รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

แขวงจำปาสัก ลาว

tour-champasak-laos

แขวงจำปาสัก (Champasak)
สถานที่ตั้ง : อยู่ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี

เมืองหลวง : เมืองปากเซ
ในบรรดาแขวงต่างๆ ของลาวตอนใต้ต้องยกให้แขวงจำปาสัก เป็นแขวงที่รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะภูมิศาสตร์ของแขวงนี้มีสภาพที่หลากหลาย ทั้งป่าใหญ่บนที่สูง และที่ราบลุ่มริมน้ำโขง เป็นแขวงที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางแขวง อยู่ติดกับพรมแดนไทยที่ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี สามารถนำรถเข้าไปเที่ยวได้สะดวกหรือจะใช้บริการแพ็กเก็จทัวร์ก็ได้ เมืองของแขวงจำปาสักคือ “ปากเซ” อยู่ห่างจากช่องเม็กเพียง 42 กิโลเมตร

แขวงจำปาสัก มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับชายแดนประเทศไทยทางด่านช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ทิศใต้ติดต่อกับเขตจังหวัดกัมปงทมของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 15,415 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ เมืองปากเซ ชนะสมบูรณ์ ปากช่อง ประทุมพร สุขุมา จำปาสัก โพนทอง เมืองโขง มุลละปาโมก ในอดีตแขวงจำปาสักมีชื่อเรียกว่า เขตแคว้นของนครกาละจำบากนาคะบูริสี เป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจของประเทศลาวตอนใต้ แต่ภายหลังที่ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมตั้งเมืองปากเซขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2448 เมืองจำปาสักซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของแขวงจำปาสักจึงถูกลดระดับความสำคัญลงไป

แขวงจำปาสัก ปรากฏชื่อในพงศาวดารเขมรว่า สะมะพูปุระ เมื่ออาณาจักรฟูนันเสื่มอำนาจ คนลาวได้ย้ายถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนกลายเป็นเมืองใหม่นามว่า จำปานะคะบุลีสีหรือจำปานคร ถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มได้ทรงรวบรวมเมืองต่างๆของลาวเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันชื่อว่าล้านช้าง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน มีเมืองหลวงอยู่ที่หลวงพระบาง แต่เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและการก่อกบฏต่างๆนานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ และได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง มาอยู่ที่เวียงจันทน์เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม อาณาจักรล้านช้างเจริญมาได้ 200 ปีเศษก็เริ่มอ่อนแอ แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจำปาสัก ซึ่งตรงกับสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชระแวงว่าลาวจะร่วมมือกับพม่ายกทัพมาตีไทย จึงโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีลาวทั้ง 3 อาณาจักร ตกเป็นของไทยนาน 114 ปีจนถึงปี พ.ศ. 2436 ไทยต้องยกลาวให้กับฝรั่งเศส แต่ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเริ่มอ่อนแอ ญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองแทน แต่ภายหลังสิ้นสงครามโลกญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสได้กลับมาปกครองลาวอีกครั้งหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามโลกที่เดียนเบียนฟู ลาวได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ แต่กลับถูกสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงทางการเมืองและการทหาร กลุ่มลาวรักชาติจึงได้ร่วมกันต่อสู้จนสหรัฐอเมริกาล่าถอย ลาวได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ยกเลิกสถาบันเจ้าชีวิตหรือสถาบันกษัตริย์ โดยเจ้าชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาสักคือเจ้าบุญอุ้ม

tour-champasak-laos tour-champasak-laos

เมืองจำปาสัก : อยู่ถัดจากเมืองปากเซลงมาทางใต้ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 13 ระยะทางประมาณ 30 กิโลเป็นศูนย์กลางการปกครองของแขวงเป็นที่ประทับของพระราชวงศ์ในสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันเหลือเพียงพระตำหนัก 2 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมือง คือ วังของเจ้าราชดนัย (บิดาของเจ้าบุญอุ้ม) เป็นตึกเก่าแก่สมัยอาณานิคมอยู่ตรงข้ามกับเรือนพักสุจิตรา ส่วนวังเจ้าบุญอ้อม (น้องชายของเจ้าบุญอุ้ม) เป็นตึกสีขาว 2 ชั้น แต่เมืองฝรั่งเศสตั้งเมืองหลวงใหญ่อยู่ที่ปากเซ จำปาสักจึงกลายเป็นเมืองริมน้ำโขงที่เงียบสงบ มีที่ทำการฯ เป็นศูนย์กลางตั้งอยู่บนถนนลาดยางสายเดียวในเมือง ส่วนถนนสายอื่นๆโดยมาเป็นทางลูกรัง สองข้างทางของถนนร่มรื่นไปด้วยทิวไม้น้อยใหญ่

อดีตคือศูนย์กลางการปกครองของแขวงและเป็นที่ประทับของราชวงศ์สายจำปาสัก เมื่อฝรั่งเศสตั้งปากเซเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ จำปาสักกลายเป็นเมืองเล็กที่เงียบสงบ ถนนหนทางในเมืองส่วนใหญ่เป็นลูกรัง ร่มรื่นด้วยทิวไม้ใหญ่สถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมืองมีเพียงวัดทอง ซึ่งเป็นวัดประจำราชวงศ์และเป็นที่ตั้งเจดีย์บรรจุพระอัฐิของพระเจ้ายุทธิธรรม เจ้าราชดนัย เจ้าบุญอุ้ม และเจ้าชายเจ้าหญิงสายราชวงศ์จำปาสักอีกหลายพระองค์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร มีวัดตั้งอยู่ริมแม่นํ้าโขงชื่อวัดพุทธวนาราม หรือวัดเมืองกาง เป็นวัดที่มีศิลปกรรมลาวไทย พม่า และฝรั่งเศสที่ผสมกันอย่างกลมกลืน

ในเมืองจำปาสักมีวัดสำคัญประจำเมือง คือ วัดทุ่ง เป็นวัดประจำราชวงศ์และใช้เป็นที่ฝังศพของเจ้านายหลายพระองค์ มีเกสต์เฮาส์ที่ดัดแปลงจากบ้านเรือนและร้านอาหารริมน้ำโขงบรรยากาศดีเปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว

การเดินทาง
ถ้าต้องการเดินทางไปยังเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ต้องเริ่มต้นที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 90 กิโลเมตร ซึ่งเป็นประตูสู่เมืองปากเซแขวงจำปาสัก จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 10 เป็นถนนลาดยาง ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร จะถึงสะพานมิตรภาพลาว-ญี่ปุ่น ข้ามแม่น้ำโขงมาเมืองปากเซ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง สำหรับการเดินทางจากพรมแดนช่องเม็กเข้าไปเมืองปากเซ สามารถใช้บริการของสถานีขนส่งลาว ที่อยู่ห่างจากด่านตรวจคนเข้าเมืองลาวระยะทาง 300 เมตร มีทั้งรถโดยสารประจำทาง รถสองแถว วันละหลายเที่ยว แต่ถ้ามีประมาณ 3-4 คน แนะนำให้ใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จะสะดวกและเร็วกว่า

จากชายแดนช่องเม็กในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านด่านวังเต่า ชายแดนลางที่ชาวบ้านจะนำสินค้ามาวางขาย นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมแวะซื้อได้ตามสะดวก จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 10 ซึ่งเป็นถนนลาดยางอย่างดี ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร ก็จะถึงสะพานมิตรภาพลาว – ญี่ปุ่น มีความยาว 1,380 เมตร ข้ามแม่น้ำโขงมาถึงเมืองปากเซ เมืองหลวงของแขวงจำปาสักซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของลาว สมัยนั้นฝรั่งเศสตั้งเมืองจำปาสักขึ้นมาเพื่อคานอำนาจเมืองจำปาสัก (บ้านวัดทุ่ง) ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนไปถึงยุคก่อนเข้ามาตั้งรกรากของขอมโบราณ

เมืองปากเซไม่มีอารยธรรมเก่าแก่เหมือนกับเมืองจำปาสัก แต่กลับมีความหลากหลายของเชื้อชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม มีจำนวนประชากรประมาณ 70,000 คน นอกจากชาวลาวแล้วยังมีชาวจีนและเวียดนามเข้ามาตั้งรกรากเป็นจำนวนมาก บรรยากาศทั่วไปเมืองปากเซเงียบสงบเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตเรียบง่าย

tour-champasak-laos tour-champasak-laos

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1424 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์