ปราสาทยายเหงา สุรินทร์
ปราสาทยายเหงา
ตั้งอยู่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ เป็นศาสนสถานแบบขอม ที่ประกอบด้วย ปรางค์ 2 องค์ ตั้งเรียงกัน หันหน้าไปทิศตะวันออก ก่อด้วยอิฐ บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐ เป็นลวดลาย เช่น ที่กรอบหน้า บันเป็นรูปมังกร (สร้างผสมระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาค 5 เศียร ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้น ในศิลปะแบบบายัน ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 18 กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อ 8 มีนาคม 2478
ปราสาทยายเหงา ตั้งอยู่ที่บ้านสังขะ ตำบลสังขะ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมถนนสายโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) ระหว่าง กม. 189-190 แยกไปตามทางลูกรังอีก 800 เมตร เป็นศาสนสถานแบบขอมที่ประกอบด้วยปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐเป็นลวดลายเช่นที่กรอบหน้าบัน เป็นรูปมกร (สัตว์ผสมระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาคห้าเศียรจากลักษณะแผนผังของอาคารน่าจะประกอบด้วยปราสาท 3 องค์ตั้งเรียงกัน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2 องค์ บริเวณปราสาทพบกลีบขนุนยอดปรางค์ เสาประดับกรอบประตู แกะสลักจากหินทราย จัดแสดงไว้ด้านหน้าปราสาท
การเดินทางห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะ ประมาณ 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 24 โชคชัย-เดชอุดม) ระหว่างกิโลเมตรที่ 189-190 แยกไปตามทางลูกรังอีก 800 เมตร