รับจัด Outing, Team Building, CSR, Walk Rally, สัมนานอกสถานที่, ดูงาน ในประเทศและโซนเอเชีย
สำหรับบริษัทในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง
084-160-0210 , 02-733-0683

ทัวร์ลาว, ลาวทัวร์, NewViewTour.com

มิติใหม่แห่งการอนุรักษ์สืบสานเทียนพรรษา อุบลราชธานี

สารบัญ

tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani

มิติใหม่แห่งการอนุรักษ์สืบสานและพัฒนาเทียนพรรษาเมืองอุบล
การสร้างแรงจูงใจสู่การสร้างสรรค์เทียนพรรษาแบบอนุรักษ์และพัฒนา ต้องอาศัยเหตุปัจจยด้านต่าง ๆ ในการวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาต้องมีพลังขับเคลื่อนที่ชัดเจน ซึ่งอาจพิจารณาได้จากปัจจัย ดังต่อไปนี้

๑. การสร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดพขยายฐานการศึกษาให้เข้าถึงผู้คนในท้องถิ่ินอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างสำนึกทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะมุ่งพัฒนามากกว่าจะกินมรดกของบรรพชนอย่างเดียว โดยไม่พัฒนาต่อยอดสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่

๒ ส่งเสริมปรับประยุกต์เทคนิคการทำเทียนประเภทต่าง ๆ ไปสู่งานออกแบบในลักษณะอื่น ๆ อาทิเช่น ของที่ระลีก หรือผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ เช่น พวงกญแจ กรอบรูป ที่เปิดขวด เทียนหอม สำหรับสปา เป็นต้น โดยปรับประยกต์วัสดุจากเทียนจริง ๆ ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องความแข็งแรงและความคงทน ให้เป็นวัสดุอื่นที่เลียนแบบเทียนอันจะนำมาซึ่งทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม และใกล้ชิดกับวิถีสังคมปัจจุบันได้มากขึ้นมิใช่มีเฉพาะการแกะสลักเทียนพรรษาเพียงอย่างเดียว โดยส่งเสริมแหล่งงานให้กับชุมชนในลักษณะที่เป็นอาชีพทางเลือกหนึ่งของผู้คนท้องถิ่น ซึ่งใช้จุดแข็งทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นของตนเองมาเป็นจุดขาย

๓ แรงบีบคั้นจากภายนอก โดยงานแห่เทียนพรรษาเมืองอุบลถือได้ว่าเป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงที่สุด ที่ผู้คนโดยทั่วไปรู้จักกันดีทั้งในประเทศเเละต่างประเทศ แต่เนื่องด้วยประเพณีดังกล่าวไม่ใช่ของจงหวัดอุบลราชธานีเพียงจังหวัดเดียว ทุกภาคก็สามารถมีประเพณีนี้ได้เช่นกัน หลายจังหวัดพยายามจะแข่งขันช่วงชิงความเป็นที่หนึ่งของประเพณี โดยการสร้างจุดขายที่อีกฝ่ายไม่มี สิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดสีสันและทางเลือกสำหรับผู้ชมดั่งมีคำกล่าวที่ว่า “อยากดูเทียนยิ่งใหญ่อลังการและความแปลกใหม่ในการสร้างสรรค์ให้ไปดูที่โคราช (จังหวัดนครราชสีมา) แต่หากอยากดูเทียนนักปราชญ์ให้ดูที่อุบล (จังหวัดอุบลราชธานีี)” ซึ่งเป็นวาทกรรมที่สะท้อนภาพความต่างหรือจุดขายที่ทั้งสองฝ่ายพยายามช่วงชิงการนิยาม

tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani

ด้วยแรงสนับสนุนจากการบูรณาการทางวัฒนธรรมของการท่องเที่ยวได้เสริมสร้างกระแสทางด้านจุดขายด้วยการริเริ่มส่งเสริมประติมากรรมเทียนนานาชาติ แม้ในช่วงแรกได้มีความพยายามที่จะใช้สรรพนามเดียวกับ “เทียนพรรษา” แต่ก็ถูกคัดค้านท้วงติงจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม จึงกลายมาเป็น “ประติมากรรมเทียนนานาชาติ” ซึ่งในความเป็นจริงเล้วนั้นไม่ว่าจะเป็นเทียนแบบจารีตนิยมท้องถิ่นหรือประติมากรรมเทียนนานาขาดิ ก็็ล้วนเเต่ถููกสร้างขึ้นมาเพื่อรับไช้กรอบประเพณีที่เป็นมายาคติเชิงสัญญะทางวัฒนธรรมนบบประดิษฐ์ เพื่อดำรงรักษาสถานภาพ ความเป็นเจ้าของ หรือต้นตำหรับแห่ง “ประเพณีแห่เทียนพรรษา” โดยรูปแบบของเทียนพรรษาฝ่ายจารีตนิยมรับใช้ “สัญญะของความเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์” (ในอดีตสมัย) ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง ที่เป็นกลุ่มหัวก้้าวหน้า โดยเฉพาะศิลปินช่างแกะสลักที่มาจากวัฒนธรรมภายนอกกำลังทำหน้าที่รับใช้ “สังคมวัฒนธรรมใหม่” ซึ่งมีบรรด ศิลปินทั้งไทยและเทศ ล้วนสร้างสรรค์ผลงานบนพื้นฐานแนวคิดเชิงปัจเจกนิยมแห่งความเป็นปัจจุบันขณะ

โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของนักศึกษาทางศิลปะจากสถาบันการศึกษาทางศิลปะทั้งไทยและต่างประเทศ ผลงาี้นทุกชิ้นมีประวัติศิลปิน เพื่อบ่งบอกสถานภาพแลการันตรีีเสริมสร้างภาพลักษณ์สู่ความเป็นอิินเตอร์ ทั้งนี้ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายเเละค่าจ้างจำนวนมากในการมาร่วมสร้างภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของศิลปินเหล่านั้น ในขณะที่ช่างเทียนท้องถิ่นชาวบ้านไม่ได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นนั้นเลย แม้เทียนทั้งสองกลุ่มจะถูกแบ่งแยก ด้วยรูปแบบและกรอบบริบทของวัตถุประสงค์ที่ซ่อนเร้นทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน เช่นปรัชญาแนวคิดของ เทียนพรรษาเมืองโคราชจะเน้นในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่ล้อเลียนเ่ีสียดสีทางการเมือง ขณะที่เทียนพรรษาเมืองอุบลเน้นในเรื่องปรัชญาทางศาสนา นอกจากนี้ยังมีเทียนพรรษาจากเมืองสุพรรณบุรีที่ใช้แรงขับเคลื่อนทางการเมืองในการสร้างวาทกรรมใหม่ให้กับงานบุญเขัาพรรษา หรือ จังหวัดอื่นๆี่ เช่นราชบุรี ก็เริ่มมีการเคลื่อนไหว ในการทำเทียนพรรษา ทั้งหมดเป็นสิทธิเสรีภาพแห่งการแข่งขันนโดยแท้ ไม่มีใครเป็นเจ้าของและสิ่งนี้เองไม่ใช่หรือที่เป็นแรงส่งเสริม สร้างคุณค่าเอกลักษณ์เฉพาะของอีกฝ่ายหนึ่ง ให้ดูสูงส่งหรือด้อยค่า อันเป็นสีสันและสัจธรรมอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏอยู่ในทุกสรรพสิ่งบนโลกแห่งความเป็นจริง

ด้านการส่งเสริมและพัฒนาเมื่อปีพ.ศ ๒๕๕๒ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ร่วมกันสืบสานส่งเสริมยกย่องช่างพื้นบ้านที่สร้างสรรค์ผลงานท่มีรากเหง้าทางวัฒนธรรมพื้นถิ่น โดย ให้ชื่อรางวัล พระครูวิโรจน์ รัตโนบล ช่างพระ คนสำคัญของภาคอีส่านและเมืองอุบล เพื่อเป็นเกียรติ โดยจัดแบ่งเป็นสองสาขา คือ รางวัลด้านการอนุรักษ์ ผู้ที่ได้รับรางวัลคื่อ นาย ประเสริฐ แสงสว่าง และรางวัลผู้มีความคิดสร้างสรรค์คือ นายอุส่าห์ จันทรวิจิตร เพื่อเป็นเกียรติประวัติและเป็นแบบอย่างให้ช่างเทียนรุ่นหลังได้เจริญรอยตามสืบต่อไป

tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani

ลักษณะเฉพาะในการออกแบบสร้างสรรค์เทียนพรรษาเมืองอุบลแบบสมัยใหม่
การออกแบบสร้างสรรค์จำเป็นต้องนำปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปแบบดังต่อไปนี้มาพิจารณาร่วมกัน อันได้แก่

๑. วิถีแห่งบริบทปัจจุบัน โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งอยู่กับอิทธิพลภายนอกเป็นสำคัญ อีกทั้งสภาวะทางเศรษฐกิจที่แปรผันอยู่ตลอดเวลา โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของชุมชนและชนบท ซึ่งเป็นแนวทางการสร้างสรรค์งานช่างของอีสานอย่างในอดีต โดยพบอยู่ในงานฮูปแต้มอีสาน ช่างจะออกแบบสร้างสรรค์ที่นั่งอยู่ในโลกของความเป็นจริงมากกว่า เช่น มีเรื่องราวของวิถีชีวิตเข้าไปผสมผสานค่อนข้างมาก หรือจะเป็นเรื่องราวคำสอนในทศชาดกท้องถิ่นอีสาน นรกภูมิ เป็นต้น แต่ปัจจุบันการออกแบบสร้างสรรค์เทียนถูกครอบงำจากศิลปะภายนอก การปรับกติกาให้ช่างได้มีทางเลือกมากขึ้นต่อเนื้อหาเรื่องราวในการแกะเทียน มิใช่บังคับให้แกะสลักอยู่เฉพาะแต่เรื่องราวพุทธประวัติ หรือชาตินิยมเจ้าเท่านั้น แต่ควรส่งเสริมเรื่องราวคำสอนอื่น ๆ เช่น นรกภูมิ หรือเรื่องราวชาดกท้องถิ่นอีสาน เป็นต้น

๒. ความต้องการเฉพาะกลุ่ม เช่น การจัดแบ่งประเภทเทียนแต่ละประเภท ในการประกวดประชันทั้งแบบโบราณ และร่วมสมัย หรือการเข้ามามีส่วนร่วมของประติมากรรมเทียนนานาชาติ เพื่อสร้างจุดขายในกระแสการท่องเที่ยวและกลายเป็นของแปลกในประเพณีแห่เทียนพรรษา ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้เกี่ยวข้องได้ดำเนินการไปแล้วในบางส่วน กลุ่มช่าง หรือ รูปแบบที่ชนะเลิศจะวนเวียนผูกขาดอยู่ในกลุ่มช่างในเมืองที่มีความเชี่ยวชาญชำนาญ และรู้แนวทางการประกวด ส่วนช่างเทียนชายขอบรอบนอกต่างอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี กลายเป็นเพียงไม้ประดับ เพื่อการมีส่วนร่วมกับจังหวัด และงานประเพณี

๓. เทคโนโลยีที่ทันสมัย สะท้อนยุคสมัยบนฐานแห่งความพอดี เช่น ใช้ระบบกลไกที่ทำให้งานแกะสลักเทียนเคลื่อนไหว ได้ปรับเปลี่ยนผังรถพ่วง (รถต้นเทียน) ให้มีรูปแบบที่หลากหลายไม่จำเป็นต้องเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเสมอไป แต่ควรปรับเป็นผังรูปทรงอื่น ๆ เช่น ผังกลม สามเหลี่ยม หกเหลี่ยม เป็นต้น โดยแนวคิดในส่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะสร้างทางเลือกใหม่ที่ตื่นตาตื่นใจไม่ตกยุคสมัย ขณะเดียวกันก็ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมเดิมอยู่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดีเป็นสำคัญไม่ใช่การทำลายประเพณีอันดีงามเหล่านั้นให้ดูย่ำแย่ลงไป เพราะถ้าพัฒนาโดยไม่สนใจรากเหง้าเดิมนั้น แทนที่จะเป็นการส่งเสริมกับกลายเป็นการทำลาย

๔. อัตลักษณ์ท้องถิ่น ประเพณีแห่เทียนพรรษาแม้จะมีปฐมเหตุจากการเปลี่ยนระบบการปกครองหัวเมือง โดยราชสำนักกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นว่าประเพณีเดิม (งานบุญบั้งไฟ) ไม่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ในเขตอำเภอเมือง จึงมีการเปลี่ยนแปลงเป็นประเพณีแห่เทียน ซึ่งรูปเเบบในยุคเเรกน่าจะมีกลิ่นไอในศิลปะแบบพื้นถิ่นอีสาน

tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani tour-candle-new-dimension-heritage-conservation-ubon-ratchathani

ภาพลายเส้นเขียนจากภาพถ่ายของหอจดหมายเหตุ จะเห็นขบวนเทียนแบบมัดรวมเป็นแท่งใหญ่ และที่โดดเด่นชัดเจน คือ ส่วนประกอบฆลฑปหลังคาเครื่องยอดในแบบฉบับศิลปะอีสานอย่างแท้จริง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับฆลฑปในประเพณีเผาศพแบบนกหัฬดีลิงค์ (เป็นพิธีสำำหรับเจ้านายชั้นสูงและพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับความเคารพนับถือ) จะเห็นถึงลักษณะเฉพาะของความเป็นพื้นถิ่น

ส่วนลวดลายองค์ประกอบต่าง ๆ งากข้อมูลภาพในอดีตจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าล้วนแล้วแต่เป็นลวดลายจากราชสำนักกรุงเทพฯ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวได้สืบทอดต่อมาจนเป็นสายสกุลช่างที่ผู้คนทั่วไปจะเข้าใจว่าเป็นลวดลายของท้องถิ่นอีสาน จงเป็นความเข้าใจที่ผิด จึงเกิดคำถามว่า “ลวดลายอีสานศิลปะอีสานคืออะไร”

เมื่อเราเปิดประเด็นถึงลวดลายที่สืบทอดอยู่ในศิลปะงานช่างต้นเทียนพรรษาเมืองอุบล ปัจจุบันไม่ใช่รูปแบบศิลปะแบบอีสาน ผู้เขียนจึงอยากจะอธิบายขยายความ เพื่อทำความเข้าใจถึงลักษณะ รูปแบบเอกลักษณ์ทางศิลปะของอีสาน โดยอ้างอิงรูปเเบบจากงานจำหลักไม้โบราณในท้องถิ่นอีสาน ที่อยู่ในองค์ประกอบส่วนประดับตกแต่งในงานสถาปัตยกรรมทางศาสนา “ลวดลายอีสาน” ในทัศนมุมมองของปราชญ์ศิลปินผู้เชี่ยวชาญลาดลายไทย และศิลปะไทยโบราณ เฉกเช่น ท่าน น ณ ปากน้ำ ได้กล่าวถึงลวดลายพื้นถิ่นในส่วนประดับตกแต่งองค์ประกอบสถาปัตยกรรมสิมของวัดแจ้งแห่งเมืองอุบลว่า

“...อุโบสถวัคแจ้ง อ. เมือง จ. อุบลราชธานี เป็นอุโบสถที่ได้รับการยกย่องว่ามีงานจำหลัักไม้ฝีมืองามน่าชมเชยและมีลัภษณะพี้นเมืองอย่างชัดเจน มิได้ลอกเลียนแบบศิลปะภาคกลางแต่กลับสร้างลักษณะของตนเองขึ้นใหม่อย่างน่าชม ...คันทวยจำหลักไม้ศิลปะลักษณะพื้นเมืองของอีสาน แม้จะจำหลักเป็นรูปนาคปิดทองประดับกระจกเช่นเดียวกับภาคกลาง แต่นายช่างจำหลักได้สอดแทรกความคิดลงไป เห็นรูปร่างเ่ปลกตากว่าที่เห็นในภาคกลาง การออกแบบตัวลายก็งามเป็นลักษณะพื้นเมืองโดยแท้ ...หน้าบันและรวยระกา หน้าต่างกับที่อื่นๆเป็นงานอันน่าสนใจอย่างยิ่ง ถือว่า เป็นแหล่งจำหลักไม้ชั้นเยี่ยมของอุบลทีเดียว…” หากแต่เมื่อเมืองอุบลได้รับอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์นั้น มักปรากฏรูปแบบที่โดดเด่นในลักษณะของกา้รลอกแบบมาทั้งหมด มิได้มีการผสมผสานกันอย่างกลมกลืนแต่อย่างใด หากรูปแบบผิดแผกไปบ้าง ก็มักเกิคจากฝีมือช่างพื้นถิ่นทำไม่ถึึงตัวต้นแบบนั่นเอง ส่วนที่ได้รับอิทธิพลมาจากล้านช้าง ก็มักเป็นฝีมือของช่างที่อพยพมาจากฝั่งซ้ึ้ายแม่น้ำโขงในอดีต นอกจากมาตั้งถิ่นฐาในเมืองอุบลแล้ว ยังได้นำรูปแบบทางการช่างมาก่อสร้างศาสนาคาร และบ้านเรือนต่าง ๆ สืบทอดกันมาหลายชั่วคน การคลี่คลายทางฝีมือช่างจากอิทธิพลทั้งสองทางดังกล่าวมาแล้วนั้น ย่อมหล่อหลอมความคิดความอ่านในการออกแบบ จนช่างพื้นเมืองอุบลสามารถค้นหาแนวทางของตนเองได้จนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นไปในที่สุด โดยรายละเอียดด้านรูปแบบทางกายภาพจากรูปประกอบจะทำให้เราได้้ทราบถึง อัตลักษณ์ท้องถิ่ินที่ถูกละเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลากว่า ๗๖ ปีตั้งแต่ปี พ ศ ๒๔๘๖ ปัจจุบันที่ผ่านมา “ตำราลายไทย” ที่เ์ขีียนขื้นโดย พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมศิลป์ชัย) บรมครูช่างไทยในอดีต ที่ท่านได้เ์ขีียนรวบรวมกระบวนรูปแบบลายไทย ๒๓๔ แบบ

ซึ่งในบทแถลงท่านได้เสนอแนะว่า “...แต่อย่างไรก็ดีขบวนลายของไทยอาจมีจำนวนและวิธีเขียนพลีแพลงต่าง ๆ มากไปกว่าที่มีอยู่ในสมุดเล่มนี้ เพราะเหตุด้วยช่างย่อมมีความคิดเห็นประดิษฐ์ไปได้ตาง ๆ กัน แต่ในแบบเหล่านี้เขียนพื้น ๆ ธรรมดาพอเป็นเเนวศึกษาในเบื้องต้นเท่านั้น...” แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของท่านอย่างชัดเจน ที่ตัองการให้ตำราเล่มนี้เป็นแนวทางการศึกษาในเบื้องต้นเท่านั้น แต่ที่ผ่านมาตำราลายไทยเล่มนี้ได้กลายเป็นต้นฉบับของลายไทยในระบบการศึกษาไทย ทั้งในสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องทางศิลปกรรมและศิลปประยุกต์ ซึ่งผิดเจตนารมณ์ของท่าน สถาบันการศึกษาต่าง ๆ และช่างท้องถิ่นได้ยึดถือตำราเล่มนี้เป็นต้นแบบในการทำลวดลายไทย โดยได้ละทิ้งแบบแผนลวดลายในท้องถิ่นของตนอย่างสิ้นเชิง อันนำมาซึ่งความสูญสิ้นมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมีทั้งเจตนา และรู้เท่าไม่ถึงการ ทั้งในฝ่ายผู้จ้าง และช่างผู้รังสรรค์ผลงาน แต่ในส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ของเทียน เช่น เทพและ สัตว์หิมพานต์ บางแห่งมีหน้าตาที่คงความเป็นพื้นบ้านอยู่บ้าง โดยเฉพาะเทียนในประเภทติดพิมพ์ ส่วนพระพุทธประติมากรรมต่าง ๆ ควรปรับประยุกต์ให้มีลักษณะพุทธศิลป์แบบไทย-ลาว นอกจากนี้รูปแบบรถขบวนนห่เทียน มีการจัดตั้งในองค์ประกอบของเทียนบนรถ ยังคงมีรูปแบบซ้ำ ๆ อยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคำถามตามมาว่าเราทำเป็นผังกลม หรือลักษณะอื่น ๆ ไม่ได้ หรือแม้แต่ต้นเทียนพรรษาก็มีต้นเดียวจนถูกองค์ประกอบอื่น ๆ บนรถขบวนข่มจนหมด์ เราทำเทียนบริวาร หรือมีเทียนประธานมากกว่าหนึ่งต้นได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้เพราะอะไร

ค้นหาที่ท่องเที่ยว


Thailand Tourism Standard

ทัวร์แนะนำ

ผู้เข้าชม

มี 895 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์