสมล้านช้าง ยกพื้นสูงแบบฝรั่งเศส แต่มีการผสมผสานระหว่างความเป็นฝรั่งเศสและลาว หลังคายอดปราสาทเป็นศิลปะลาวล้านช้าง ที่นี่จึงถูกเปรียบเปรยว่าเป็นลักษณะของ ฝรั่งสวมชฎา เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ประทับอยู่ที่นี่จนสิ้นพระชนม์ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงถูกเปลี่ยนให้เป็นพิพิธภัณฑ์วังเจ้ามหาชีวิตแทน ภายในประกอบด้วย ห้องฟังธรรม จัดแสดงธรรมาสน์ไม้แกะสลักสกุลช่างหลวงพระบาง และพระพุทธรูปสำริดสกุลช่างลาวโบราณ ช่วงศตวรรษที่ 17-19 ห้องที่สองด้านขวามือเป็น ห้องพิธี หรือ ห้องรับแขก มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาวโดยช่างฝีมือชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ.1930 ห้องที่สามเป็น ท้องพระโรง ประดับกระจกหลากสีบนพื้นสีทอง เป็นห้องที่เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเตรียมไว้เพื่อทำพิธีราชาภิเษก แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน ปัจจุบันเป็นที่จัดแสดงราชบัลลังก์ไม้แกะสลักหุ้มทองและเครื่องสูงทั้ง 5 ได้แก่ แส้, จามร, รองพระบาท, กระบี่หรือพระขรรค์ และพระแสงของ้าว ส่วนมหามงกุฏได้รับการเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยไม่ได้นำมาแสดงไว้รวมกัน ส่วนด้านหลังเป็น ที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต เครื่องใช้ไม้สอยเป็นแบบฝรั่งดูเรียบง่ายไม่หรูหรา เตียงพระบรรทมเป็นไม้สักฝีมือช่างไทยในสยามในสมัยนั้น