รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

เขื่อนปากมูล อุบลราชธานี

tour-pak-moon-dam-ubon-ratchathani

เขื่อนปากมูล
เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียวสร้างกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเหว่ อำเภอโขงเจียม มีความสูง 17 เมตร ยาว 300 เมตร อำนวยประโยชน์ในด้านการเกษตรและผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนปากมูลอยู่ห่าง จากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 75 กม. ห่างจากจุดบรรจบของแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงประมาณ 6 กม. สันของเขื่อนปากมูลสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดจากอำเภอโขงเจียม ไปอำเภอสิรินธรได้โดยไม่ต้อง ย้อนไปอำเภอพิบูลมังสาหาร นอกจากนี้บริเวณท้ายเขื่อนยังสามารถล่องเรือชมทิวทัศน์ลำน้ำมูลที่งดงามโดย ตลอดไปบรรจบ กับแม่น้ำโขง บริเวณที่เรียกว่า แม่น้ำสองสี

แม่น้ำปากมูลเป็นแม่น้ำสายสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบ มีพื้นที่รับน้ำถึง 117,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 23 ของพื้นที่ประเทศไทย มีปริมาณน้ำไหลเฉลี่ยปีละ 24,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเท่ากับ 740 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปริมาณน้ำดังกล่าวไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี โดยไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า

สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ปัจจุบันคือ กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) มีดำริที่จะพัฒนาแหล่งน้ำนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลฝรั่งเศส ทำการศึกษาและสำรวจโครงการพัฒนาลุ่มน้ำมูลตอนล่าง ตั้งแต่ปี 2510 กำหนดที่ตั้งตัวเขื่อนบริเวณแก่งตะนะ ห่างจากปากแม่น้ำมูลขึ้นมา4 กิโลเมตร

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รับโอนโครงการมาดำเนินงานต่อ เมื่อปี 2522 และได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมอีกพบว่าประโยชน์ที่จะได้นั้นคุ้มค่า แต่ผลกระทบที่สำคัญคือ ต้องโยกย้ายที่อยู่ราษฎรถึง 4,000 หลังคาเรือน จึงชะลอโครงการไว้ก่อนในปี 2528 กฟผ. ได้รับทบทวนโครงการอีกครั้งหนึ่งโดยย้ายที่ตั้งตัวเขื่อนมาทางเหนือน้ำประมาณ 1.5 กิโลเมตร และลดระดับเก็บกักลง เพื่อให้ผลกระทบที่เกิดจากโครงการมีผลต่อราษฎรน้อยที่สุด โดยในที่สุดเมื่อปี 2532 สรุปได้ว่ามีราษฎรได้รับผลกระทบรวม 903 ราย เป็นผลกระทบต่ออาคารบ้านเรือนรวม 248 หลังคาเรือน ซึ่งลดลงจากครั้งที่สำรวจเมื่อปี 2522 เป็นอย่างมาก

ปัจจุบันการใช้ไฟฟ้าในภาคอีสานสูงกว่ากำลังผลิตที่มีอยู่จริงในภาคนี้มากกว่า 2 เท่า ทั้งยังมีความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเวลานี้ภาคอีสานต้องรับไฟฟ้าที่ส่งมาจากภาคกลาง และซื้อจากการไฟฟ้าลาวเข้ามาใช้ด้วยทำให้ระบบไฟฟ้าของภาคอีสาน ขาดความมั่นคง และไม่ประหยัด เช่น หากเกิดขัดข้องในระบบสายส่งไฟฟ้า ก็อาจจะดับอยู่เป็นเวลานานเนื่องจากสายส่งที่ต้องทอดยาวมาจากภาคอื่นๆ นับร้อยๆ กิโลเมตร

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความจำเป็นที่ต้องเร่งสร้างแหล่งผลิตไฟฟ้าในภาคอีสานขึ้นเอง เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับโรงไฟฟ้าของภาค

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูลถูกจัดอยู่ในแผนพัฒนาไฟฟ้าของ กฟผ. ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (2530-2340) คณะรัฐมนตรี 3619 รีมีมติอนุมัติให้ กฟผ.ดำเนินการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูลจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม2533

กฟผ. เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2533 งานแล้วเสร็จสมบรูณ์ในเดือนพฤศจิกายน2537 ตรงตามกำหนดการที่ตั้งไว้ลักษณะเขื่อน เขื่อนปากมูลมีลักษณะเป็นเขื่อนทดน้ำไม่ใช่เขื่อนเก็บกักน้ำด้วยความสูงเพียง17 เมตร เมื่อกักน้ำไว้ ระดับน้ำในแม่น้ำมูลจะสูงขึ้นในสภาพน้ำเต็มตลิ่งเป็นการใช้ความจุของลำน้ำเดิมเท่านั้น

tour-pak-moon-dam-ubon-ratchathani

ที่ตั้ง
เขื่อนปากมูลสร้างปิดกั้นแม่น้ำมูลที่บ้านหัวเห่ว อำเภอโขงเจียมจังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากตัวจังหวัดไปตามลำน้ำประมาณ 82.5 กิโลเมตร ห่างจากปากแม่น้ำมูลที่ไหลลงแม่น้ำโขงประมาณ 6 กิโลเมตร

ตัวเขื่อน
เป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดแน่น ความสูง 17 เมตร ความยาว 300 เมตร ระดับสันเขื่อน+111 เมตร (รทก.) สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร อาคารระบายน้ำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กแบ่งเป็นช่องทางระบายน้ำ 8 ช่อง ติดตั้งประตูควบคุมน้ำแบบเหล็กบานโค้ง ขนาดกว้าง 22.5 เมตร สูง14.75 เมตร อัตราการระบายน้ำ สูงสุด 18,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

อาคารโรงไฟฟ้า
เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาวไปตามแนวเขื่อน 72 เมตร ภายในติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า 4 เครื่อง ซึ่งเป็นแบบพิเศษต่างจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำอื่นๆที่มีในประเทศไทย คือมีรูปร่างคล้ายกระสวย มีเครื่องกังหันน้ำและเครื่องผลิตไฟฟ้าบรรจุรวมอยู่ในกระเปาะเดียวกัน วางตามแนวนอนในระดับท้องน้ำ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ด้วยความสูงของน้ำเพียง 3 เมตรขึ้นไป แต่ละเครื่องมีกำลังผลิต 34,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 136,000 กิโลวัตต์ ผลิตพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 280 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ลักษณะพิเศษของโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากมูลอีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องควบคุม เนื่องจากใช้การควบคุมระยะไกล (Remote Control) จากเขื่อนสิรินธร

ประโยชน์ของเขื่อนปากมูล
เขื่อนปากมูลสามารถอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในด้านต่างๆดังนี้

การชลประทาน
ทำให้ลำน้ำมูลมีสมบูรณ์ เป็นประโยชน์ต่อการสูบน้ำให้แก่พื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตในระยะแรก 45,000 ไร่ และสามารถขยายเต็มโครงการได้ถึง 160,000 ไร่

พลังงานไฟฟ้า
เสริมกำลังผลิตไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีความมั่นคงด้วยการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า 4 เครื่อง รวมกำลังผลิต 136,000 กิโลวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ยปีละ 280 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

การประมง
บันไตปลาโจนและศูนย์เพาะพันธุ์ปลาที่สร้างขึ้น ช่วยพัฒนาการประมงในลำน้ำเหนือเขื่อนปากมูลให้เหมาะสมในการแพร่พันธุ์ปลา เป็นการส่งเสริมอาชีพประมง เพิ่มรายได้แก่ราษฏร

การท่องเที่ยว
เขื่อนปากมูล เป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานีเนื่องจากเป็นจุดที่มีทัศนียภาพสวยงามและมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่นักท่องเที่ยวอย่างพร้อมมูล

สนับสนุนโครงการโขง-ชี-มูล
ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการโครงการนี้เป็นการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงขึ้นมา และสูบน้ำส่งต่อเป็นช่วงๆ ต่อไป เพื่อส่งน้ำไปใช้ในพื้นที่การเกษตร ในการนี้จะมีน้ำส่วนหนึ่งที่เหลือใช้จากพื้นที่การเกษตรไหลลงสู่แม่น้ำมูล และเมื่อปล่อยออกทางเขื่อนปากมูล ทำให้สามารถเพิ่มการผลิตไฟฟ้าได้อีก

ส่งเสริมการลงทุน
ให้ผลดีต่อเศรษฐกิจและการลงทุนในจังหวัดอุบลราชธานี กระจายรายได้สู่ประชาชนในท้องถิ่นโดยกว้างขวาง

การคมนาคม
ให้ผลดี สันเขื่อนปากมูลใช้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำมูลได้ อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้อำเภอโขงเจียม กำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดอุบลราชธานี

สรุป
เขื่อนปากมูลใช้เวลายาวนานในการแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นตราบจนเสร็จสิ้นการก่อสร้าง ประโยชน์ที่ได้แก่ส่วนรวมนั้นคุ้มค่าต่อความพยายามของผู้ดำเนินการ ปัญหาและขัอสงสัยทั้งมวลได้ถูกลบล้างด้วยความจริงอันได้ปรากฏชัดเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ การดำเนินงานโดยรอบคอบด้วยความห่วงใยและเอาใจใส่อย่างจริงจังต่อทุกปัญหา ทำให้เขื่อนปากมูลเป็นเขื่อนที่ทรงคุณค่าอีกแห่งหนึ่ง เป็นแหล่งพลังงานที่สะอาดปราศจากมลภาวะและราคาถูก เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญต่อ สภาวะเศรษฐกิจในท้องถิ่น และช่วยเสริมความมั่นคงแก่ระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ

tour-pak-moon-dam-ubon-ratchathani

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 2110 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์