รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ฮีตสิบสอง ลาว

ฮีตสิบสอง

ฮีต หมายถึง จารีต
สิบสอง หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนในรอบหนึ่งปี ชาวหลวงพระบางมีงานประเพณีครบทั้งสิบสองเดือนในหนึ่งปี

เดือนอ้าย:บุญเข้ากรรม
ช่วงที่จัดเดือนธันวาคม ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว
ลักษณะงาน:จุดประสงค์ของงานนี้เพื่อให้พระภิกษุ เข้าพิธีกรรมปลงอาบัติด้วยการอยู่ในเขตที่จำกัด เพื่อชำระจิตใจให้สะอาด

เดือนยี่:บุญคูณลาน
ช่วงที่จัดหลังฤดูเก็บเกี่ยว
ลักษณะงาน:ก่อนที่จะนำข้าวที่นวดแล้วไปเก็บในยุ้งข้าว จะมีการทำบุญขวัญข้าว มีการนิมนต์พระภิกษุมาสวดเป็นสิริมงคล และเป็นนิมิตรหมายที่ดีให้ปีต่อๆไปทำนาเกิดผลดียิ่งๆขึ้น

เดือนสาม:บุญข้าวจี่
ช่วงที่จัดหลังงานมาฆะบูชา
ลักษณะงาน:ชาวนาจะนำข้าวจี่หรือข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว ปั้นเป็นก้อนเท่าไข่เป็ดทาเกลือ นำไปเสียบไม้ย่าง จากนั้นตีไข่ทาให้ทั่วแล้วย่างจนไข่สุกและถอดไม่เสียบออกนำน้ำตาลอ้อยยัดลงตรงกลางเป็นไส้ นำถวายพระสงฆ์ในช่วงที่หมดฤดูทำนาแล้ว เพื่อเป็นการทำบุญ

เดือนสี่:บุญพระเวส
ช่วงที่จัดเดือนสี่ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้
ลักษณะงาน:งานบุญพระเวสหรืองานบุญมหาชาติ เช่นเดียวกับงานฟังเทศพระเวสสันดรชาดกอันเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ ชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งประดับประดาโรงธรรมด้วยดอกไม้ใช้ดอกบัวประดับธรรมมาสน์ มีการจัดรูปขบวนแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีออกจากป่าเข้าในเมืองไปสิ้นสุดที่พระอุโบสถ มีการเทศน์มหาเวสสันดร

เดือนห้า:บุญสงกรานต์
ช่วงที่จัดตรุษสงกรานต์
ลักษณะงาน:นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดและยังถือเป็นวันปีใหม่ของลาวเช่นเดียวกับของไทย

วันแรกของงานเรียกว่า “วันสงขารล่อง” ชาวหลวงพระบางจะไปจับจ่ายซื้อของและธงรูปพระพุทธเจ้า เพื่อไปปักกองเจดีย์ทรายริมแม่น้ำโขง ตกเย็นมีการลอยกระทง ภายในกระทงบรรจุกล้วย ขิง ข้าวดำ ข้าวแดง ดอกไม้ ใบพลู ธูป เทียน ดอกดาวเรือง ผมและเล็บของผู้ลอย อธิษฐานให้ทุกข์โศกโรคภัยลอยไปกับกระทง

วันที่สอง เรียกว่า “วันเนา” ช่วงเช้ามีการแห่รูปหุ่นเชิดปู่เยอย่าเยอและสิงห์แก้ว สิงห์คำ ช่วงบ่ายขบวนแห่ซึ่งนำโดยปู่เยอย่าเยอ ผู้เฒ่าผู้แก่ หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ขบวนพระสงฆ์ นางสงกรานต์ (นางวอ) ขี่สัตว์พาหนะบนรถแห่ ปู่เยอย่าเยอก็จะฟ้อนรำ อวยพระให้ลูกหลาน

วันที่สาม เรียกว่า “วันสังขารขึ้น” ชาวหลวงพระบางทำข้าวเหนียวนึ่งและนมลูกกวาด พากันเดินขึ้นภูษี ภูเขาสูงกลางเมืองหลวงพระบาง ระหว่างเดินจะวางข้าวเหนียวและขนมไว้

เดือนหก:บุญบั้งไฟ
ช่วงที่จัดเดือนหกก่อนฤดูกาลทำนามาถึง ย่างเข้าฤดูฝน
ลักษณะงาน:คล้ายกับงานบุญบั้งไฟของภาคอีสาน จุดประสงค์เพื่อบูชาหลักเมือง และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ปีใดที่ไม่มีการทำบุญบั้งไฟเชื่อว่าปีนั้นจะเกิดเภทภัยต่างๆ และเป็นสัญญาณว่าฤดูการทำนาจะเริ่มต้นแล้ว นับเป็นงานที่กระทำกันมาแต่โบราณ

เดือนเจ็ด:บุญซำฮะ
ช่วงที่จัดเดือนเจ็ด
ลักษณะงาน:งานเล็กๆ แต่สำคัญ จุดประสงค์เพื่อเป็นการชำระล้างเสนียดจัญไร ที่จะเกิดกับบ้านเมือง เพื่อให้บ้านเมืองมีความสงบสุข

เดือนแปด:บุญเข้าพรรษา
ช่วงที่จัดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
ลักษณะงาน:เป็นการเริ่มต้นฤดูเข้าพรรษาเหมือนชาวไทย พระสงฆ์จะหยุดออกบิณฑบาตรเป็นเวลา 3 เดือนตามพุทธบัญญัติ นับแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไปในวันแรกนี้จะมีการทำบุญกันที่วัดต่างๆ

เดือนเก้า:บุญห่อข้าวประดับดิน การส่วงเฮือ และการล่องเฮือไฟ
ช่วงที่จัดเดือนเก้า
ลักษณะงาน:บุญห่อข้าวประดับดิน เป็นการทำพิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้กับวิญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณไร้ญาติให้ออกมารับส่วนบุญ ชาวบ้านจะนำอาหารหวานคาว บุหรี่ หมาก พลู ใส่ลงในกรวยใบตองไปวางตามพื้นดินหรือใต้ต้นไม้บริเวณรั้วบ้าน รั้ววัด

การส่วงเฮือ
ส่วง หมายถึง แข่งขัน
เฮือ หมายถึง เรือ
เป็นงานบุญแข่งเรือประจำเดือนเก้า ทุกคุ้ม (หมู่บ้าน) จะนำเรือเข้าแข่งขัน ในอดีตการแข่งเรือถือเป็นการฝึกซ้อมฝีพายเพื่อต่อสู้ข้าศึกที่มาทางน้ำ ปัจจุบันนับเป็นงานบุญที่สนุกสนานงานหนึ่งของชาวหลวงพระบาง

เดือนสิบ:บุญข้าวสาก
ช่วงที่จัดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10
ลักษณะงาน:จุดประสงค์ของการจัดงานเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คนตายหรือเปรต ห่างจากงานวันบุญข้าวประดับดิน 15 วัน อันเป็นเวลาที่เปรตต้องกับไปยังที่อยู่ของตน

เดือนสิบเอ็ด:บุญออกพรรษา
ช่วงที่จัดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
ลักษณะงาน:เป็นงานตักบาตรเทโว มีการจัดอาหารไปถวายพระภิกษุสามเณร มีการกวนข้าวทิพย์ (กระยาสารท) ถวาย มีการถวายผ้าจำนำพรรษาและปราสาทผึ้ง โดยการนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปปราสาท ตกแต่งสวยงาม จัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งไปถวายพระในตอนค่ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ

เดือนสิบสอง:บุญกฐิน
ช่วงที่จัดแรม 1 ค่ำ เดือน 11 – เดือนเพ็ญ เดือน 12
ลักษณะงาน:เป็นการถวายผ้าแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษามาตลอดช่วงเข้าพรรษา นับเป็นงานบุญที่กระทำกันมาแต่โบราณ

หรือ

มกราคม
งานบุญผเวต มีการเทศน์พระเวสสันดรชาดก (คนไทยเรียกว่า เทศน์มหาชาติ) วัดต่างๆ จะจัดงานฉลอง 3 วัน มีบวชเรียนกันในช่วนนี้

กุมภาพันธ์
งานบุญมาฆบูชา ชาวลาวจะไปวัด สวดมนต์ ทำบุญตักบาตร และเวียนเทียนที่ปราสาทวัดพู เมืองจำปาสัก ซึ่งจะมีงานฉลองที่ยิ่งใหญ่มากที่สุด มีการแข่งขันขบวนแห่หมอดู การละเล่นต่างๆ การแสดงละครพื้นบ้าน และผู้ชายลาวนิยมวิ่งช้าง ชนควาย ชนไก่ และการละเล่นเต้นรำพื้นบ้าน

งานตรุษจีน ชาวจีนและเวียดนามในลาวฉลองปีใหม่ จัดขบวนแห่ไปทำบุญที่วัดจีน วัดเวียดนาม

มีนาคม
วันสตรีแห่งชาติ เป็นวันหยุดราชการ

เมษายน
วันปีใหม่ของลาว ตรงกับ 13 เมษายน เช่นเดียวกับไทย พม่า เขมร ทางราชการให้ หยุดงานเพียง 3 วัน แต่คนมักจะหยุดงานกันทั้งสัปดาห์ ชาวบ้านจะอัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดเพื่อสรงนํ้าด้วยนํ้าอบนํ้าปรุง แล้วเล่นสาดนํ้ากันตามท้องถนน ถือว่าเป็นการชำระล้างร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด พร้อมทั้งอำลาฤดูแล้งที่กำลังจะผ่านไป ชาวลาวจะไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ก่อพระเจดีย์ทรายหรือพระเจดีย์หินที่ลานวัด ถ้าเป็นหลวงพระบางก็จะก่อกันบนฝั่งแม่นํ้าโขง เพื่อให้มีความสุข สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงตลอดปีใหม่ มีขบวนแห่ใหญ่โต ชาวบ้านแต่งชุดประจำชาติ มีการละเล่นพื้นเมือง การแสดง ดนตรี ประกวดนางสงกรานต์ และงานออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมต่างๆ อีกด้วย

พฤษภาคม
งานบุญวิสาขบูชา ชาวบ้านจะไปทำบุญให้บรรพบุรุษที่วัด มีการสวดมนต์ ฟังเทศน์ เวียนเทียน และงานบุญบั้งไฟ ชาวบ้านจะรวมกลุ่มทำบั้งไฟด้วยไม้ไผ่เอาไว้ทำการจุดให้พุ่งขึ้นไปบนฟ้า เพื่อเป็นการเตือนเทวดาให้บันดาลให้ฝนตก พืชพันธุ์ธัญญาหารจะได้อุดมสมบูรณ์

กรกฎาคม
งานบุญวันเข้าพรรษา (เข้าวัสสา) ที่ผู้ชายลาวนิยมบวชเรียนในช่วงนี้

สิงหาคม/กันยายน
งานบุญห่อข้าวประดับดิน เป็นงานเคารพสักการะบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยการไปทำบุญที่วัด แล้วนิมนต์ให้พระสงฆ์สวดอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย

ตุลาคม/พฤศจิกายน
งานบุญออกพรรษา เป็นเครื่องแสดงว่าช่วงเข้าพรรษา 3 เดือนในฤดูฝนของพระสงฆ์ได้สิ้นสุดลงแล้ว มีการทำบุญเลี้ยงพระ ทำทาน เวียนเทียน ลอยกระทงในแม่นํ้าโขง ระลึกถึงบุญคุณของแม่พระคงคา รวมทั้งมีการลองประทีปโคมไฟและงานแข่งเรือยาวในแม่นํ้าโขงในวัดถัดมา

พฤศจิกายน
งานบุญธาตุหลวง จัดขึ้น 3 วัน ที่พระธาตุหลวงและบริเวณโดยรอบพระสงฆ์หลายร้อยรูปบิณฑบาตและรับดอกไม้บูชาจากพุทธศาสนิกชน มีการเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ จุดพลุดอกไม้ไฟ รวมถึงการออกร้านขายสินค้าต่างๆ เป็นเวลา 7 วัน

ธันวาคม
งานวันชาติลาว มีพิธีการสวนสนามของกองทัพ โดยในวันนี้ประชาชนจะประดับสัญลักษณ์รูปค้อนและเคียวตามที่สาธารณะทั่ว ๆ ไปงานปีใหม่ของชาวม้ง ชาวม้งจะแต่งกายชุดประจำเผ่าสีสันสวยงาม เล่นดนตรีลักษณะคล้ายแคน และมีการละเล่นต่างๆ เช่น ลูกบอล ใยฝ้าย ชนวัว แข่งขันโล้ชิงช้า และการแสดงยิงหน้าไม้

วันตลาดนัด ลาว

วันตลาดนัดหรือมื้อเลาะตะหลาด

จะมีขึ้นทุกครั้งยามมีงานบุญในเมืองหลวงพระบาง เริ่มตั้งแต่สี่แยกใจกลางเมืองไปจนถึงถนนพูว่าว เป็นโอกาสให้ชาวบ้านได้หาซื้อข้าวของเครื่องใช้สำหรับงานบุญและชีวิตประจำวัน ระยะหลังมีสินค้าจำพวกของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยววางจำหน่ายด้วย

งานบุญข้าวประดับดิน ลาว

งานบุญข้าวประดับดินหรืองานบุญเดือนเก้า

งานบุญข้าวประดับดิน หรือบุญเดือน 9 ถือเป็นงานบุญตามประเพณีสำคัญที่สุด รองจากงานบุญปีใหม่หรือบุญเดือน 5 บุญข้าวประดับดินเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ รวมทั้งวิญญาณเร่ร่อนทั้งหลาย ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับการปลดปล่อยออกจากนรกภูมิในวันนี้

ในตอนเช้ามืดของวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 เป็นห้วงเวลาที่ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับจะออกจากภพภูมิของตนเพื่อมาัรับส่วนบุญในภพมนุษย์ได้ ชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวานใส่กระทงใบเล็ก พร้อมด้วยข้าวห่อโป้ หรือใบตองกล้วยทำเป็นกรวยใส่ผลไม้หลายชนิด ไปวางตามข้างทางหรือเจดีย์ในวัด เพื่อเป็นทานให้แก่ผู้ล่วงลับ ตามความเชื่อที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ถือเป็นหนึ่งในฮีตสิบสองของชุมชนสองฝั่งแม่น้ำโขงมาแต่โบราณ

สิ่งที่น่าสนใจในงานบุญข้าวประดับดิน
ข้าวห่อโป้
สำหรับในงานบุญข้าวประดิน ก่อนพระสงฆ์ออกบิณฑบาต ชาวบ้านจะนำข้าวห่อโป้ อันประกอบไปด้วย ผลไม้หลายชนิดบรรจุห่อรัดในกรวยตองกล้วยขนาดใหญ่ ไปวางไว้ตามวัดหรือตามถนนหน้าบ้าน เพื่อเป็นทานให้แก่ภูติผี-วิญญาณเร่ร่อนตามความเชื่อถือซึ่งมีมาแต่บรรพชน และนี่เองเป็นที่มาของของชื่อ "บุญข้าวประดับดิน"

ข้าวต้มมัด
ชาวหลวงพระบางนิยมใส่ข้าวต้มผัดแทนข้าวเหนียวเปล่าในวันบุญข้าวประดับดิน ก่อนวันงานบุญ 1 วัน ทุกบ้านจึงต้องตระเตรียมทำข้าวต้มผัดสำหรับถวายพระสงฆ์

ข้าวต้มผัด
สำหรับในวันบุญข้าวประดับดิน ชาวหลวงพระบางนิยมใส่ข้าวต้มผัดแทนข้าวเหนียวเปล่า เหมือนดังการใส่บาตรปกติ ก่อนงานบุญ ๑ วันทุกบ้านจึงต้องเตรียมทำข้าวต้มผัดสำหรับถวายพระสงฆ์

งานบุญปีใหม่ ลาว

งานบุญปีใหม่ลาวหรืองานประเพณีบุญเดือน 5
ประเพณีบุญปีใหม่หรือบุญเดือน ๕ ซึ่งบางคนนิยมเรียกว่า "ปีใหม่ลาว" จะจัดขึ้นในช่วงวันเพ็ญของเดือนเมษายน จะเหลื่อมกับเทศกาลสงกรานต์ของไทยประมาณ 1-2 วัน มักอยู่ประมาณวันที่ 13-16 เมษายน บุญปีใหม่ของหลวงพระบางถือเป็นเทศกาลบุญประเพณีที่ใหญ่ที่สุดในลาว นอกจากชาวหลวงพระบางแล้ว ยังมีชาวลาวแขวงอื่นและชาวลาวโพ้นทะเลเดินทางกลับมาท่องเที่ยวด้วย

บุญปีใหม่ของหลวงพระบางถือเป็นเทศกาลประเพณีใหญ่ที่สุดในเมืองลาว นอกจากชาวหลวงพระบางแล้ว ยังมีชาวลาวแขวงอื่นและชาวลาวโพ้นทะเลเดินทางกลับมาท่องเที่ยวด้วย เมื่อรวมกับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแล้ว ในหลวงพระบาง บางช่วงบุญปีใหม่นี้จึงมีจำนวนผู้คนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจากช่วงเวลาปกติ ห้องพักตามโรงแรมและบ้านพักในหลวงพระบางเต็มหมด ร้านอาหารมีลูกค้าอุดหนุนตลอดทั้งวัน ราคาสินค้า – อาหาร – ที่พัก แพงขึ้น

ก่อนถึงช่วงปีใหม่ลาวประมาณ 1 สัปดาห์ ชาวหลวงพระบางจะพากันซ่อมแซม ทำความสะอาดบ้านเรือน นิมนต์พระสงฆ์มาสวดทำบุญบ้าน แล้วกินเลียงฉลองกันในหมู่เพื่อนบ้านญาติมิตรในตอนเย็น ผู้ชายมักตัดผมก่อนถึงช่วงปีใหม่ ถือเป็นเคล็ดให้โชคดีก่อนข้ามปี แม้ในห้วงยามนี้ชาวหลวงพระบางจะฉลองปีใหม่กัน 7 วัน 7 คืน แต่ในส่วนพิธีตามประเพณีแล้ว ปีใหม่ลาวในหลวงพระบางจะมีวันสำคัญอยู่ 3 วันคือ วันสังขานล่อง วันเนา และวันสังขานขึ้น

วันสังขานล่อง(วันสังขานล่วง)
ถือเป็นวันสิ้นปี ส่วนใหญ่มักตรงกับวันที่ 13 เมษายน ตามปฏิทิน ตอนเช้ามีตลาดนัดบริเวณสี่แยกใจกลางเมือง ไปตามถนนเจ้าฟ้างุ้ม วงเวียนน้ำพุ จนไปถึงสนามหน้าวัดธาตุหลวง ชาวหลวงพระบางจะมาเที่ยวซื้อของและเครื่องบุญสำหรับทำบุญในช่วงปีใหม่ ตกตอนบ่ายชาวเมืองจะข้ามฟากไปยังหาดทรายริมแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามหลวงพระบาง เพื่อก่อเจดีย์ทราย หรือตบทาดซาย ตามชายฝั่งมีซุ้มรำวง มีแผงขายอาหารเครื่องดื่ม เป็นช่วงสนุกสนานรื่นเริงส่งท้ายปีเก่าของชาวเมืองหลวงพระบาง พอก่อเจดีย์ทรายเสร็จแล้ว ชาวบ้านจุะขึ้นไปสรงน้ำพระธาตุจอมเพชรบนเขาหลังหาดทราย ประเพณีเดินขึ้นเขาสรงน้ำพระธาตุจอมเพชรมีเฉพาะช่วงวันสิ้นปีหรือวันสังขานล่องเท่านั้น พอตกตอนค่ำจะลอยกระทงในแม่น้ำโขง ถือเป็นการลอยเคราะห์กรรม และสิ่งอัปมงคลทั้งหลายในรอบปีให้ไหลล่วงไปกับสายน้ำในวันสิ้นปี

วันสังเนา
เป็นวันที่ 2 ของเทศกาลสงกรานต์ลาว ถือเป็นวันกึ่งกลางระหว่างศักราชเก่ากับศักราชใหม่ วันนี้ขบวนแห่วอ จากวัดมะหาทาด หรือวัดทาดน้อย มาตามกลางถนนกลางเมืองไปยังวัดเชียงทอง

ขบวนประกอบด้วยคณะสงห์ของเมือง ขบวนปู่เยอ-ย่าเยอ ซึ่งเป็นจุดรวมความสนใจที่สุด และขบวนนางสังขาน(นางสงกรานต์) ซึ่งเชิญศีรษะท้าวกบิลพัสตร์นั่งมาบนสัตว์พาหนะซึ่งทำจากโครงลวดและไม้ไผ่กรุด้วยกระดาษ มีขบวนช้าง ขบวนฟ้อนนางก้ว และขบวนการแสดงของชนเผ่าลาวเผ่าต่างๆ เข้าร่วมด้วย ขณะที่ขบวนแห่วอผ่านมานั้น ชาวบ้านจะพากันออกมาสรงน้ำพระสงฆ์ หลังจากนั้น ผู้ที่ไม่ได้ติดตามขบวนไปถึงวัดเชียงทอง ก็จะเล่นสาดน้ำกันอยู่กลางถนนเป็นที่สนุกสนาน ขบวนแห่วอและนางสังขานทั้งเจ็ดนั้น จะมาสิ้นสุดที่วัดเชียงทองเชิญศีรษะท้าวกบิลพัสตร์เข้าไปฟังธรรมเทศนาจากคณะสงฆ์ในสิมวัดเชียงทอง

หัวใจของงานอยู่ที่พระบาง พระพุทธรูปอันเป็นสัญลักษณ์อาณาจักรลาวและเป็นที่มาของชื่อเมือง งานประเพณีบุญเดือนห้าเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าฤดูเพาะปลูกได้เวียนมาถึงอีกครั้ง เมื่อกลางวันเริ่มยาวนานขึ้น พร้อมๆ กับสายฝนที่เริ่มโปรยปราย ผู้คนทุกชั้นวรรณะจะมาเฉลิมฉลองทำบุญร่วมกัน ไม่ต่างจากงานประเพณีเดือนสิบสอง

โดยในสมัยโบราณนั้นจะจัดงานกันนานถึงสามสัปดาห์ เพราะมีทั้งงานพิธี พิธีกรรม การละเล่น และขบวนแห่ต่างๆ มากมาย ดังเคยมีผู้บรรยายไว้ว่า “ เสียงฆ้องกลองรำมะนาดังกึกก้องกังวาน ในขณะที่ขบวนแห่งของชาวเมืองเคลื่อนไปตามท้องถนน ซึ่งประดับประดาด้วยกระดาษหลากสีพร้อมสัญลักษณ์จักรราศีปลิวไสว” หน้าขบวนมีช้างนำหลายเชือก แม้แต่พวกชาวเขาก็เข้ามาร่วมด้วยเช่นกัน

วันสังขานขึ้น
ถัดจากวันเนา 1 วัน ถือเป็นวันเริ่มต้นศักราชใหม่หรือวันขึ้นปีใหม่ ชาวหลวงพระบางนอกจากจะใส่บาตรพระสงฆ์กันตามปกติแล้ว ยังเดินขึ้นพูสีเพื่อ "ตักบาตรพูสี" เป็นประเพณีซึ่งปฏิบัติกันปีละครั้งเท่านั้น ทุกคนจะแต่งกายสวยงามตามวัฒนธรรมลาว ระหว่างการเดินจะวางข้าวเหนียวก้อนเล็กๆ ไว้ตามก้อนหิน โคนไม้ เชิงบันได ฯลฯ ตลอดเส้นทางสู่ยอดเขา เพื่อเป็นทานให้แก่สรรพสัตว์ เมื่อถึงองค์พระะาตุก็จะปั้นข้าวเหนียวแล้วโยนขึ้นไปยังยอดพระธาตุ เป็นการตักบาตรให้องค์พระธาตุพูสี

ครั้นช่วงบ่ายจะแห่วอจากวัดเชียงทองกลับวัดมะหาทาด นับว่าเป็นการเสร็จสิ้นพิธีกรรมในเทศกาลปีใหม่ของหลวงพระบาง และสิ้นสุดภาระหน้าที่ของนางสังขานทั้งเจ็ด

สิ่งที่น่าสนใจในเทศกาลปีใหม่ลาว
แห่พระบาง
วันต่อมาหลังจากวันสังขานขึ้น จะมีพิธีแห่พระบางซึ่งปกติประดิษฐานอยู่ในหอพิพิธภัณฑ์หรือพระราชวังเดิม โดยมีขบวนแถวของพระสงฆ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และผู้เฒ่าผู้แก่ของเมือง อัญเชิญพระบางออกจากหอพิพิธภัณฑ์มาตั้งที่ปะรำพิธีในวัดใหม่สุวันนะพูมารามเป็นเวลา 3 วัน เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำพระบางอย่างใกล้ชิด

ปู่เยอ – ย่าเยอที่เมืองหลวงพระบางนั้น ถูกเก็บไว้ที่หอเสื้อเมือง(หอเทวดาหลวง) ที่วัดอาราม (บางคนเรียก วัดอาฮาม) ที่อยู่ใกล้ ๆ วัดพระธาตุหมากโม ตามปกติหอเสื้อเมืองหรือหอเทวดาหลวง นี้จะถูกปิดตายและจะเปิดเฉพาะวันสงกรานต์เท่านั้น ที่จะมีพิธีการเชิญรูปหุ่นจำลอง ปู่เยอ ย่าเยอ ออกมาจากหอเสื้อเมือง

งานแห่นี้จะจัดขึ้นวันที่สองของวันสงกรานต์หรือ ที่เรียกว่า วันเนา ตอนเช้าจะมีการอัญเชิญรูปหุ่นเชิด ปู่เยอ ย่าเยอ สิงห์แก้ว สิงห์คำ ( สิงห์แก้ว และสิงห์คำ เป็นสิงห์ที่ปู่เยอ ย่าเยอเอามาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม) จากหอเสื้อเมืองนี้ ทำพิธีไหว้และถวายเครื่องทาน จากนั้นก็แห่ไปตักน้ำที่แม่น้ำคานบริเวณ ผาบัง ใกล้กับสะพานเหล็กที่ฝรั่งเศสสร้างขึ้นในสมัยลาวยังเป็นอาณานิคม

เพราะเชื่อว่าบริเวณนั้นมีพญานาคตนหนึ่งชื่อ อ้ายคำหล้า อาศัยอยู่ น้ำที่ถูกตักขึ้นมาจะเก็บไว้ในไหดิน เพื่อให้ปู่เยอ ย่าเยอนำไปสรงน้ำพระบาง จากนั้นในตอนบ่ายก็จะแห่ ปู่เยอ ย่าเยอ ตามด้วยผู้เฒ่า ผู้แก่หัวหน้าหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ขบวนพระสงฆ์ นางสังขาร หรือนางวอ (นางสงกรานต์) ขี่สัตว์พาหนะ ปู่เยอ ย่าเยอ จะฟ้อนรำอวยพรให้ลูกหลานได้พบกับความสมบูรณ์พูนสุขไปรอบๆ เมือง

การเต้นของปู่เยอย่าเยอจะเต้นถวายพระธาตุหน้าสิมวัดอาฮามซึ่งเป็นหลักเมืองของหลวงพระบาง และเมื่อจะเก็บชุดเข้าหอก็ต้องเต้นถวายพระธาตุหมากโมก่อนด้วย
นางสังขาน(นางสงกรานต์) คือผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนางสังขานจะต้องเป็นสาวงามชาวหลวงพระบางเท่านั้น ซึ่งจะพิจารณาจากกิริยามารยาท ความรอบรู้ปฏิภาณ และที่ขาดไม่ได้คือความสวยงามสมกับเป็นแม่หญิงลาว สถานที่จัดงานประกวดนางสังขานของหลวงพระบางคือ สนามหลวงหรือสนามกีฬาเก่าของเมืองหลวงพระบาง

ข้ามฟากแม่น้ำโขงในวันสังขานล่องตั้งแต่ช่วงบ่าย ผู้คนจะข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งตัวเมืองไปยังฟากตรงกันข้าม เพื่อร่วมก่อเจดีย์ทรายและขึ้นไปสรงน้ำพระธาตุจอมเพชพ มีขบวนเรือโดยสารนับร้อยลำที่แล่นสวนกันไปมาในแม่น้ำโขง เป็นภาพน่าตื่นตาตื่นใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

วันตลาดนัด หรือมื้อเลาะตะหลาด
มีขึ้นทุกครั้งยามมีงานบุญในเมืองหลวงพระบาง เป็นโอกาสให้ชาวบ้านได้หาซื้อของเครื่องใช้สำหรับงานบุญและชีวิตประจำวัน ระยะหลังมีสินค้าจำพวกของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยววางจำหน่ายด้วย

ขบวนเรือข้ามฟากกลางน้ำโขง
ในวันสังขานล่องตั้งแต่ช่วงบ่าย ผู้คนจะข้ามแม่น้ำโขงจากฝั่งตัวเมืองไปยังฟากตรงข้าม เพื่อร่วมกันก่อเจดีย์ทรายและขึ้นสรงน้ำพระธาตุจอมเพชร ขบวนเรือโดยสารนับร้อยลำที่แล่นสวนกันไปมาในแม่น้ำโขง เป็นภาพน่าตื่นตาสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

นางสังขาน
ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นนางสังขานจะต้องเป็นสาวงาม ชาวหลวงพระบางเท่านั้น ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่ของเมืองจะพิจารณาตั้งแต่เรื่องกิริยามารยาท ความรอบรู้ปฏิภาณ และที่ขาดไม่ได้คือ ความสวยงานสมกับเป็นแม่หญิงลาว



ปู่เยอ – ย่าเยอ
การเต้นของปู่เยอ – ย่าเยอ มีหลายครั้งด้วยกัน เช่น เมื่อแห่ชุดปู่เยอ - ย่าเยอลงจากหอเก็บในวัดอาฮามแล้ว หลังจากกราบพระในสิม ปู่เยอ - ย่าเยอก็จะเต้นถวายพระธาตุหน้าสิมวัดอาฮาม ซึ่งเป็นหลักเมืองของหลวงพระบางตั้งแต่สมัยเจ้าฟ้างุ้มสร้างเมืองเชียงดง – เชียงทองเมื่อ ๖๐๐ กว่าปีที่แล้ว และเมื่อจะเก็บชุดเข้าหอก็ต้องเต้นถวายพระธาตุหมากโมก่อนด้วย นอกจากนี้เมื่อขบวนแห่วอมาถึงวัดเชียงทอง ปู่เยอ - ย่าเยอจะเต้นที่ลานข้างสิมหน้าโรงเมี้ยนโกศ เพื่อถวายพระเจ้าภายในสิม

***ปู่เยอ – ย่าเยอ
“ปู่เยอ –ย่าเยอ” เป็นเทวดาหลวงหรืออารักษ์เมือง ซึ่งเป็นที่นับถืออย่างสูงของชาวลาวทั่วไป ตามตำนานขุนบรมเล่าว่า ปู่เยอ – ย่าเยอเป็นผู้มีบุญคุณกับคนลาวมาก ครั้งที่ชาวลาวยังอยู่ในบริเวณเมืองแถน ได้เกิดอาเพศมีเครือเขากาดขึ้นสูงบังตะวันมุงบ้านเมืองจนมืดมิด ขุนบรมผู้เป็นเจ้าเมืองได้หาผู้อาสาไปฟันเครือเหล่านี้ จึงมีสองผู้เฒ่าออกไปช่วยกันตัดเครือเขากาดอยู่ ๓ เดือน ๓ วัน จึงขาดหมดสิ้นและล้มทับสองเฒ่าจนตายในทันที ทำให้ชาวบ้านศรัทธาเฒ่าทั้งสองสืบต่อจนถึงทุกวันนี้ เมื่อชาวบ้านจะกินข้าว จะทำการสิ่งใด มักเรียกหาสองเฒ่านี้ด้วยถ้อยคำว่า “ปู่มาเย้อ ย่ามาเย้อ” “ปู่มาเย้อ ย่ามาเย้อ” ก่อนเสมอ

ในขบวนแห่วอจะเห็นชุดปู่เยอ – ย่าเยอมีหน้ากลมๆ ขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้ประดู่ทาสีแดง ตามตัวมีขนยาวรุงรังทำจากปอ และมีตัว “สิงแก้ว” เป็นสัตว์เลี้ยง ชุดปู่เยอ - ย่าเยอและสิงแก้วนี้เป็นของที่ตกทอดคู่เมืองมาแต่โบราณ และมีการซ่อมแซมกันมาตลอด เพราะทุกปีปู่เยอ – ย่าเยอมักถูกชาวบ้านดึงขนออกไปคนละหยิบสองหยิบ คนหลวงพระบางถือเคล็ดว่าถ้าใช้ขนของปู่เยอ – ย่าเยอผูกข้อมือให้เด็ก จะช่วยป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้ายไม่ให้มากล้ำกรายเด็กได้ เด็กคนไหนชอบร้องไห้ พ่อแม่จะหาขนของปู่เยอ – ย่าเยอมาผูกข้อมือให้

ปกติชุดใส่เชิดปู่เยอ – ย่าเยอเก็บรักษาอยู่ที่วัดอาฮาม ติดกับวัดวิชุน และนำออกจากหอเก็บมาใช้เฉพาะช่วงบุญปีใหม่เท่านั้น

ผู้ที่เล่นเป็นปู่เยอ – ย่าเยอและสิงแก้ว ต้องมาจากคนในสายมูลเชื้อเดียวกัน ซึ่งสืบทอดมาแต่อดีต ทั้งยังต้องทำพิธีเซ่นไหว้และครอบครูกันทุกครั้งก่อนสวมชุด ทั้งขาไปวัดเชียงทอง และกลับวัดมะหาทาด ต้องอยู่ในขบวนแห่พระบางออกจากหอพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งเป็นผู้ขึ้นสรงน้ำพระบางเป็นคู่แรกในปะรำ ณ วัดใหม่ ปู่เยอ - ย่าเยอจึงเป็นเสมือนหนึ่งตัวแทนของบรรพบุรุษชาวลาวทั้งมวล

***พระบาง
พระบางพุทธลาวรรณ หรือเรียกกันทั่วไปว่า “พระบาง” เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ตามตำนานว่า พระเจ้ากรุงอินทรปัตหรือกัมพูชาได้มาจากลังกาทวีป พระอรหันต์นามว่า จุลนาคเถระ ใน พ.ศ. ๔๓๖ เป็นผู้หล่อขึ้น โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานในองค์พระบางถึงหกตำแหน่ง วัตถุที่ใช้หล่อเป็นทองคำ ผสมทองแดงและเงิน โดยมีเนื้อทองคำถึง ๙๐%

เมื่อเจ้าฟ้างุ้มตีได้เมืองเชียงดง – เชียงทองแล้ว ทรงขอพระบางจากพระเจ้ากรุงอินทรปัตร ซึ่งเป็นพ่อตา มาไว้ที่เมืองเชียงดง – เชียงทอง จนถึงปี พ.ศ.๒๑๐๓ เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชย้ายเมืองหลวงจากหลวงพระบางลงมายังเวียงจันทน์เพื่อหนีศึกพม่านั้น ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมากรุงเวียงจันทน์ด้วย ส่วนพระบางถูกนำไปซ่อนในถ้ำทางฟากเมืองเชียงแมน พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเมืองเชียงทองเป็นนครหลวงพระบาง

อย่างไรก็ตามพุทธลักษณะของพระบางนั้น เป็นศิลปะแบบเขมรสมัยหลังบายนซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ นักประวัติศาสตร์ศิลปะหลายท่านลงความเห็นว่า พระบางน่าจะสร้างโดยฝีมือช่างเขมรโบราณมากกว่าช่างลังกา

พระบางนอกจากถือเป็นพระคู่เมืองหลวงพระบางแล้ว ยังเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดในประเทศลาวด้วย

งานซ่วงเฮือ ลาว

งานซ่วงเฮือ(การแข่งเรือยาว)
ในเดือน 9 นอกจากงานบุญข้าวประดับดินแล้ว สำหรับเมืองหลวงพระบางยังมีประเพณีซ่วงเฮือ หรือการแข่งเรือยาวด้วย การแข่งเรือยาวของหลวงพระบางเป็นประเพณีเก่าแก่และต่างจากแขวงอื่นของลาว ซึ่งมีบุญซ่วงเฮือในเดือน 11 ทั้งมิได้แข่งในแม่น้ำโขงอย่างแขวงอื่น แต่ใช้สายน้ำคานเป็นสนามประลองยุทธ์แทน

กล่าวกันว่า เดิมประเพณีแข่งเรือมีขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมกำลังชายชาวเมืองหลวงพระบางไว้สำหรับยามศึกสงคราม จะได้รู้ว่าชายหนุ่มผู้เข้มแข็งนั้นอยู่ที่คุ้มบ้านใดบ้าง ระยะทางที่แข่งขันจะยาวกว่าปัจจุบันและสามารถใช้กำลังต่อสู้ตัดสินผลแพ้ชนะของการแข่งเืรือได้ ด้วยเหตุนี้เรือแข่งเก่าตามวัดต่างๆ จึงมักมีความหนา น้ำหนักมาก เพื่อให้เข้าปะทะดี ส่วนเรือปัจจุบันแข่งกันที่ความเร็ว เรือที่ทำึขึ้นจึงเบาและบางขึ้น

เรือยาวหลวงพระบางรูปยาวเพรียว หัวท้ายเชิดงอน ต่างจากเรือยาวของไทย ผู้อยู่หัวเรือมีหน้าที่ขย่มหัวเรือให้ขึ้นน้ำในจังหวะที่รับการพายของฝีพายเพื่อเพิ่มความเร็ว คนหลวงพระบางจึงบอกว่า "เรือเมืองอื่นหย่มท้าย แต่เรือหลวงพระบางหย่มหัว"

ปัจจุบันจะคัดเลือกชายฉกรรจ์จากเรือนต่างๆ ในคุ้มบ้านมาเป็นฝีพาย เก็บตัวบำรุงร่างกายและฝึกซ้อมกันหลายสัปดาห์ เพื่อให้ชินกับกระแสน้ำ ให้เข้าใจจังหวะของการพาย และสร้างพละกำลังให้พร้อมที่สุดก่อนถึงวันแข่งขัน โดยใช้วัดเป็นสถานที่เก็บตัว

กล่าวกันว่าบุญเดือน ๙ เป็นฮีตคู่กับบุญเดือน ๕ หรือบุญสงกรานต์ ในอดีตยามบุญเดือน ๕ หลังจากทำบุญแล้ว ชาวเมืองจะเล่นสนุกสาดน้ำกัน ผู้หญิงมีสิทธิ์เอามินหม้อ (เขม่าดำก้นหม้อ) มอมหน้าผู้ชายได้ ครั้นถึงบุญเดือน ๙ ฝีพายในเรือก็มีสิทธิ์ร้องเพลงเกี้ยวพาราสีหญิงสาวบนฝั่งได้ โดยผู้หญิงไม่อาจถือโทษโกรธเคือง เนื่องจากเป็นประเพณีที่มีมาแต่ดั้งเดิม

สิ่งน่าสนใจ
เซ่นไหว้นาค
ตำนานพื้นเมืองกล่าวว่า หลวงพระบางได้รับการคุ้มครองจากนาค 15 ตน ซึ่งอาศัยอยู่ตามวังน้ำสำคัญรอบเมือง เรือทุกลำที่จะลงแข่งต้องเซ่นไหว้นาคเพื่อขออนุญาต และเพื่อเป็นสิริมงคล ทั้งยังเชื่อว่าจะทำให้ฝีพายที่ลงแข่งไม่เกิดอันตรายด้วย โดยคัดเลือกหญิงสาวแห่งคุ้มบ้านสองคนมาเป็นนางเรืออัญเชิญเครื่องบัตรพลีในพานถวายนาคสองตน ซึ่งคอยพิทักษ์รักษาห้วงน้ำบริเวณที่จะแข่งเรือ

โขนเรือ
ปกติโขนเรือเก็บอยู่ในหลังพระประธานในโบสถ์ ด้วยถือว่ามีผีสิงอยู่ จึงต้องให้อยู่กับพระ จะนำออกมาก็เฉพาะในวันแข่งเรือประจำปีเท่านั้น ก่อนลงสู่สายน้ำ จะทำพิธีโขนเรือ และแห่รอบโบสถ์สามรอบ มีพระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ เป็นสิริมงคลและสร้างขวัญกำลังใจให้เหล่าฝีพาย ซึ่งกำลังจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนคุ้มบ้านเข้าร่วมชิงชัยกลางสายน้ำคาน

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 2093 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์