รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

แขวงอัดตะปือ ลาว

แขวงอัตตะปือ

สถานที่ตั้ง :
อยู่ติดชายแดนกัมพูชา ถัดไปจากแขวงเซกอง เมืองหลวง เมืองสามัคคีชัยหรือเมืองใหม่

อัตตะปือ เป็นแขวงทุรกันดารและด้อยพัฒนา ความแร้นแค้นและดูไม่เจริญเหมือนแขวงอื่นๆ ทำให้แขวงนี้กลับกลายเป็นจุดเด่นสำหรับนักท่องเที่ยวที่แสวงหาดินแดนใหม่ๆ แขวงนี้อยู่ไกลสุดอยู่ชายแดนกัมพูชา ถัดไปจากแขวงเซกอง ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพกสิกรรมและหาของป่า เมืองหลวงชื่อ “สามัคคีชัย” แม้สภาพเศรษฐกิจของผู้คนอาจดูไม่ดีนัก แต่ธรรมชาติก็เยี่ยมจนได้รับฉายาว่าเป็นเมืองสวน ที่อยู่ในวงล้อมของขุนเขามีแม่น้ำเซโดนไหลผ่าน เงียบสงบ และน่าเที่ยวมากแขวงหนึ่ง แม้ที่พักจะไม่เยอะเท่าแขวงอื่นๆแต่ก็พอเพียงกับนักท่องเที่ยว

กิจกรรมท่องเที่ยวอยู่ที่การไปชมวัดฟางแตง อยู่ในเมืองเก่า วัดเดียวที่ระเบิดอเมริกาทิ้งไม่โดน และเดินเล่นที่สะพานเซกองชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม มีถ้ำผาอยู่เชิงเขาปลายที่ราบสูงบอละเวน

ด้วยชัยภูมิในวงล้อมของขุนเขามีแม่น้ำเซกองและเซกะมานไหลผ่านนำความชุ่มชื้นมาให้ ทั่วทั้งเมืองเต็มไปด้วยต้นไม้พุ่มไม้เขียวครึ้มระหว่างเมืองสามัคคีไซไปเมืองไซเสดถา (ไชยเชษฐา) มีวัดโบราณสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาอยู่ 2 แห่ง คือ วัดหลวง และวัดฟางแตง หรือวัดธาตุ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของชาวบ้าน อันเนื่องมาจากสมัยสงคราม สหรัฐอเมริกาพยายามทิ้งระเบิดใส่วัดหลายลูก แต่ทุกลูกที่ตกในเขตวัดทั้ง 2 กลับไม่ทำงานถ้ำผา อยู่ที่เชิงเขาปลายที่ราบสูงบอละเวน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่สามัคคีไซมีสำนักงานท่องเที่ยวตั้งอยู่ที่ศาลาประชาคม ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมือง เป็นที่ชุมนุมไกด์และบริการนำเที่ยวสถานที่ต่างๆ

ภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่ของแขวงอัตตะปือเป็นป่าและภูเขา โดยเฉพาะทางทิศตะวันออกที่ติดกับประเทศเวียดนาม มีที่ราบเป็นส่วนน้อย การคมนาคมลำบาก ชาวบ้านส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามภูเขา มีประชากร 112,171 คน ประกอบด้วย ชาวไท เวียดนาม กัมพูชา ส่วย และข่า
มีอาณาเขตติดต่อกับแขวงต่างๆ และประเทศใกล้เคียงคือ ทิศเหนือติดกับแขวงสาละวัน ทิศใต้ติดกับประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับแขวงจำปาสัก

อัตตะปือมีเมืองหลวงคือสามัคคีชัย หรือเมืองใหม่ อดีตเมืองหลวงเก่าคือเมืองไชยเชษฐา สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐา มีสัญลักษณ์ทางศาสนาแสดงถึงความเป็นเมืองหลวงทั้ง 2 แห่ง คือ เมืองสามัคคีชัยมีวัดหลวงลัตตะมาลาม (วัดหลวงเมืองใหม่) เป็นที่เคารพบูชาของคนเมืองสามัคคีชัย ส่วนเมืองไชยเชษฐา มีวัดหลวงเมืองเก่าวะราราม หรือวัดธาตุ (วัดหลวงเมืองเก่า) เป็นที่สักการบูชาของคนไชยเชษฐาเช่นกัน

นอกจากความโดดเด่นในเรื่องความสงบ วิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวบ้าน ที่เป็นเสน่ห์และความน่ารักของเมืองแห่งนี้แล้ว สภาพภูมิศาสตร์ที่โอบล้อมด้วยขุนเขา มีแม่น้ำเซกองและเซกะมานไหลผ่านเป็นแม่น้ำสายหลักที่นำพาความชุ่มชื่น และสร้างธรรมชาติให้เมืองสามัคคีชัยได้รับการขนานนามว่า เมืองสวนไม้สีเขียว เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็จะเห็นความเขียวชอุ่มของพุ่มไม้รายล้อมบ้านเรือน บรรยากาศบริสุทธิ์

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1266 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์