รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วัดแจ้ง อุบลราชธานี

tour-wat-chaeng-ubon-ratchathani

วัดแจ้ง
เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2431 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยการดำริของเจ้าราชบุตร (หนูคำ) หนึ่งในคณะอาญาสี่ผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานีในสมัยนั้น

โบราณสถานที่สำคัญคือ พระอุโบสถที่สร้างเสร็จในราวปีพ.ศ. 2455 หรือหลังจากการตั้งวัด 24 ปี โดยญาท่านเพ็ง ได้รับการยกย่องว่ารูปทรงสวยงาม และมีงานจำหลักไม้ที่มีฝีมือแบบพื้นฐานโดยแท้ ซึ่งนับวันจะหาดูเป็นตัวอย่างศึกษาได้ยาก เป็นอุโบสถขนาดไม่ใหญ่นัก กว้างประมาณ 6 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 10 เมตร

ฐานเตี้ยหลังคาชั้นเดียวเดิมมุงด้วยกระเบื้องไม้ ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผา มีบันไดอยู่ด้านหน้าราวบันไดเป็นรูปจระเข้หมอบ ส่วนหน้าบันหน้า อุดปีกนกและรวงผึ้ง สลักไม้เป็นลายดอกบัว กอบัวอย่างสวยงาม โดยเฉพาะหางหงส์ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือ ทำเป็นรูปหัวนาคตรงหงอนสะบัด ปลายเป็นกนกเปลว

อุโบสถวัดแจ้งได้รับการบูรณะเรื่อยมาโดยพยายามให้คงสภาพเหมือนเดิมที่สุด ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่คุณค่าแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลฯ เคยได้รับเกียรติบัตรในงานนิทรรศการ "สถาปนิก 30" จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

tour-wat-chaeng-ubon-ratchathani tour-wat-chaeng-ubon-ratchathani

สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดแจ้ง
สิมวัดแจ้ง เป็นสถาปัตยกรรมแบบอีสาน แปลนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 10 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตัวอาคารก่อด้วยอิฐฉาบปูน ฐานเอวขันธ์แบบปากพานบันใดขึ้นด้านหน้า บันใดเดียว ราวบันใดปั้นปูนเป็นรูปจระเข้ 2 ตัว มีมุขเฉลียงอยู่ด้านหน้า หน้าต่างด้านข้างด้านละ 3 ช่อง ผนังด้านหลังก่อทึบถึง จั่วไม่มีหน้าบัน เสาด้านหน้าเป็นเสาไม้กลม 4 ต้น หน้าบันสลักไม้เป็นลวดลายแบบพื้นบ้านผสมลายไทยภาคกลาง บนสุดเป็นภาพอินทร์ทรงช้างเอราวัญ หน้าบันปิดทองร่องกระจก ทวยไม้จำหลักเป็นภาพพญานาค หลังคาชั้นเดียวมีพะไร (ปีกนก) ทางด้านข้าง รวยลำยองแบบไม่มีนาคสะดุ้ง(รวยระกามอญ) ช่อฟ้า(โหง่)ใบระกาและหางหงส์แบบอีสาน คล้ายหอแจกวัดศรีอุบลรัตนาราม เดิมมุงแป้นไม้ ต่อมาเปลี่ยนเป็นมุงด้วยกระเบื้องดินขอ

สิมวัดแจ้งมีการบูรณะถึง 3 ครั้ง คือครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2495, 2513 และ 2527 ตามลำดับ โดยครั้งสุดท้ายกรมศิลปกรทำการบูรณะที่จะอนุรักษ์สภาพเก่าของสิมไว้ให้ได้มากที่สุด และถึงแม้ว่าสิมวัดแจ้งจะมีการบูรณะถึง 3 ครั้งก็ตาม แต่ก็ยังเป็นการบูรณะที่พยายามคงสภาพเดิมเอาไว้ให้มากที่สุด ดังนั้นจึงเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี จนได้รับเกียรติบัตรในงาน นิทรรศการ "สถาปนิก 30" จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี

ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่ถนนสรรพสิทธิ์ อ.เมือง

tour-wat-chaeng-ubon-ratchathani

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 2491 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์