รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

วัดพัทธเสมา นครศรีธรรมราช

วัดพัทธเสมา

ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80230 มีพระลากศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของชาว ต.ท่าดี

วัดพระมารดาพระศาสนจักร นครศรีธรรมราช

วัดพระมารดาพระศาสนจักร

นครศรีธรรมราชเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคใต้ตอนกลางทางฝั่งอ่าวไทย เมืองนครศรีธรรมราช ห่างจากกรุงเทพไปทางใต้ ประมาณ 780 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีความสำคัญในด้านการปกครอง ด้านทหาร และด้านพุทธศาสนา นครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา มีวัดพระมหาธาตุอันเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์มาแต่ครั้งอดีตกาล นานคู่กันมากับองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชมีผู้นับถือศาสนาอิสลาม เพราะเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน ผู้ปกครองประเทศสยามได้ย้ายพวกเขาจากปัตตานีมาอยู่ในเขตมณฑลนคร

เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองเก่าแก่ เหมือนกับปัตตานี ไชยา และสงขลา ในอดีต ตอนแรกชาวอินเดียเรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่า “ตำบราลิงกา” (Tambralinga-ตามพรลิงค์) เมืองนี้ได้เจริญรุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ.600-1000 เป็นเมืองสำคัญในอาณาจักรศรีวิชัย นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ต่อมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 เมืองนครศรีธรรมราชได้รับศาสนาพุทธนิกายเถรวาท จากอาจารย์ที่เดินทางจากศรีลังกา เผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ในพม่า ไทย และเขมร เป็นต้น

ในปี ค.ศ. 1330-1350 พระยาอู่ทอง ได้นำกองทัพเรือเดินทางไปทางใต้ ทำให้แหลมทองได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม จึงทำให้นครศรีธรรมราชและพื้นที่ในการปกครองของพระยานคร ได้ขึ้นกับอาณาจักรสยามไปด้วยอาณาจักรสยามได้ส่งเสริมนครศรีธรรมราชมากกว่าไชยยา เพราะพระยานครเป็นผู้ชื่อสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์ที่กรุงศรีอยุธยามาตลอดนครศรีธรรมราชยังได้ชื่อว่าเป็นเมืองพระเพราะมีพระภิกษุจำนวนมากและวัดพุทธหลายแห่งเมื่อชาวโปรตุเกสได้เดินเรือมาถึงอ่าวไทยได้เรียกเมืองนี้ว่า “ลีกอร์” (Ligor) เหมือนกับที่เขา เรียกสงขลาว่า “สิงห์โกรา” เมื่อมีการปฏิรูปการปกครอง โดยพระปิยมหาราช มีการตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี ค.ศ. 1896 รวม 4 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง และตรัง

ไม่มีหลักฐานบ่งบอกว่าชาวโปรตุเกสได้เปิดวัดคาทอลิกในเมืองนครศรีธรรมราช ชาวคริสตนิกายโปรแตสเตนท์ เป็นพวกแรกที่ได้มาเผยแผ่ศาสนาในเมืองนี้ตั้งแต่สมัยรักาลที่ 4่ ต่อมาพวกเขาได้เปิดโรงเรียนและได้เอาใจใส่ดูแลสถานพยาบาลคนโรคเรื้อนที่พุดหง

กลุ่มคริสตชนคาทอลิก
ในปี ค.ศ.1935 คุณพ่อกาเยตาโน ปาซอตตี ได้เดินทางพร้อมกับคุณพ่อมารีโอ รูเซ็ตดู ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนคริสตชนทางภาคใต้เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 9 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน คุณพ่อทั้งสองได้แวะที่นครศรีธรรมราชเป็นเวลา 2 วัน คือวันที่ 1 8-20 ตุลา่คม เพราะว่าที่นี่มีศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ กรุงเทพฯ ลูกของขุนหลวงนครต้องการพบคณพ่อ เขาทั้งสองพร้อมที่จะถวายที่ดินให้แก่มิสซังราชบุรี เมื่อมิสซังจะมาเปิดกิจการโรงเรียนที่นครศรีธรรมราช พระคุณเจ้าปาซอตตี และคุณพ่อมารีโอ ไม่ได้พบครอบครัวคาทอลิกที่นครเลยและได้สังเกตเห็นว่าที่นครศรีธรรมราชเป็นเมืองเก่า่แ่ก่ ของไทยมีวัดพุทธจำนวนมาก ส่วนคนจีนมีจำนวนน้อย คุณพ่อทั้งสองได้เดินทางไปเยี่ยมสถานพยาบาลคนโรคเรื้อนที่พุดหง พร้อมกับคุณหมอที่ดูแล แล้วจึงเดินทางต่อไปหาดใหญ่ (ดูภาคที่ 6 ประวัติสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี บทที่ 1.2 เรื่องการเยี่ยมเยียน)

ต่อมาคุณพ่อมารีโอเดินทางเป็นประจำทุกปี โดยผลันเปลี่ยนกับคุณพ่อการนินี (ในเทศกาลปัสกา) เพื่อมาเยี่ยมเยียนคริสตชนในภาคใต้ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1937 หลังจากที่ได้ถวายมิสซาบูชาขอบพระคุณในวันพระคริสตสมภพที่บ้านดอน ในวันที่ 26 คุณพ่อมารีโอได้เดินทางไปนครศรีธรรมราชเป็นครั้งที่ 3 (ดูภาคที่ 6 ประวัติสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี บทที่ 1.2 เรื่องการเยี่ยมเยียน) ในโอกาสนี้คุณพ่อมารีโอ ได้เขียนถึงพระคุณเจ้าปาซอตตีว่าคุณพ่อได้พบครอบครัวคริสตัง 2 ครอบครัวและได้ทราบว่าที่ปากพนังยังมีครอบครัวอื่นด้วย

นอกนั้นคุณพ่อยังได้พบครอบครัวต่างชาติและไทยที่ทุ่งสงด้วย ในโอกาสนี้เช่นเดียวกันคุณพ่อมารีโอ ได้คุยกับนายชินฮวด ลูกของคุณหลวงนครเกี่ยวกับโรงเรียน นายชินฮวด ได้พูดกับคุณพ่อว่า “ถ้ามิสซังราชบุรีมีโครงการที่จะเปิดโรงเรียนที่หาดใหญ่ คงจะต้องเสียใจมาก และท่านก็ชี้แจงเหตุผลหลายอย่างให้คุณพ่อทราบ” (ดูภาคที่ 6 ประวัติสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี บทที่ 1.2 เรื่องการเยี่ยมเยียน)

เมื่อมีการเปิดบ้านซาเลเซียนที่หาดใหญ่ในปี ค.ศ.1941 คุณพ่อจากหาดใหญ่จะเดินทางมาเยี่ยมเยียนครอบครัวคริสตังที่นครศรีธรรมราช ร่อนพิบูลย์ และทุ่งสงเป็นประจำ ในปี ค.ศ.1951 คุณพ่อยอแซฟ วีตาลี ยังได้เดินทางมาเยี่ยมนายชินฮวด เพื่อขอความช่วยเหลือในการสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนแสงทอง ส่วนที่นครศรีธรรมราชยังต้องรอคอยอีก 15 ปี กว่าจะมีโรงเรียนหรือวัดคาทอลิก

วัดพระมารดาพระศาสนจักร นครศรีธรรมราช

สมัยเยียมเยียนที่นครฯ ในปี ค.ศ.1968 มีผู้ถวายที่ดิน 1 งาน และบ้านไม้หนึ่งหลัง มิสซังจึงได้เปิดวัดเล็ก ๆ ชื่อว่า “พระมารดาพระศาสนจักร” ขึ้นในปี คจศ.1970 มีคุณพ่อเดียมันตีโน ปาดซา (Plaza Diamantino) มาอยู่ประจำที่ร่อนพิบูลย์ เพื่อช่วยงานอภิบาลสัตบุรุษ ที่นครศรีธรรมราช และที่ทุ่งสง คุณพ่อเป็นคนเรียบง่าย ทุกวันเดินทางโดยรถประจำทางหรือรถจักรยานยนต์จากร่อนพิบูลยปถึงนครศรีธรรมราช เพื่อไปทำงานอภิบาลที่นั่น

ในปี ค.ศ.1971 คุณพ่อเดียมันติโน ได้พยายามหาที่ดินใหม่เพื่อให้สะดวกขึ้นในที่สุดได้ซื้อที่ดิน (ซึ่งเป็นวัดปัจจุบัน) ในปี ค.ศ.1974 ทำเลดีอยู่ใกล้ตลาดหัวอิฐในตัวเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านเอาใจใส่กลุ่มคริสตชนเป็นอย่างดี ระยะเวลาร่วม 13 ปีที่ท่านดูแล อภิบาลกลุมคริสตชนที่อำเภอเมือง จนถึงท่านถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1985

ต่อมาคุณพ่อฟรีเยรีโอมาประจำเป็นคุณพ่อเจ้าอาวาส และท่านได้ล้อมรั้วที่ดินและอาคารเรียน ที่อยู่ใกล้วัด แต่เคราะห์ร้ายท่านถูกผู้ไม่ปรารถนาดีทำร้ายร่างกาย พระคุณเจ้าจึงให้ท่าน ย้ายไปอยู่เกาะสมุยเพื่อพักผ่อน และดูแลคริสตชนที่นั่นแทนคุณพ่อยอแซฟ ในปี ค.ศ.1990 มีการเปิดโรงเรียนอนุอบาลในบริเวณวัด โดยมีคุณพ่อเรนโซ จากร่อนพิบลย์ มาทำหน้าที่อภิบาลแทนคุณพ่อฟรีเยรีโอ เป็นเวลา 4 ปี และในปี ค.ศ.1994 คุณพ่อแอนโทนี มีเอเล ได้มาเป็นคุณพ่อเจ้าวัด โดยพักที่ร่อนพิบูลย์ และปีต่อมา (1995) มีการเปิดโรงเรียนมารีย์พิทักษ์ศึกษาขึ้นเมื่อคุณพ่อแอนโทนี มีเอเล ย้ายไปที่อื่น ในปี ค.ศ.1997 ไม่มีพระสงฆ์ซาเลเซียนทำงานในเมืองนครศรีธรรมราชอีกเลย

เจ้าอาวาสวัดพระมารดาพระศาสนจักร

N. NAME FROM - UNTIL
1. FR. DIAMANTINO PLAZA 1970 - 1985
2. FR. ETTORE FRIGERIO 1985 - 1990
3. FR.RENZO ROSSIGNOLO 1990 - 1994
4. FR. ANTONIO MIELE 1994 - 1997
5. FR. sOMPHONG CHATBANYONG 1997 - 2004
6. MACCIONI PATRICK 2004 –
โรงเรียนมารีย์พิทักษ์ศึกษา นครศรีธรรมราช
โรงเรียนมารีย์พิทักษ์ศึกษา เดิมเป็น “โรงเรียนพรสวัสดิ์วิทยา” ประเภท สามัญศึกษาระ ดับประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ1952 (พ.ศ.2495) โดยนายับุญพา รัตนสุวรรณ เป็นเจ้าของจัดตั้ง โรงเรียนเป็นอาคารชั้นเดียว และสองชั้น มีนางทัศนีย์ รัตนสวรรณ เป็นผู้จัดการและคูรใหญ่ ขณะที่คุณพ่อ เฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ เป็นเจ้าอาวาสที่นครศรีธรรมราช ทา่งสังฆบณฑลสุราษฎร์ธานี ได้เจรจาซื้อใบอนุญาตโรงเรียน จากนายบุญพา ในที่สุดในปี 1988 (พ.ศ. 2531 ) ทางสังฆมณฑลได้สำเร็จในการซื้อที่ดินและใบอนุญาตโรงเรียน คุณพ่อฟรีเยรีโอ จึงได้จัดการล้อมรั้ว และสร้างอาคารหอประชุมแบบง่าย

วันที 19 พฤศจิกายน 1990 (พ.ศ.2533) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมารีย์พิทักษ์ศึกษา” มีตราประจำโรงเรียนเป็นรูปแม่พระอุ้มพระกุมาร อักษรย่อชื่อโรงเรียนเป็น ม.พ.ศ. เปิดทำการสอนระดับอนุบาลถึง ประถมศึกษา มีที่ดินบริเวณวัดและโรงเรียน ขนาด 19 ไร่ 3 งาน 85.50 ตารางวา โดยมีพระคุณเจ้า ประพนธ์ ชัยเจริญ เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต ซิสเตอร์นิลุบล ทิวากร เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ มีจำนวนนักเรียน 40 คน ระหว่างปี ค.ศ.1984-1990 (พ.ศ. 2528 - 2533)

ปี ค.ศ.1993 - 1995 (พ.ศ. 2536 - 2538) มีซิสเตอร์ สุดาพร สวนจิตต์ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ มีการสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น 24 ห้องเรียน 1 หลัง เมื่อปี 2538 มีจำนวนนักเรียน 240 คน

ปี ค.ศ.1996 - 1997 (พ.ศ. 2539 - 2540) ซิสเตอร์ ลัดดา ทศไพสนธิ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ มีจำนวนนักเรียน 480 คน

ปี ค.ศ.1998 - 2004 (พ.ศ. 254 - 2547) บาทหลวงสมพงษ์ ฉัตรบรรยงค์ เป็นผู้ลงนามทำการแทนผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและครูใหญ่โรงเรียน ได้ขอเปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ได้ 1 ปี และได้ปิดไป และปี 2545 สร้างอาคารเรียนอนุบาลเพิ่ม 1 หลัง จำนวน 7 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 340 คน

ปี พ.ศ. 2548 - ปัจจบัน บาทหลวงยุทธการ ยนปลัดยศ เป็นผู้ลงนามทำการแทนผู้รับใบอนุญาต และมีซิสเตอร์เจนตา รัตนศักดิ์ชาญ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ ทำการในระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษา มีจำนวนนักเรียน 358 คน

วัดนันทาราม นครศรีธรรมราช

วัดนันทาราม

วัดนันทาราม เดิมชื่อวัดใต้ อยู่ถนนชายน้ำ ปากพนังฝั่งตะวันออกเป็นวัดที่ประดิษฐานหลวงพ่อผุด พระพุทธรูปหินทรายแดง ศิลปสมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในวัดยังได้เก็บรักษาศิวลึงค์องค์ใหญ่องค์หนึ่งพบที่โบราณสถานเขาคา อายุประมาณ 1,200 ปี ในราวศตวรรษที่ 12–14 สลักจากหินปูนและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่พบในภาคใต้

วัดโธธรรมวราราม นครศรีธรรมราช

วัดโธธรรมวราราม

ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่ และมีการขุดพบวัตถุโบราณ และสิ่งก่อสร้างตำบลตำบลอินคีรี อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดธาตุธาราม นครศรีธรรมราช

วัดธาตุธาราม หรือ วัดเขาธาตุ

วัดธาตุธาราม หรือ วัดเขาธาตุ มีเจดีย์ปะการังประดิษฐานอยู่บนเขาธาตุ ตามตำนานกล่าวว่าเจดีย์นี้ ได้ทำการก่อสร้างหลังจากสร้างพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชเสร็จเรียบร้อย โดยผู้มีจิตศรัทธาจากเมืองไชยา ได้รวบรวมเงินทองและของมีค่าต่างๆ

เพื่อไปบรรจุที่พระบรมธาตุเมืองนคร แต่ได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วผู้มีจิตศรัทธาดังกล่าว จึงได้ร่วมใจกันสร้างเจดีย์ขึ้นบนเขาธาตุ ซึ่งสร้างด้วยหินปะการังทั้งองค์ องค์เจดีย์เป็นรูปโอคว่ำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เมตร รอบๆ

เจดีย์มีพระพุทธรูปแกะสลักหินทรายแดง ประดิษฐานบริเวณเจดีย์ เชื่อว่าคงเป็นแหล่งอารยธรรมทางด้านพุทธศาสนา ในบริเวณอ่าวทางตอนเหนือของคาบสมุทรนี้อยู่สมัยหนึ่ง

วัดถ้ำใหญ่ นครศรีธรรมราช

วัดถ้ำใหญ่

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช เป็นวัดเก่าแก่ของตำบลถ้ำใหญ่ จากหลักฐานเชื่อได้ว่าสร้างมาหลายร้อยปีแล้ว จนเมื่อปี พ.ศ.2495 พ่อท่านนิ่ม เมธํกโร ได้ทำการบูรณะพัฒนาเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน ลักษณะโบสถ์มีความเรียบง่าย สวยงาม โบราณสภาน และโบราณวัตถุที่ควรแก่การศึกษา และเรียนรู้ อาทิ พระพุทธโบราณรูปปั้นท่าวเวชสุวรรณ ที่เป็นยามเฝ้าหน้าถ้ำ เรียกกันโดยทั่วไปว่า "นนทรี" นอกจากนี้มีเจดีย์บนยอดเขาที่มีความสวยงามมาก ซึ่งเป็นที่บรรจุของพระอรหันต์สาวก ได้แก่ พระธาตุของ พระสารีบุตร องคุลีมาล เป็นต้น

วัดถ้ำลอด นครศรีธรรมราช

วัดถ้ำลอด

เป็นวัดที่มีถ้ำ และถ้ำที่ทะลุผ่านได้ตลอด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำตก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตำบลตำบลน้ำตก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดถ้ำทองพรรณรา นครศรีธรรมราช

วัดถ้ำทองพรรณรา

วัดถ้ำทองพรรณรา อยู่หมู่ที่ 9 ตำบลถ้ำพรรณรา ห่างจากถนนเอเซีย (ทางหลวงหมายเลข 41) หลักกิโลเมตรที่ 192–193 ประมาณ 2 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 1 กิโลเมตร ตำนานเล่าว่ามีชีปริงและชีปรางนำสัมภาระ และผู้คนเดินทางมาทางทะเล เพื่อนำแก้วแหวนเงินทองไปสร้างพระบรมธาตุ เมื่อมาถึงอู่เรือ (ปัจจุบันคือบ้านปากรา) ได้ทราบว่าพระบรมธาตุสร้างเสร็จแล้ว จึงได้ขึ้นบกหาสถานที่ที่เหมาะสมคือ ถ้ำทอง แล้วได้สร้างพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำดังกล่าว และนำแก้วแหวนเงินทอง บรรจุไว้ในองค์พระพุทธไสยาสน์นั้นด้วย

เมื่อถึงแก่กรรม ลูกหลานจึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้น 2 องค์นำกระดูกของชีปริง ชีปรางบรรจุ พอถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการทำบุญบูชาพระพุทธไสยาสน์และพระพุทธรูปที่บรรจุกระดูกชีปริง ชีปราง ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระปริง พระปราง เป็นประจำตลอดมาทุกปี ซึ่ง “ประเพณีขึ้นถ้ำ” ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ประชาชนทั่วสารทิศมานมัสการพระพุทธไสยาสน์ แก้บนด้วยขนมพอง ขนมลา และเที่ยวชมถ้ำต่าง ๆ ภายในวัด ซึ่งมีอยู่หลายถ้ำ ทั้งเป็นถ้ำแจ้งและถ้ำมืด

เป็นวัดที่เก่าแก่ของอำเภอถ้ำพรรณรา และยังมีโบราณวัตถุล้ำค่า ควรค่าแก่การอนุรักษ์และหวงแหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธไสยาสน์ ที่มีความงาม และล้ำค่า ตำบลถ้ำพรรณรา อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดดินดอน นครศรีธรรมราช

วัดดินดอน

ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80230 เป็นจุดชมวิวได้ไกลถึงแหลมตะลุมพุก และมีสวนผลไม้หลากหลาย

วัดเจดีย์หลวง นครศรีธรรมราช

วัดเจดีย์หลวง

วัดเจดีย์หลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านท่าใน ตำบลควนทอง เป็นชุมชนโบราณ ซึ่งมีร่องรอยของเนินดิน สระน้ำ หินชิ้นส่วนของเทวสถาน แท่นเทวรูป แท่นศิวลึงค์ ที่กระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 1132 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์