วัดพระมารดาพระศาสนจักร นครศรีธรรมราช
วัดพระมารดาพระศาสนจักร
นครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคใต้ตอนกลางทางฝั่งอ่าวไทย เมืองนครศรีธรรมราช ห่างจากกรุงเทพไปทางใต้ ประมาณ 780 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีความสำคัญในด้านการปกครอง ด้านทหาร และด้านพุทธศาสนา นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา มีวัดพระมหาธาตุอันเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์มาแต่ครั้งอดีตกาล นานคู่กันมากับองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชมีผู้นับถือศาสนาอิสลาม เพราะเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน ผู้ปกครองประเทศสยามได้ย้ายพวกเขาจากปัตตานีมาอยู่ในเขตมณฑลนคร
เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองเก่าแก่ เหมือนกับปัตตานี ไชยา และสงขลา ในอดีต ตอนแรกชาวอินเดียเรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่า “ตำบราลิงกา” (Tambralinga-ตามพรลิงค์) เมืองนี้ได้เจริญรุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ.600-1000 เป็นเมืองสำคัญในอาณาจักรศรีวิชัย นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ต่อมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 เมืองนครศรีธรรมราชได้รับศาสนาพุทธนิกายเถรวาท จากอาจารย์ที่เดินทางจากศรีลังกา เผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ในพม่า ไทย และเขมร เป็นต้น
ในปี ค.ศ. 1330-1350 พระยาอู่ทอง ได้นำกองทัพเรือเดินทางไปทางใต้ ทำให้แหลมทองได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม จึงทำให้นครศรีธรรมราชและพื้นที่ในการปกครองของพระยานคร ได้ขึ้นกับอาณาจักรสยามไปด้วยอาณาจักรสยามได้ส่งเสริมนครศรีธรรมราชมากกว่าไชยยา เพราะพระยานครเป็นผู้ชื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยามาตลอดนครศรีธรรมราชยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองพระเพราะมีพระภิกษุจำนวนมากและวัดพุทธหลายแห่งเมื่อชาวโปรตุเกสได้เดินเรือมาถึงอ่าวไทยได้เรียกเมืองนี้ว่า “ลีกอร์” (Ligor) เหมือนกับที่เขา เรียกสงขลาว่า “สิงห์โกรา” เมื่อมีการปฏิรูปการปกครอง โดยพระปิยมหาราช มีการตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี ค.ศ. 1896 รวม 4 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง และตรัง
ไม่มีหลักฐานบ่งบอกว่าชาวโปรตุเกสได้เปิดวัดคาทอลิกในเมืองนครศรีธรรมราช ชาวคริสตนิกายโปรแตสเตนท์ เป็นพวกแรกที่ได้มาเผยแผ่ศาสนาในเมืองนี้ตั้งแต่สมัยรักาลที่ 4่ ต่อมาพวกเขาได้เปิดโรงเรียนและได้เอาใจใส่ดูแลสถานพยาบาลคนโรคเรื้อนที่พุดหง
กลุ่มคริสตชนคาทอลิก
ในปี ค.ศ.1935 คุณพ่อกาเยตาโน ปาซอตตี ได้เดินทางพร้อมกับคุณพ่อมารีโอ รูเซ็ตดู ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนคริสตชนทางภาคใต้เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน คุณพ่อทั้งสองได้แวะที่นครศรีธรรมราชเป็นเวลา 2 วัน คือวันที่ 1 8-20 ตุลา่คม เพราะว่าที่นี่มีศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ลูกของขุนหลวงนครต้องการพบคณพ่อ เขาทั้งสองพร้อมที่จะถวายที่ดินให้แก่มิสซังราชบุรี เมื่อมิสซังจะมาเปิดกิจการโรงเรียนที่นครศรีธรรมราช พระคุณเจ้าปาซอตตี และคุณพ่อมารีโอ ไม่ได้พบครอบครัวคาทอลิกที่นครเลยและได้สังเกตเห็นว่าที่นครศรีธรรมราชเป็นเมืองเก่า่แ่ก่ ของไทยมีวัดพุทธจำนวนมาก ส่วนคนจีนมีจำนวนน้อย คุณพ่อทั้งสองได้เดินทางไปเยี่ยมสถานพยาบาลคนโรคเรื้อนที่พุดหง พร้อมกับคุณหมอที่ดูแล แล้วจึงเดินทางต่อไปหาดใหญ่ (ดูภาคที่ 6 ประวัติสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี บทที่ 1.2 เรื่องการเยี่ยมเยียน)
ต่อมาคุณพ่อมารีโอเดินทางเป็นประจำทุกปี โดยผลันเปลี่ยนกับคุณพ่อการนินี (ในเทศกาลปัสกา) เพื่อมาเยี่ยมเยียนคริสตชนในภาคใต้ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1937 หลังจากที่ได้ถวายมิสซาบูชาขอบพระคุณในวันพระคริสตสมภพที่บ้านดอน ในวันที่ 26 คุณพ่อมารีโอได้เดินทางไปนครศรีธรรมราชเป็นครั้งที่ 3 (ดูภาคที่ 6 ประวัติสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี บทที่ 1.2 เรื่องการเยี่ยมเยียน) ในโอกาสนี้คุณพ่อมารีโอ ได้เขียนถึงพระคุณเจ้าปาซอตตีว่าคุณพ่อได้พบครอบครัวคริสตัง 2 ครอบครัวและได้ทราบว่าที่ปากพนังยังมีครอบครัวอื่นด้วย
นอกนั้นคุณพ่อยังได้พบครอบครัวต่างชาติและไทยที่ทุ่งสงด้วย ในโอกาสนี้เช่นเดียวกันคุณพ่อมารีโอ ได้คุยกับนายชินฮวด ลูกของคุณหลวงนครเกี่ยวกับโรงเรียน นายชินฮวด ได้พูดกับคุณพ่อว่า “ถ้ามิสซังราชบุรีมีโครงการที่จะเปิดโรงเรียนที่หาดใหญ่ คงจะต้องเสียใจมาก และท่านก็ชี้แจงเหตุผลหลายอย่างให้คุณพ่อทราบ” (ดูภาคที่ 6 ประวัติสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี บทที่ 1.2 เรื่องการเยี่ยมเยียน)
เมื่อมีการเปิดบ้านซาเลเซียนที่หาดใหญ่ในปี ค.ศ.1941 คุณพ่อจากหาดใหญ่จะเดินทางมาเยี่ยมเยียนครอบครัวคริสตังที่นครศรีธรรมราช ร่อนพิบูลย์ และทุ่งสงเป็นประจำ ในปี ค.ศ.1951 คุณพ่อยอแซฟ วีตาลี ยังได้เดินทางมาเยี่ยมนายชินฮวด เพื่อขอความช่วยเหลือในการสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนแสงทอง ส่วนที่นครศรีธรรมราชยังต้องรอคอยอีก 15 ปี กว่าจะมีโรงเรียนหรือวัดคาทอลิก
วัดพระมารดาพระศาสนจักร นครศรีธรรมราช
สมัยเยียมเยียนที่นครฯ ในปี ค.ศ.1968 มีผู้ถวายที่ดิน 1 งาน และบ้านไม้หนึ่งหลัง มิสซังจึงได้เปิดวัดเล็ก ๆ ชื่อว่า “พระมารดาพระศาสนจักร” ขึ้นในปี คจศ.1970 มีคุณพ่อเดียมันตีโน ปาดซา (Plaza Diamantino) มาอยู่ประจำที่ร่อนพิบูลย์ เพื่อช่วยงานอภิบาลสัตบุรุษ ที่นครศรีธรรมราช และที่ทุ่งสง คุณพ่อเป็นคนเรียบง่าย ทุกวันเดินทางโดยรถประจำทางหรือรถจักรยานยนต์จากร่อนพิบูลยปถึงนครศรีธรรมราช เพื่อไปทำงานอภิบาลที่นั่น
ในปี ค.ศ.1971 คุณพ่อเดียมันติโน ได้พยายามหาที่ดินใหม่เพื่อให้สะดวกขึ้นในที่สุดได้ซื้อที่ดิน (ซึ่งเป็นวัดปัจจุบัน) ในปี ค.ศ.1974 ทำเลดีอยู่ใกล้ตลาดหัวอิฐในตัวเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านเอาใจใส่กลุ่มคริสตชนเป็นอย่างดี ระยะเวลาร่วม 13 ปีที่ท่านดูแล อภิบาลกลุมคริสตชนที่อำเภอเมือง จนถึงท่านถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1985
ต่อมาคุณพ่อฟรีเยรีโอมาประจำเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาส และท่านได้ล้อมรั้วที่ดินและอาคารเรียน ที่อยู่ใกล้วัด แต่เคราะห์ร้ายท่านถูกผู้ไม่ปรารถนาดีทำร้ายร่างกาย พระคุณเจ้าจึงให้ท่าน ย้ายไปอยู่เกาะสมุยเพื่อพักผ่อน และดูแลคริสตชนที่นั่นแทนคุณพ่อยอแซฟ ในปี ค.ศ.1990 มีการเปิดโรงเรียนอนุอบาลในบริเวณวัด โดยมีคุณพ่อเรนโซ จากร่อนพิบลย์ มาทำหน้าที่อภิบาลแทนคุณพ่อฟรีเยรีโอ เป็นเวลา 4 ปี และในปี ค.ศ.1994 คุณพ่อแอนโทนี มีเอเล ได้มาเป็นคุณพ่อเจ้าวัด โดยพักที่ร่อนพิบูลย์ และปีต่อมา (1995) มีการเปิดโรงเรียนมารีย์พิทักษ์ศึกษาขึ้นเมื่อคุณพ่อแอนโทนี มีเอเล ย้ายไปที่อื่น ในปี ค.ศ.1997 ไม่มีพระสงฆ์ซาเลเซียนทำงานในเมืองนครศรีธรรมราชอีกเลย
เจ้าอาวาสวัดพระมารดาพระศาสนจักร
N. NAME FROM - UNTIL
1. FR. DIAMANTINO PLAZA 1970 - 1985
2. FR. ETTORE FRIGERIO 1985 - 1990
3. FR.RENZO ROSSIGNOLO 1990 - 1994
4. FR. ANTONIO MIELE 1994 - 1997
5. FR. sOMPHONG CHATBANYONG 1997 - 2004
6. MACCIONI PATRICK 2004 –
โรงเรียนมารีย์พิทักษ์ศึกษา นครศรีธรรมราช
โรงเรียนมารีย์พิทักษ์ศึกษา เดิมเป็น “โรงเรียนพรสวัสดิ์วิทยา” ประเภท สามัญศึกษาระ ดับประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ1952 (พ.ศ.2495) โดยนายับุญพา รัตนสุวรรณ เป็นเจ้าของจัดตั้ง โรงเรียนเป็นอาคารชั้นเดียว และสองชั้น มีนางทัศนีย์ รัตนสวรรณ เป็นผู้จัดการและคูรใหญ่ ขณะที่คุณพ่อ เฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ เป็นเจ้าอาวาสที่นครศรีธรรมราช ทา่งสังฆบณฑลสุราษฎร์ธานี ได้เจรจาซื้อใบอนุญาตโรงเรียน จากนายบุญพา ในที่สุดในปี 1988 (พ.ศ. 2531 ) ทางสังฆมณฑลได้สำเร็จในการซื้อที่ดินและใบอนุญาตโรงเรียน คุณพ่อฟรีเยรีโอ จึงได้จัดการล้อมรั้ว และสร้างอาคารหอประชุมแบบง่าย
วันที 19 พฤศจิกายน 1990 (พ.ศ.2533) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมารีย์พิทักษ์ศึกษา” มีตราประจำโรงเรียนเป็นรูปแม่พระอุ้มพระกุมาร อักษรย่อชื่อโรงเรียนเป็น ม.พ.ศ. เปิดทำการสอนระดับอนุบาลถึง ประถมศึกษา มีที่ดินบริเวณวัดและโรงเรียน ขนาด 19 ไร่ 3 งาน 85.50 ตารางวา โดยมีพระคุณเจ้า ประพนธ์ ชัยเจริญ เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์นิลุบล ทิวากร เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ มีจำนวนนักเรียน 40 คน ระหว่างปี ค.ศ.1984-1990 (พ.ศ. 2528 - 2533)
ปี ค.ศ.1993 - 1995 (พ.ศ. 2536 - 2538) มีซิสเตอร์ สุดาพร สวนจิตต์ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ มีการสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น 24 ห้องเรียน 1 หลัง เมื่อปี 2538 มีจำนวนนักเรียน 240 คน
ปี ค.ศ.1996 - 1997 (พ.ศ. 2539 - 2540) ซิสเตอร์ ลัดดา ทศไพสนธิ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ มีจำนวนนักเรียน 480 คน
ปี ค.ศ.1998 - 2004 (พ.ศ. 254 - 2547) บาทหลวงสมพงษ์ ฉัตรบรรยงค์ เป็นผู้ลงนามทำการแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและครูใหญ่โรงเรียน ได้ขอเปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ได้ 1 ปี และได้ปิดไป และปี 2545 สร้างอาคารเรียนอนุบาลเพิ่ม 1 หลัง จำนวน 7 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 340 คน
ปี พ.ศ. 2548 - ปัจจบัน บาทหลวงยุทธการ ยนปลัดยศ เป็นผู้ลงนามทำการแทนผู้รับใบอนุญาต และมีซิสเตอร์เจนตา รัตนศักดิ์ชาญ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ ทำการในระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษา มีจำนวนนักเรียน 358 คน